SHARE

คัดลอกแล้ว

สถิติ ‘มะเร็งปอด’ ในเชียงใหม่-ภาคเหนือสูงกว่าทุกภูมิภาคในไทย งานศึกษาอ้างอิงข้อมูลวิจัยพบชนิดของมะเร็งปอดเกี่ยวข้องกับ PM2.5 ขณะที่สังคมตื่นตัว หลังกรณีอาจารย์หมอ วัย 28 ปี ที่เชียงใหม่ เผย ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายทั้งที่ไม่สูบบุหรี่

จากกรณี นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อายุ 28 ปี ออกมาเปิดเผยผ่านโซเชียลมีเดียว่า กำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ทั้งที่ไม่สูบบุหรี่ และดูแลสุขภาพร่างกายเป็นอย่างดี

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 65 เพจเฟซบุ๊ก WEVO สื่ออาสา เปิดเผยข้อมูลสถิติมะเร็งปอด ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และภาคเหนือ อ้างอิงงานศึกษา ของ รศ.พญ.บุษยามาส ชีวสกุลยง หัวหน้าหน่วยวิชามะเร็งวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า

มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพศชายในทะเบียนมะเร็งของจ.เชียงใหม่ 14,299 ราย ขณะที่ ผู้ป่วยมะเร็งปอดเพศหญิง 5,664 ราย เมื่อพิจารณาอัตราการป่วยด้วยมะเร็งปอดภาพรวมของประเทศไทย ผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งปอด ร้อยละ 9.3 เพศหญิง ร้อยละ 20.6 สำหรับ ข้อมูลผู้ป่วยในเชียงใหม่ ผู้ชาย ร้อยละ 22.3 ผู้หญิง ร้อยละ 29.6, จ.ลำปาง ผู้ชาย ร้อยละ 27.6 ผู้หญิง ร้อยละ 53 ส่วนที่ จ.สงขลา ผู้ชาย ร้อยละ 4.9 ผู้หญิง ร้อยละ 13.5

“ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการป่วยเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น เมื่อก่อนเราจะบอกว่าการเป็นมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ แต่อัตราการสูบบุหรี่ของคนภาคเหนือไม่ได้มากกว่าคนภาคอื่น แต่อัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดกลับสูงกว่าคนภาคอื่นๆ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น สมัยก่อนพ่ออุ๊ยจะชอบสูบบุหรี่ขี้โย การแพทย์ก็จะบอกว่า นี่คือสาเหตุหลักของมะเร็ง แต่ปัจจุบันการสูบบุหรี่ลดลงอย่างมาก แต่อัตราการเป็นมะเร็งปอดก็ยังสูงอยู่ดี งานวิจัยในช่วงหลังๆ พบว่า ชนิดของมะเร็งปอดมีส่วนเกี่ยวข้องกับ PM2.5” 

งานศึกษาของ รศ.พญ.บุษยามาส ระบุด้วยว่า PM2.5 เป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน เล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นเมื่อ PM2.5 ลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอด จะเข้าไปโดยที่เราไม่รู้สึกตัวและป้องกันไม่ได้ เมื่อเข้าไปในปอดแล้วก็จะทำให้เกิดการอักเสบ มีการกลายพันธุ์ของ DNA RNA หากร่างกายได้รับสาร PM2.5 ในปริมาณมากและยาวนานเกินไป ร่างกายต่อสู้ไม่ไหวจะทำให้กลายเป็นมะเร็งปอดได้ โดยมะเร็งที่พบสัมพันธ์กับ PM2.5 ก็คือเป็นชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarcinoma) หรือมะเร็งชนิดต่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ชาย ส่วนคนที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว เมื่อสูด PM2.5 เข้าไป ความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดจะทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่า

นอกจากนี้ รศ.พญ.บุษยามาส บอกว่า ในอดีตชนิดของมะเร็งปอดที่พบคนป่วยในภาคเหนือคือสแควมัสคาร์ซิโนมา (Squamous Carcinoma) แต่แนวโน้มในปัจจุบันพบมะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมาในผู้ป่วยมากขึ้น

