Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อุตสาหกรรมหนังไทยควรปรับตัวอย่างไรในวันที่ธุรกิจหนังโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ข่าวที่สร้างความฮือฮาให้กับโลกภาพยนตร์มากที่สุดในช่วงเวลานี้มากที่สุด คงไม่มีข่าวไหนเกินรายงานที่ว่า บริษัทวอร์เนอร์ บราเธอร์ส ประกาศนโยบายการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในปีหน้าว่าจะเน้นการฉายภาพยนตร์ทุกประเภทในโรงภาพยนตร์ในเวลาเดียวกับช่องทางสตรีมมิ่ง หมายความว่าผู้ชมมมีทางเลือกว่าจะออกมาชมภาพยนตร์ในโรง หรือ นั่งดูอยู่ที่บ้านผ่านการสตรีมมิ่งบนแพลทฟอร์ม HBO Max ซึ่งวอร์เนอร์เป็นเจ้าของ  การตัดสินใจครั้งสำคัญของวอร์เนอร์ครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์โรคโควิด 19 ในประเทศอเมริกา และหลายประเทศทั่วโลกคงไม่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว

นอกจากนี้โรงภาพยนตร์ที่ยังคงเป็นแหล่งรายได้หลักของหนังฟอร์มใหญ่ของค่าย ไม่ว่าจะเป็น Batman หรือ Justlice League ก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเปิดได้เมื่อไหร่ แถมถ้าเปิดได้แล้ว ผู้ชมพร้อมที่จะกลับมาใช้บริการแค่ไหน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวตรงข้ามกับธุรกิจสตรีมมิ่งที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด  เห็นได้ชัดว่าภาวะล็อคดาวน์ส่งผลให้ยอดสมาชิกของผู้ให้บริการสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Netflix  Amazon Prime หรือแม้แต่ Disney Plus เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และค่ายหนังที่ทดลองเปิดตัวหนังฟอร์มยักษ์ผ่านระบบสตรีมมิ่งอย่าง  ยูนิเวอร์แซล กับ Troll World Tour หรือ ดิสนีย์ที่เปิดตัวหนังเรื่อง Mulan บนช่องทางสตรีมิ่งของตัวเองชื่อ Disney Plus ก็ได้พิสุจน์ให้เห็นว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่วอร์เนอร์ซึ่งเรียนรู้ความผิดพลาดจากการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง Tenet ทางโรงภาพยนตร์เพียงอย่างเดียวจนขาดทุนมหาศาล จะพลิกนโยบายการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ ให้สอดคล้องกับความเป็นไปที่เกิดขึ้น จนสร้างเสียงฮือฮาไปทั่ววงการภาพยนตร์เช่นนี้

คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือ นโยบายของวอร์เนอร์นโนบายนี้จะส่งผลอย่างไรกับธุรกิจภาพยนตร์ แน่นอนว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคงหนีพ้นเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์ เพราะแทนที่จะได้ผู้ชมภาพยนตร์กลุ่มแรกจำนวนร้อยเปอร์เซ็นท์กลับต้องแบ่งสัดส่วนจำนวนหนึ่งให้ช่องทางสตรีมมิ่ง ยิ่งถ้าภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่ได้เป็นภาพยนตร์ที่ลงทุนสูง มีระบบภาพและเสียงที่ต้องชมในโรงภาพยนตร์ เช่น หนังซูเปอร์ฮีโรจากค่าย ดีซี อย่าง Batman หรือ Justice League โอกาสที่จะเสียกลุ่มผู้ชมไปให้ช่องทางสตรีมมิ่งมีสูง  นอกจากนี้ผลตามมาที่สำคัญอีกประการคือ การกระจายตัวอย่างรวดเร็วของลิงค์ภาพยนตร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อยอดผู้ชมในโรงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังกร่อนเซาะตลาดดีวีดีที่กำลังเปราะบางในหลายประเทศอีกด้วย  กรณีของภาพยนตร์เรื่อง Mulan ซึ่งเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลกทั้งในโรงภาพยนตร์และช่องทางสตรีมมิ่งเป็นตัวอย่างที่ดี เฉพาะในประเทศจีน ภาพยนตร์ถูกดาวน์โหลดอย่างผิดกฎหมายกว่า 4 แสนครั้งก่อนหนังเปิดตัว จึงไม่แปลกที่หนังทำรายได้ย่ำแย่เมื่อเปิดตัวในประเทศจีน  อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่ากังวลและน่าตื่นเต้นในเวลาเดียวกันก็คือ หากการทดลองการจัดจำหน่ายแบบนี้ของวอร์เนอร์ประสบความสำเร็จ  (อาจเริ่มมองจากการเปิดตัวของภาพยนตร์เรื่อง Wonder Woman 1984) เชื่อแน่ว่า สตูดิโออื่น ๆ ทั้งในและนอกอเมริกาน่าจะดำเนินรอยตาม และเมื่อถึงเวลานั้น อุตสาหกรรมภาพยนตร์โลกก็จะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ธุรกิจสตรีมมิ่งจะกลายเป็นสมรภูมิใหม่ทีผู้ประกอบการหน้าใหม่และหน้าเก่าต่างแข่งขันเพื่อแย่งชิงฐานคนดู โดยมีอาวุธสำคัญคือ คอนเทนท์ซึ่งได้แก่ หนัง และซีรีส์

