Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เพราะเชื่อในพลังเพื่อวันที่ดีกว่า พลังที่เกิดจากผู้คนที่อยากเห็นโลกดีกว่าเดิม เพราะแค่มี ‘พลัง’ โลกที่ดีกว่าก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ นั่นทำให้กลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชั้นนำของไทยและของโลก เช่น กระทิงแดง (เรดบูล), เรดดี้, โสมพลัส, สปอนเซอร์, แมนซั่ม, เพียวริคุ, ไฮ่! และซันสแนค ปลุกปั้นโครงการ ‘TCP Spirit’ ซึ่งเป็นโครงการอาสาสมัครแนวใหม่ ที่มุ่งรวมพลังคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนชุมชนและสังคมสู่ความยั่งยืน โดยต่อยอดและขยายความร่วมมือมาจาก ‘กระทิงแดง สปิริต’

ภายใต้โครงการ TCP Spirit นั้นมีกิจกรรมสำคัญอย่าง ‘คณะเศษสร้าง’ ที่ปีที่แล้วเริ่มขึ้นเป็นปีแรก นำอาสาลงพื้นที่ชุมชนบ้านหาดทรายดำในจังหวัดระนอง เรียนรู้การจัดการขยะทั้งคัดแยก เก็บกลับ รวมถึงแปลงเป็นรายได้ให้ชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่ายอาสาที่ปลุกพลังคนในชุมชนให้ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และร่วมมือจัดการขยะอย่างจริงจัง

ความสำเร็จของคณะเศษสร้าง ปี 1 ปัจจุบันสามารถเก็บกลับวัสดุรีไซเคิลได้แล้วกว่า 43 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 200% กลุ่มธุรกิจ TCP จึงเดินหน้าสู่ TCP Spirit ‘คณะเศษสร้าง ปี 2’ เพื่อลงลึกการจัดการขยะอย่างเข้มข้นสู่วิถีไร้ขยะ

โดยพาอาสาสมัคร “แอ่วเหนือขึ้นดอย ตามรอยวิถีไร้ขยะ” มุ่งหน้าสู่ ‘โครงการพัฒนาดอยตุงฯ’ ต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมพลังจัดการ ‘เศษ’ ขยะ และ ‘สร้าง’ มูลค่าใหม่ผ่านการลงมือทำแบบครบวงจร พร้อมเรียนรู้ความเชื่อมโยงในระบบนิเวศ เพื่อเข้าใจต้นตอของปัญหาอย่างแท้จริง

[ เรียนรู้ผ่านลงมือทำจริง เพื่อเข้าใจเศรษฐกิจหมุนเวียน ]

‘สราวุฒิ อยู่วิทยา’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าเมื่อมีพลัง โลกที่ดีขึ้นก็เป็นไปได้ จึงลงมือทำงานอย่างจริงจัง เพื่อขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนผ่าน TCP Spirit โดยปีที่แล้วเราเน้นไปที่การแยกขยะ

“ส่วนปีนี้นอกจากแยกขยะแล้ว เหล่าอาสาก็จะได้มองเห็นภาพรวม ตั้งแต่การแยกขยะด้วยตัวเอง ลงมือสร้างคุณค่าให้กลายเป็นวัสดุแบบไม่เหลือทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ เรียนรู้เรื่องราวของการหมุนเวียนวัสดุในอุตสาหกรรม การใช้ทรัพยากรแบบใช้แล้ว ใช้ซ้ำ

“เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบครบลูปในเรื่อง ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ ซึ่งเป็นแนวทางที่ทั่วโลกร่วมกันผลักดันเพื่อเป็นอีกหนึ่งพลังในการดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรโลก จากความร่วมมือของทุกคน”

สราวุฒิบอกว่า สาเหตุที่เลือกมาศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เนื่องจากเห็นโมเดลความสำเร็จที่เกิดขึ้นที่นี่ โดยในอดีตเมื่อราว 30 ปีก่อน ดอยตุงนั้นเป็นเขาหัวโล้น ชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไม่มีสัญชาติ ไม่มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน บางส่วนต้องดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการปลูกฝิ่น และแผ้วถางทำลายป่าเพื่อทำไร่หมุนเวียน

แต่ปัจจุบัน ดอยตุงสามารถกลับมาได้ มีผืนป่าที่เขียวชอุ่ม มีการจัดการขยะจนปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ไร้ขยะฝังกลบ หรือ Zero Waste แล้ว สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ก็สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมกลับมาได้ ซึ่งกลุ่มธุรกิจ TCP หวังว่าอาสาสมัครที่เข้าร่วมจะได้รับองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดการสร้างเครือข่าย และต่อยอดพลังนี้ไปเรื่อยๆ

[ โลกป่วย เอกชนขยับ รัฐต้องออกกฎหมายช่วย ]