ทั้งนี้ข้อมูลจาก รายงานสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563 (ล่าสุด) ระบุว่า  สาเหตุการตายสำคัญของคนไทย ต่อประชากร 100,000 คน  อันดับ 1 คือ มะเร็ง โดยที่ มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 2

(สาเหตุการตายสำคัญของคนไทย ต่อประชากร 100,000 คน — อันดับ 1 มะเร็ง)

(มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 2)

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สังคมเคยให้ความสนใจกับกรณี การเสียชีวิตของ รศ.ดร.ภานุวรรณ จันทวรรณกูร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้งระดับโลก ที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอด ทั้งที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ไม่สัมผัสควันบุหรี่ ยกเว้นอาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 มายาวนาน โดยสาเหตุมะเร็งปอด คาดว่า น่าจะมาจากมลพิษทางอากาศ ใน จ.เชียงใหม่

https://www.facebook.com/wevogroup/posts/pfbid0jYsKDWUxtZ8KvJdCg2Pa3MDdiigfKR59YGMdVNVi68ALKWEAtjRjYggMWYjYrwTEl

 

เรื่องนี้ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ เคยให้ความเห็นสนับสนุนให้ประเทศไทยเกิด พ.ร.บ.อากาศสะอาด โดยระบุว่า “ทุกครั้งที่ผมขึ้นไปบนดอยสุเทพฯ มองลงมาในเมืองเชียงใหม่ จะเห็นฝ้า หมอก ปกคลุมเมือง ความคิดก็เชื่อมโยงไปถึงสถิติมะเร็งปอดของเชียงใหม่และภาคเหนือที่สูงกว่าทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในเพศหญิง”

“อเมริกา มี Clean Air Act (พ.ร.บ.อากาศสะอาด) ตั้งแต่ ค.ศ. 1963 หรือเกือบ 60 ปี มาแล้ว เท่าที่ติดตามดูอยู่ห่างๆ ถ้าเอาทฤษฎี 3 เหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของท่านอาจารย์ประเวศ วสี มาจับ จะพบว่า เหลี่ยมที่ 1 ข้อมูลด้านวิชาการถึงความเสียหายจากมลพิษเรามีมากพอสมควร เหลี่ยมที่ 2 ด้านความตื่นตัวของประชาชน ประชาสังคมต่อปัญหามลพิษก็อยู่ในระดับสูง ขณะนี้เราอยู่ที่จะขับเคลื่อนเหลี่ยมที่ 3 การขับเคลื่อนทางการเมือง ให้เกิดนโยบาย กฎหมายที่จะต้องมี รวมทั้งมีการสนับสนุนให้ปฏิบัติตามกฎหมาย”

“นักการเมืองจะตัดสินใจตามข้อมูลหลักฐานและตื่นตัว กระแสสังคมที่สนับสนุน ซึ่งเหลี่ยมนี้อาจจะยังสูงไม่พอและยังไม่ต่อเนื่อง โดยจะตื่นตัวตามฤดูกาล ซึ่งจะต้องเสริมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น อยากให้พวกเรายึดคำสั่งเสียงของอาจารย์ภานุวรรณ เป็นพลังในการขับเคลื่อนผลักดันมาตรการ ที่จะนำไปสู่การลดมลพิษทางอากาศ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยให้จงได้ การร่วมแก้ปัญหามลพิษ เป็นแผนงานหลักแผนหนึ่ง ที่ สสส. พร้อมจะสนับสนุน ผมขอให้กำลังใจแก่ภาคีต่างๆ ที่ทำงานด้านควบคุมมลพิษครับ” ศ.นพ.ประกิต ระบุ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ชาวเน็ตส่งกำลังใจ หมอหนุ่มป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย แชร์เรื่องราวผ่านเพจ ‘สู้ดิวะ’

เช็กสัญญาณเตือน ‘มะเร็งปอด’ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์เผยเสียชีวิต 40 รายต่อวัน

เปิดงานวิจัยด้านมะเร็งปอด เผยวิธีตรวจพบโรคเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า