แล้วทีนี้คำถามสำคัญต่อไป ก็คือ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยควรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร อย่างแรกที่สุด ทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมต้องยอมรับก่อนว่า ธุรกิจของโลกภาพยนตร์จะไม่เหมือนเดิม และคงไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว จากนั้นทุกฝ่ายควรถือโอกาสนี้ในการกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับธุรกิจภาพยนตร์เสียใหม่รวมถึงกำหนดยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับกระแสที่เปลี่ยนไป  โดยผู้เขียนขออนุญาตนำเสนอข้อคิดเห็นในการปรับตัวของภาคส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อันประกอบด้วย ภาครัฐ  ภาคผู้ผลิตและจัดจำหน่าย และช่องทางการเผยแพร่ดังนี้

  1. ภาครัฐ : รัฐควรถือโอกาสนี้ในการจัดตั้งสภาการภาพยนตร์ (Film Commission) ที่รวมศูนย์การส่งเสริมและสนับสนุนภาพยนตร์ไทยทั้งภายในและนอกประเทศเพื่อความเป็นเอกภาพในการบริหารงาน โดยผู้บริหารควรเป็นผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านธุรกิจภาพยนตร์ที่ครอบคลุมทั้งภาพยนตร์บันเทิงและศิลปะ ขณะที่มีตัวแทนจากภาครัฐฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม การพาณิชย์ และการต่างประเทศ ร่วมกำหนดทิศทางการสนับสนุนและส่งเสริมภาพยนตร์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยำหนดเป็นเป้าหมายระยะใกล้/ กลางและระยะยาวที่ชัดเจน สำหรับเป้าหมายระยะใกล้และกลาง สภาการภาพยนตร์ควรให้การสนับสนุนภาพยนตร์หรือแม้แต่ซีรีส์ที่ก้าวข้ามพรมแดนของความเป็นไทยไปสู่คอนเทนท์ที่นำเสนอเนื้อหาที่สื่อสารที่คนทั้งโลกเข้าถึงได้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุผลที่ภาพยนตร์เกาหลีหลายเรื่องประสบความสำเร็จในระดับโลก ไม่ได้เป็นเพราะภาพยนตร์เรื่องนั้น หรือซีรีส์เรื่องนั้น ขายความเป็นเกาหลี แต่เป็นเพราะคอนเทนท์เหล่านี้ นำเสนอประเด็นที่ผู้ชมทั่วโลกรู้สึกร่วม ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าจดจำ ( Parasite คือตัวอย่างที่ดี หนังพูดถึงประเด็นความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นปัญหาที่คนทั้งโลกประสบอยู่ โดยใช้รูปแบบการเล่าเรื่องที่ดูสนุกมีชั้นเชิงน่าติดตาม) นอกจากสนับสนุนและส่งเสริมคอนเทนท์ประเภทนี้แล้ว สิ่งที่สภาการภาพยนตร์ต้องทำควบคู่กันไปในแผนระยะสั้นและกลางคือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เพื่อทำให้คอนเทนท์เหล่านี้ได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างจุดนัดพบระหว่าง