ดร.เพชร มโนปวิตร ครูใหญ่คณะเศษสร้าง บอกว่า เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานการตรวจสุขภาพโลกครั้งใหญ่ ซึ่งพบว่าตัวชี้วัดว่าโลกสุขภาพดีหรือไม่ 6 จาก 9 ข้อนั้นเกินมาตรฐานแล้ว โดย 3 ตัวชี้วัดที่เข้าขั้นวิกฤตแล้วคือ โลกร้อน, การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และมลภาวะและพลาสติก และอีก 3 ด้านคือ น้ำเสีย แร่ธาตุสารอาหาร และการใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินไป

ดร.เพชร ยังมองถึงประเด็นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ได้อย่างแท้จริง โดยระบุว่าเป็นเรื่องดีที่เห็นความตื่นตัวของภาคเอกชนมากขึ้น แม้ส่วนใหญ่จะเป็นการปรับตัวเรื่องบรรจุภัณฑ์ แต่ก็เริ่มเห็นการสนใจปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำมากขึ้นแล้ว

“อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังน่ากังวลคือเรื่องความล้าหลังของกฎหมายไทย เราเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่มีกฎหมายเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่มี incentive ให้กับบริษัทเอกชนที่ทำเรื่องนี้ โดยมองว่าอยากให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมระหว่างบริษัทที่ทำและไม่ทำเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ว่าบริษัทที่ทำก็ทำไปคนเดียว บริษัทที่ไม่ทำก็ไม่ทำและยังคงขายได้

“การแก้ปัญหาเรื่องนี้เราสามารถแก้ด้วยโมเดลเศรษฐกิจได้ หรือใช้เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมได้ ไม่ควรมุ่งไปที่การสร้างจิตสำนึกอย่างเดียว สำคัญคือรัฐควรต้อง step up จริงจังกับตัวบทกฎหมายมากขึ้น เพราะถ้ารัฐจริงจัง ทุกคนจะไปสู่แนวทางเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น”

สำหรับกิจกรรมตลอด 2 วันของคณะเศษสร้าง ปี 2 เหล่าอาสาสมัครทั้ง 60 คน จะได้เรียนรู้ เจาะลึกแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านต้นแบบการพัฒนาครบวงจรเพื่อความยั่งยืน จากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ซึ่งศูนย์จัดการขยะที่ดอยตุงสามารถแยกได้ถึง 44 ประเภท มีการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ สร้างมูลค่าให้กับวัสดุ สร้างรายได้ให้ชุมชน

“นอกจากนี้ยังพาไขความลับวัฏจักรหมุนเวียนจากห้องเรียนธรรมชาติ ให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างเรากับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวที่มีผลกระทบต่อกัน เป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจและเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งกำลังเป็นวิกฤตของโลกในปัจจุบัน”

สำหรับรายวิชารักษ์โลกใน TCP Spirit คณะเศษสร้าง ปี 2 ได้แก่

-วิชากายวิภาคของ “เศษ”: ลงลึกถึงขยะปลายทางที่สามารถแยกได้ถึง 44 ประเภท และทุกประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

-วิชาสร้างโอกาสปลุกปัญญา: ลงมือเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นวัสดุ จากพลาสติกให้กลายเป็นกระถางใส่ต้นไม้ จากเปลือกหัวหอมให้กลายเป็นสีย้อมผ้า หรือจากห่อขนมกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ และปุ๋ยไส้เดือนที่มีกระบวนการ Circular ได้อย่างน่าอัศจรรย์

-วิชาการเดินทางของขยะ: ร่วมแบ่งปันเรื่องราวของขยะผ่านผลงานชิ้นเอกที่เหล่าอาสาสร้างขึ้น ว่าเส้นทางของขยะ และกระบวนการชุบชีวิตขยะต้องทำอย่างไร

-วิชาสร้างคุณค่าให้กับ “ขยะ” กลายเป็น “เศษวัสดุ”: อาสาจะได้ร่วมกันออกแรงซ่อมแซมถนนที่ชำรุด โดยใช้เศษโมลด์ที่เหลือจากกระบวนการผลิตเซรามิกร่วมกับปูน และเปลือกแมคคาเดเมีย ถมถนนที่เป็นหลุมเป็นร่องให้เรียบ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการสัญจรของผู้คนในชุมชน

-วิชาปลูกคนปลูกป่า วิถีวงกลม: พาอาสาทุกคนไปเดินป่า ฟังเสียงนก ใช้เวลาสัมผัสกับธรรมชาติ บนเส้นทางที่ตัดผ่านพื้นที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าใช้สอย ป่าเศรษฐกิจ และป่าอนุรักษ์

-วิชาดวงดาวในจักรวาล: ชวนกันมาถอดบทเรียนเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่าน Butterfly Diagram เรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับธรรมชาติ ว่าทุกอย่างล้วนส่งผลกระทบต่อเนื่องกัน

-วิทยานิพนธ์: ตกตะกอนความคิดและต่อยอดความสร้างสรรค์จากกิจกรรมที่เรียนรู้ทั้งหมด กลั่นออกมาเป็น THESIS การจัดการ “เศษ” เพื่อ “สร้าง” ประโยชน์ ส่งต่อไอเดียดีๆ และพลังสร้างการเปลี่ยนแปลง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า