Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังเส้นทางรถไฟลาว-คุนหมิง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ นอกจากการเดินทางของผู้คนที่คึกคักแล้ว การขนส่งสินค้าผ่านรถไฟเส้นทางนี้ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เพราะช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้มาก ทั้งระยะทางและเวลา

นั่นทำให้น่าคิดว่าเส้นทางนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยจะเลือกใช้ในการขนส่งสินค้าจากไทยผ่าน สปป.ลาว ไปยังประเทศจีนได้

ล่าสุด ‘ไปรษณีย์ไทย’ ขนส่งแห่งชาติ ก็เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศผ่านเส้นทางการขนส่ง ด้วยการเตรียมร่วมมือกับ ‘รัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาว’ หรือ ปนล ในการเปิดให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศทางภาคพื้น

อีกทั้งยังยกระดับค้าปลีก- อีคอมเมิร์ซด้วยการนำสินค้าท้องถิ่นของ สปป.ลาว มาจำหน่ายบนเว็บไซต์ thailandpostmart.com

และแน่นอนว่าความร่วมมือนี้ยังรวมไปถึงการวางแผนที่จะอาศัยเส้นทางรถไฟลาว-คุนหมิง เพื่อขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนในอนาคตอีกด้วย

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บอกว่า บริการขนส่งข้ามพรมแดนเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไปรษณีย์ไทยและผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีกและอีคอมเมิร์ซ

ซึ่งหนึ่งในปลายทางที่มีโอกาสในการสร้างรายได้ในปัจจุบัน-อนาคต ได้แก่ สปป.ลาว เนื่องจากนิยมสินค้าที่ผลิตจากไทย อีกทั้งยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง มีการเปิดรับการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงการเปิดพื้นที่เพื่อรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และธุรกิจหลายประเภท

เพื่ออาศัยประโยชน์จาก สปป.ลาว ให้มากขึ้น ไปรษณีย์ไทยจึงร่วมมือด้านการขนส่งกับ ปนล เพื่อกระตุ้นให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศมีความคึกคัก รวมถึงขยายตลาดสินค้าประเภทต่างๆ ไปสู่หัวเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจได้

ขณะที่ปัจจุบันตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา มีจำนวนชิ้นงานที่ขนส่งจากไทยไปลาวผ่านไปรษณีย์ไทยเกิดขึ้น 3,000 ชิ้นงาน

ส่วนแนวทางสำคัญที่ไปรษณีย์ไทยกับลาวจะร่วมมือกัน มีหลายด้านด้วยกัน คือ

1.ความร่วมมือในเส้นทางขนส่ง โดยได้เร่งหารือความเป็นไปได้ในการขนส่งทางรางและทางภาคพื้นในเส้นทางลาว-คุนหมิง เพื่อรองรับการขนส่งข้ามแดนที่รวดเร็ว เช่น สินค้าทางการเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค จากไทยผ่านลาวไปถึงจีน และต้นทางจีนผ่านลาวมายังไทย

โดยเป็นการหารือแบบพหุภาคีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากไทย สปป.ลาว เวียดนาม และจีน ซึ่งหากในอนาคตสามารถใช้การขนส่งทางรถไฟได้จะทำให้การขนส่งทั้ง 3 ประเทศมีความสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อไปยังยุโรปได้ ก็จะช่วยแก้ปัญหาการขนส่งทางอากาศซึ่งมีจำกัดและค่าขนส่งค่อนข้างสูงได้อีกด้วย

นอกจากนี้ หลังจากสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น ได้มีการเปิดพรมแดนระหว่างไทยและ สปป.ลาว ทำให้สามารถเปิดให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศทางภาคพื้นได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น บริการไปรษณียภัณฑ์ บริการพัสดุไปรษณีย์

โดยทั้ง 2 ประเทศจะแลกเปลี่ยนถุงไปรษณีย์ ณ บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 แลกกัน 2 วัน/ สัปดาห์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถทำการค้าได้สะดวกสบายกว่าเดิม