    ผู้สร้างภาพยนตร์ กับผู้จัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงผู้สนับสนุนทางการเงินทั้งไทยและต่างประเทศเช่นกัน  หรือการสร้างตลาดภาพยนตร์ดิจิทัลที่จะนำพาภาพยนตร์ไทยเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน  ไม่เพียงเท่านั้นสภาการภาพยนตร์ควรให้การสนับสนุนการคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น แพลทฟอร์มสตรีมมิ่งที่มีความโดดเด่นของคนไทยเอง หรือ เครื่องมือสกัดกั้นลิงค์ภาพยนตร์เถื่อน ( Anti piracy takedown tool) ซึ่งจะมีความจำเป็นอย่างมาก เมื่อภาพยนตร์ออกฉายในโรงภาพยนตร์พร้อมกับช่องทางสตรีมมิ่ง  สำหรับเป้าหมายระยะยาว  สภาการภาพยนตร์พึงตระหนักว่า แม้ว่าแนวโน้มของภาพยนตร์ในอนาคตจะทำให้โรงภาพยนตร์ค่อย ๆ ลดความสำคัญลง แต่วัฒนธรรมการชมภาพยนตร์ (film culture) ไม่ควรจะสูญหาย สภาการภาพยนตร์ต้องส่งเสริมกิจกรรมที่เน้นการฟื้นฟูวัฒนธรรมการชมภาพยนตร์ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเทศกาลภาพยนตร์  การจัดเสวนาประกอบการฉายภาพยนตร์ นอกจากนี้สภาการภาพยนตร์ควรให้การสนับสนุนทางการเงิน แก่ผู้จัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมภาพยนตร์  ผู้ประกอบการพื้นที่การฉายภาพยนตร์ ( film space) หรือ แม้แต่ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ทางเลือกที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจได้

