Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
จากกรณีที่ องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) หรือองค์การค้าคุรุสภา ที่จัดพิมพ์หนังสือเรียน ผลิตอุปกรณ์การศึกษา ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 961 ราย ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. โดยให้เหตุผลว่าประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 15 ปี

วันที่ 30 มิ.ย. นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ workpointTODAY ว่า ตนเองเป็น 1 ในกรรมการที่พิจารณาเรื่องนี้ โดยดูจากผลประกอบการขององค์กรมากว่า 10 ปีที่มีการขาดทุนสะสม ซึ่งเมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิดก็ยิ่งทำให้การเรียนการสอนเปลี่ยนไป ใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลให้การพิมพ์หนังสือจะน้อยลงไปในปีหน้า
ช่วงตลอด 1 ปีที่ตนมารับตำแหน่ง ทราบว่ามีรอบการผลิตหนังสือ 4-5 เดือน ไม่ใช่ทั้ง 12 เดือน ฉะนั้นรูปแบบต้องปรับเปลี่ยนไปเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์
นายณัฎฐพล กล่าวว่า องค์กรไม่สามารถจะขาดทุนทุกปีปีละ 600 ล้านบาทได้ รวมแล้ว 6,700 ล้านบาท การพิมพ์หนังสือมีกำไร 300-400 ล้านบาท แต่มีค่าใช้จ่าย 800 ล้านบาท เป็นเงินเดือนพนักงานเดือนละ 40 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีทางจะฟื้นขึ้นมาได้ เพราะไม่สามารถเพิ่มยอดขายหนังสือได้ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการทุจริตในองค์กร แต่เป็นเรื่องการบริหารงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุดในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า
การปรับองค์กรในครั้งนี้ หากสามารถขายหนังสือได้หลายพันล้านบาทต่อปี ในขณะที่ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ โดยใช้คนในการผลิตไม่ถึง 100 คน ซึ่งทำได้เพราะระบบการพิมพ์ในปัจจุบันต่างจากเดิม รวมทั้งมีระบบ Subcontract ทำให้มีค่าใช้จ่ายเหลือได้ในทุกๆ ปี น่าจะทำให้ชดใช้หนี้ได้
“ผมมีหน้าที่ที่จะบริหารองค์กร ทำให้หน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผมเห็นใจและเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากมาก แต่เราก็ชดเชยถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง ในหลายส่วนก็ได้รับการชดเชยไปหลายล้านบาท”
“เป็นความเสียใจของพนักงาน และเป็นความเสียใจของพวกผมด้วยที่เป็นกรรมการและต้องตัดสินใจ แต่ผมมีสหกรณ์ครู สกสค.ที่มีครูอยู่หลายแสนคน ถ้าหากเราปล่อยให้มีการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายสหกรณ์ครูก็จะล้มครับ”
“การตัดสินใจเป็นการประมินของคณะกรรมการ 1 ปีที่ผ่านมา ผมมาทำงานในกระทรวงศึกษาธิการ 1 ปีเห็นรอบการพิมพ์หนังสือ ผมทราบกระบวนการของการบริหารจัดการองค์กรว่าใน 1 ปี ต้องทำอะไรบ้างและถ้านำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานกัน เราต้องมองว่าเป็นการ disrupt ของธุรกิจ เราต้องดูถึงความเหมาะสมเพื่อไม่ให้มีการขาดทุนปีละ 600 ล้าน ไม่มีองค์กรไหนรับได้ที่ขาดทุนปีละ 600 ล้านและจ่ายโบนัสให้พนักงานทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง”
นายณัฎฐพล กล่าวด้วยว่า ทราบรายได้ต่อปีแล้ว ถ้าหากควบคุมค่าใช้จ่ายน่าจะบริหารจัดการให้กลับมาเป็นบวกได้
เมื่อถามว่า อยากจะพูดอะไรกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องเรียนว่าตนเสียใจในการตัดสินใจของคณะกรรมการ เป็นการตัดสินใจที่ยาก แต่ทำเพื่อองค์ใหญ่ในภาพรวมคือสหกรณ์ครู และเป็นขั้นตอนของทางธุรกิจที่ต้องปรับตัว การชดเชยต่างๆ แม้ว่าอาจจะเป็นเวลาที่ไม่สมควร แต่ก็ทำให้ทุกท่านน่าจะพอมีกำลังที่จะเดินไปข้างหน้า สามารถทำธุรกิจต่างๆ ได้ คงไม่มีอะไรทดแทนการทำงานที่มั่นคงได้ ในขณะที่มีภาวะวิกฤติแต่อาจเป็นโอกาสที่มีเงินทุนไปทำอะไรหลายๆ อย่าง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า