Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยขาดแคลนแรงงาน IT หนัก จนต้องนำเข้า ‘พนักงานข้ามชาติ’ ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ‘ไทย’ ต้องลงทุนพัฒนา ‘มนุษย์’ เสริมศักยภาพประเทศ เพิ่มขีดความสามารถ ดึงดูดนักลงทุน

‘ลิลลี่ งามตระกูลพานิช’ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้เชี่ยวชาญด้าน HR Solution อันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ปัจจุบันสายงานที่หา ‘บุคลากร’ ยากที่สุดในประเทศไทย คือ สายงานไอที (IT) เนื่องจากมีนักศึกษาเข้าเรียนในสายไอทีเพียงปีละ 16,000-20,000 คน เรียนจบการศึกษาจริงเพียงปีละ 8,000 คน และไม่ใช่ทั้งหมดที่ตรงกับความต้องการของนายจ้าง

ทำให้ตลาดแรงงานไอทีในไทยมีความต้องการบุคลากรสูงมาก จนนำมาสู่ความจำเป็นในการจ้างงานทรัพยากรบุคคล ‘นอกประเทศ’ โดยการ ‘นำเข้า’ หรือ ‘ทำงานทางไกล’ เข้ามาแทน

แม้ก่อนหน้านี้หัวหน้างานในไทยหลีกเลี่ยงที่จะรับพนักงานในความดูแลที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษ 100% แต่ด้วยความต้องการในตลาดแรงงานที่สูงขึ้น ทำให้ตอนนี้หลายๆ บริษัทยอมจ้างงานพนักงานจากตลาดแรงงานอื่นๆ อาทิ อินเดีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ 

“ตอนนี้ตำแหน่งงานที่หาแคนดิเดต (ผู้สมัคร) ยากที่สุด คือ IT ในระดับกลางและสูง เพราะแคนดิเดต 1 คนมีคนรอเสนองาน 3 ตำแหน่งงานจาก 3 องค์กร ส่วนที่มีความต้องการรองลงมาคือสายงานโลจิสติกส์ที่เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงระหว่างและหลังโควิด รวมถึงสายงานขายและการตลาดที่ทุกบริษัทต้องการคนมาขาย”

ด้าน ‘โจนาส ไพรส์ซิ่ง’ ประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แมนพาวเวอร์กรุ๊ป อธิบายว่า ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ตลาดแรงงานโลกขาดแคลนบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศไทย โดยปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลต่อตลาดแรงงานคือ การเปลี่ยนแปลงประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รวมถึงพฤติกรรมของบริษัทและการตัดสินใจส่วนบุคคล

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในขาลง แต่ตลาดแรงงานโลกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ส่วนในไทยคาดภายในปี 2026 ประเทศไทยจะมีจำนวนกำลังแรงงานกว่า 40 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 70 ล้านคน 

จุดแข็งของตลาดแรงงานไทย คือ ตลาดแรงงานไทยยังคงเติบโต เพราะมีธุรกิจมากขึ้น ไม่เหมือนกับหลายๆ ประเทศที่ตลาดแรงงานค่อยๆ หดตัวลง

แต่ในทางกลับกัน ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ทั้งการอัปสกิลและรีสกิล ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

โดยภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องทำงานร่วมกัน บริษัทองค์กรจะต้องรีสกิลและอัปสกิลให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะมาถึง

ส่วนรัฐบาลก็จะต้องดำเนินการให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนผ่านจะเกิดขึ้นอย่างราบรื่น เพราะหากต้องการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศ ประเทศไทยก็จำเป็นจะต้องลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งประชากรในประเทศมีทักษะสูงเท่าไรก็จะสามารถดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น

โดยทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมากๆ คือ การใช้งานเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศ 

สำหรับตลาดแรงงานไทยยังมีบางทักษะที่ต้องได้รับการพัฒนาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก อาทิ ทักษะภาษาอังกฤษ เพราะหลายครั้งนักลงทุนเลือกขยายธุรกิจในตลาดแรงงานอื่นแทนไทย เพราะต้องการแรงงานที่พูดภาษาอังกฤษได้

ปัจจุบันอัตราการว่างงานในไทย คือ 1.2% เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถหาบุคลากรที่เหมาะสมกับงานป้อนเข้าสู่ตำแหน่งงานที่ตลาดต้องการได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพแรงงานจบใหม่และแรงงานในตลาดให้ตรงกับความต้องการของตลาด เพราะในยุคหลังสถานการณ์ตลาดแรงงานขึ้นอยู่กับ ‘ความสามารถ’ ที่แรงงานมี ถ้ามีทักษะตรงกับความต้องการของนายจ้างก็จะหางานได้ไม่ยาก

ในอีก 5 ปีข้างหน้าบางอาชีพจะหายไปหรือมีความต้องการลดลง แต่จะมีอาชีพใหม่ๆ ปรากฎขึ้นมาแทน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า