  2. ภาคผู้ผลิตและจัดจำหน่าย : ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพยนตร์ในอนาคตจะไร้ซึ่งพรมแดนที่ระบุว่า หนังเรื่องนี้เป็นของชาติใดอีกต่อไป ทั้งนี้เป็นการเติบโตของธุรกิจสตรีมมิ่งที่แพร่ขยายไปทั่วโลก จะค่อย ๆ ขัดเกลาพฤติกรรมการชมภาพยนตร์ของผู้ชมในแต่ละประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น กล่าวคือ รสนิยมของผู้ชมในแต่ละช่วงเวลา จะกำหนดแนวทางของคอนเทนท์ของช่วงเวลานั้น ๆ  เช่นในช่วงเวลานี้ ประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ การต่อต้านค่านิยมเดิม กำลังเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคมโลก หนังหลายเรื่อง หลากแนวที่นำเสนอประเด็นดังกล่าว ล้วนแต่ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแค่ในประเทศตัวเองแต่ยังรวมถึงต่างประเทศด้วย เช่น  Parasite ของเกาหลีใต้ที่นำเสนอความเหลื่อมล้ำของชนชั้นทางสังคม Joker ที่นำเสนอถึงการลุกขึ้นเอาคืนสังคมของชนชั้นล่าง  หรือแม่แต่ซีรีส์ยอดฮิตของเกาหลีเรื่อง A World of Married Couple ที่วิพากษ์ความล่มสลายของสถาบันครอบครัวเป็นต้น ดังนั้นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์จึงพึงตระหนักความจริงข้อนี้ตลอดเวลา และควรศึกษาความเคลื่อนไหวของรสนิยมของผู้ชมในสังคมโลกอย่างใกล้ชิด รวมถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ถึงรสนิยมของผู้ชมในอนาคต  การยึดติดความคิดที่ว่า หนังไทยควรทำให้คนไทยดูเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับเป็นเหตุผลในการตัดสินใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง  เพราะถึงเวลาหนึ่ง ผู้ชมชาวไทยก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกที่คอยกำหนดรูปแบบการสร้างภาพยนตร์อีกที  นอกจากนี้ก่อนการตัดสินใจสักเรื่องผู้ผลิตควรประเมินถึงแหล่งรายได้ จากช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะ การสนับสนุนจากภาครัฐ ผ่านทุนสนับสนุน  (ในกรณีที่ผู้ผลิตของการสนับสนุน) รายได้จากโรงภาพยนตร์ รายได้จากการขายต่างประเทศ และรายได้อื่น ๆ ให้ดี ถ้าพบว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนจึงค่อยเริ่มดำเนินการ
  3. ช่องทางการเผยแพร่: แน่นอนว่าผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์คือ เหยื่อรายแรกของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะแม้ว่าแนวโน้มของการจัดฉายภาพยนตร์ของค่ายสตูดิโอต่าง ๆ จะยังคงให้ความสำคัญกับโรงภาพยนตร์อยู่ แต่การที่ค่ายกำหนดเวลาการฉายในเวลาเดียวกับช่องทางสตรีมมิ่ง ย่อมทำให้โรงภาพยนตร์เสียประโยชน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ประการแรกรายได้ที่ควรได้ 100% ต้องแบ่งให้ช่องทางสตรีมมิ่ง ประการที่สอง ความเสี่ยงของการทะลักเข้ามาในตลาดของลิงค์ และแผ่นดีวีดีเถื่อนมีมากขึ้นนและยากแก่กการควบคุมเพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่โรงภาพยนตร์ควรปรับตัวเป็นอย่างแรก คือ การพยายามหาทางที่ทำให้ราคาค่าชมภาพยนตร์สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจของผุ้บริโภค เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ราคาค่าชมภาพยนตร์ที่สูงมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ยิ่งถ้าผู้บริโภคมีตัวเลือกเยอะอย่างช่องทางสตรีมมิ่งต่าง ๆ  อาจทำให้การชมภาพยนตร์ในโรงไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกของพวกเขา ลำดับต่อมา  ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ควรกำหนดแผนการรณรงค์ให้ผู้ชมตระหนักถึงความสำคัญของการชมในโรงภาพยนตร์ เช่นกำหนดแผนการรณรงค์ Bring back the cinematic experience ด้วยการทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าแม้ว่าผู้ชมจะมีทางเลือกในการชมภาพยนตร์มากขึ้น แต่ก็ไม่มีที่ใดที่เหมาะกับการเสพภาพยนตร์ได้สมบูรณ์แบบเท่ากับในโรงภาพยนตร์ และประการสุดท้าย ในเมื่อช่องทางสตรีมมิ่งกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมากับโรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ก็ถือโอกาสผูกมิตร ด้วยการจับเอาคอนเทนท์ของสตรีมมิ่งที่มีศักยภาพเหมาะสมกับการฉายในโรงภาพยนตร์มาฉายให้ผู้ชมได้ชม โดยทำควบคู่กับแผนการรณรงค์ Bring back the cinematic experience  ซึ่งหากทำสำเร็จ แม้ว่าหนังบางเรื่องที่ผลิตเพื่อฉายในช่องทางสตรีมมิ่งโดยเฉพาะ หรือซีรีส์บางชุดจะเผยแพร่ทางช่องทางสตรีมมิ่งก่อน ไม่ว่าอย่างไรผู้ชมก็อยากชมภาพยนตร์หรือซีรีส์เหล่านั้นบนจอใหญ่ที่มีระบบเสียงสมบูรณ์แบบและท่ามกลางผู้ชมจำนวนมากอยู่ดี (ลองนึกถึงการได้ดูซีรีส์ The Crown หรือ แปลรักฉันด้วยใจเธอ ในโรงภาพยนตร์)    

  

  สรุป

แม้ว่าถึงตอนนี้ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า รูปแบบการจัดจำหน่ายที่บริษัทวอร์เนอร์เพิ่งประกาศออกไปจะเป็นอย่างไร สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดอย่างแรกสุดได้แก่ การออกฉายของ Wonder Woman  1984 ที่จะเปิดตัวในโรงภาพยนตร์ทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคมเป็นต้นไป ก่อนที่จะฉายในโรงและช่องทางสตรีมมิ่งพร้อมกันในวันที่ 25 ธันวาคม ถ้าผลการฉายด้วยโมเดลนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้กับบริษัทวอร์เนอร์มากขึ้นในการวางนโยบายฉายหนังของค่ายในสองช่องทางพร้อมกันทั่วโลกในปีหน้า แต่ถ้าผลออกมาตรงกันข้าม อาจทำให้วอร์เนอร์อาจต้องปรับกลยุทธในการจัดจำหน่ายต่อไป แต่ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร คนในแวดวงธุรกิจภาพยนตร์ทั่วโลกทั่วโลกต้องยอมรับความจริงว่ารูปแบบของธุรกิจภาพยนตร์จะไม่มีทางเหมือนเดิมอีกต่อไป การเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นทางเลือกไม่กี่ทางที่จะทำให้อยู่รอดในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงแทบตลอดเวลาอย่างโลกภาพยนตร์ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า