2.ด้านการขายสินค้า-อีคอมเมิร์ซ ด้วยการนำสินค้าท้องถิ่นของ สปป.ลาว มาขายบนเว็บไซต์ thailandpostmart.com ของไปรษณีย์ไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างคัดเลือกสินค้า เช่น งานคราฟต์ กาแฟ สินค้าหัตถกรรมจากไม้ ผ้าทอมือ ฯลฯ

โดยจะเน้นกลุ่มสินค้าที่เป็น ‘ของดีของลาว’ คือมีเรื่องราวหรือความน่าสนใจทั้งในเชิงการผลิต แหล่งที่มา อัตลักษณ์ของสินค้า รวมถึงการทำการตลาด-ขนส่งให้กับสินค้าไทยที่ต้องการขยายไปสู่ สปป.ลาว การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านตลาดตราไปรษณียากรและสิ่งสะสม

นอกจากนี้ ยังจะมีการนำอาหารทะเลสด/ แห้งที่เป็นที่ต้องการของชาว สปป.ลาว มาขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ด้วยบริการฟิ้วซ์ โพสต์ ซึ่งสามารถส่งอาหารทะเลให้ได้ทั้งแบบรถห้องเย็นและบรรจุภัณฑ์ที่ควบคุมอุณหภูมิ

โดยจะมีการพิจารณาเรื่องพื้นที่ที่สามารถรับไปจัดจำหน่ายต่อเพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพอาหารได้

3.บริการการเงิน โดยทั้ง 2 หน่วยงานได้เตรียมพัฒนาบริการการเงินในรูปแบบใหม่เพื่อรองรับการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศ และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

เช่น การจ่ายเงินผ่านแอปลิเคชันหรือ eWallet และบริการจ่ายเงินปลายทาง (COD) ระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการค้าขายกับผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ซื้อ และส่งเสริมให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตได้เร็วขึ้นกับทั้ง 2 ประเทศ

4.การเพิ่มรูปแบบบริการขนส่ง ปัจจุบัน สปป.ลาวและไทยมีการให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ได้แก่ บริการไปรษณียภัณฑ์ บริการ EMS World บริการพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศทั้งทางอากาศและทางภาคพื้น

และล่าสุดได้เปิดบริการ ePacket การส่งสิ่งของที่เป็นซองหรือกล่องน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมในราคาประหยัด เพื่อรองรับลูกค้าทั้งที่เป็นรายย่อย และ SMEs ให้เกิดความคุ้มทุนในด้านค่าขนส่ง

รวมถึงยังศึกษาบริการ ePacket Plus ซึ่งเป็นบริการเสริมเพื่อรับประกันความเสียหายและสร้างความเชื่อมั่นในบริการให้ลูกค้าเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้ลงนามความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ลาวซึ่งจะร่วมกันพัฒนาบุคลากรทั้ง 2 ชาติ ให้มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีและการขนส่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญในด้านการตลาด องค์ความรู้ การปรับปรุงเครือข่ายเพื่อยกระดับการค้าอีคอมเมิร์ซ

รวมถึงในมิติที่สำคัญอย่างการสำรวจรูปแบบการขนส่งที่มีศักยภาพและคุ้มค่า ทั้งทางถนน ทางรถไฟ น่านน้ำ เพื่อนำทุกเส้นทางมาเชื่อมต่อกับรูปแบบการขนส่งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

“ไทยเราอยากเป็นฮับของ CLMV ในทุกด้าน รวมถึงด้านโลจิสติกส์ด้วย เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นทำเลศักยภาพ มีประชากรรวมกันมากกว่า 300 ล้านคน ถ้าหากเราสามารถเชื่อมกันได้หมด พยายามทำราคาในภูมิภาคให้ไม่ต่างจาก Domestic Rate การผ่านด่านศุลกากรเป็นเรื่องง่าย ก็จะสร้างความเข้มแข็งในภูมิภาคได้ มีอำนาจต่อรองกับอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ได้นั่นเอง” ดร.ดนันท์ กล่าวทิ้งท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า