Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระแสเรื่อง Job Hopper หรือคนที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ (โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่) กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอีกครั้งบนโซเชียลมีเดียอีกครั้ง และเป็นที่ถกเถียงกันว่าการเปลี่ยนงานบ่อยๆ นั้นดีหรือไม่

เพราะหลายคนมองว่าการเปลี่ยนงานบ่อยๆ เท่ากับคนนั้นไม่อดทน แต่คนที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ ก็ตั้งคำถามว่าในเมื่อพวกเขามีสิทธิ์เลือก แล้วทำไมต้องทนอยู่ในที่เดิมนานๆ

การเปลี่ยนงานบ่อยๆ ดีจริงหรือไม่อย่างไร TODAY Bizview ชวนหาคำตอบไปด้วยกัน

คนทำงานน่าจะคุ้นชินกับชุดคำที่บอกกันปากต่อปาก ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นในที่ทำงานมาว่า ไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ตาม จะชอบไม่ชอบ หรือเกิดความรู้สึกว่างานนี้ไม่ตรงกับความต้องการอีกต่อไปแล้ว ก็ควรทำงานให้ครบหรือมากกว่า 2 ปีขึ้นไป

เพื่อที่ประวัติการทำงานจะได้ไม่มีรอยด่างพร้อย ไม่ดูเป็นคนหยิบโหย่ง หรือไม่มีความอดทนในสายตาของหัวหน้างานในอนาคต

แต่นี่อาจเป็นเพียงความคิดที่ล้าหลังไปเสียแล้ว เพราะปัจจุบันผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะเป็น ‘Job Hopper’ หรือคนที่เปลี่ยนงานอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนงานบ่อยๆ เมื่อพวกเขาพบว่า ตำแหน่งที่ทำอยู่ไม่มีพื้นที่ให้เติบโตได้อย่างที่ควรจะเป็น 

[ คนทำงานต้องเป็นฝ่ายเลือก ไม่ใช่ถูกเลือกอย่างเดียว ]

ปี 1970 การเปลี่ยนย้ายงานข้ามไปมาในช่วงเวลาอันรวดเร็วถูกบัญญัติโดยนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมว่า เป็นอาการ ‘Hobo Syndrome’ ซึ่งหลังจากนั้นพฤติกรรมการย้ายงานแบบนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นสิ่งต้องห้ามแบบกลายๆ ของคนทำงานที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการวาง Career path ในระยะยาว

ทว่า ชุดความคิดเหล่านี้กลับล้าสมัย และไม่ฟังก์ชันกับสถานการณ์ปัจจุบันอีกต่อไป เมื่อบริษัทเองก็ไม่ได้มีข้อเสนอที่ดีเพียงพอจะยื้อคนของตัวเองไว้

และในทางกลับกัน คนรุ่นใหม่ก็มีความต้องการในการเติบโต แสวงหาความก้าวหน้าให้กับตัวเองมากขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีคิดแบบเดิม ฉะนั้น แนวทางการจ้างงานที่อิงกับ ‘Loyalty’ จึงไม่อาจฉุดรั้งคนทำงานให้ติดอยู่กับบริษัทนานๆ ได้อีกต่อไปแล้ว

นอกจากนี้ ข้อถกเถียงว่าด้วยเรื่องของความจงรักภักดีระหว่างองค์กรและคนทำงานก็ถูกตั้งคำถามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา

รวมถึงช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเองที่หลายๆ ครั้งบริษัทมักเริ่มนโยบาย ‘cut lost’ ผ่านการเลิกจ้างงานเป็นตัวเลือกแรกๆ

เมื่อคนทำงานถูกทอดทิ้ง ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่างานที่ทำอยู่จะถูกกำจัดเมื่อไร พวกเขาจึงใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายอำนาจในการกำหนดอนาคตชีวิตการทำงานกลับมาที่ตัวเอง จากเดิมที่บริษัทเป็นฝ่ายเลือกและกำหนด

เกิดเป็น ‘Job Hopping’ หรือการกระโดดข้ามย้ายงานไปมา ที่นอกจากคนทำงานจะมีอำนาจกำหนดทางเลือกให้ตัวเองได้ ยังทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ รวมถึงความก้าวหน้าและฐานเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

[ วิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดในการเติบโต คือการเปลี่ยนงาน ]

ข้อมูลสถิติจากสำนักแรงงานแห่งสหรัฐฯ ปี 2020 ระบุว่า พนักงานที่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี มีค่าเฉลี่ยการทำงานในแต่ละบริษัทอยู่ที่ 1.3 ปีเท่านั้น ขณะที่คนทำงานอายุระหว่าง 35-44 ปี มีอายุการทำงานในแต่ละบริษัทเฉลี่ย 4.9 ปี

ไม่เพียงเท่านั้น รายงานจากเว็บไซต์ Linkedln เว็บไซต์หางานชื่อดังได้ทำการเก็บสถิติคนทำงานในอเมริกา 20,000 คน และพบว่า กว่า 23% ของคนมิลเลนเนียลวางแผนที่จะลาออกจากงานปัจจุบันในอีก 6 เดือนข้างหน้า หลังจากเพิ่งเข้าทำงานได้ไม่นาน

เรื่องนี้ ‘คริสโตเฟอร์ เลค’ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยอลาสกา แองเคอเรจ สหรัฐฯ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป็นเพราะบริษัทเองก็มีการแข่งขันแย่งชิงคนทำงานที่สูงขึ้น ทำให้คนทำงานมีโอกาสในการเลือกมากขึ้น

และเพื่อที่จะโน้มน้าวให้ใครสักคนลาออกเพื่อมาเริ่มต้นใหม่ บริษัทเองก็ต้องสร้างโอกาส และความเป็นไปได้ที่น่าสนใจมากพอด้วยเช่นกัน

เรื่องนี้เห็นกรณีตัวอย่างได้ชัดเจนที่สุดจากปรากฏการณ์การลาออกครั้งใหญ่หรือ The Great Resignation ในรอบปีที่ผ่านมา

คนทำงานตีความ-ให้คำนิยามใหม่สำหรับอาชีพการงานของตนใหม่ รูปแบบดั้งเดิมที่บริษัทมีอำนาจในการตัดสินความก้าวหน้าแก่ปัจเจกบุคคลลดลง ผู้คนมีอิสระในการเลือกรูปแบบการทำงานที่เหมาะกับตัวเองมากขึ้น

‘ลอเรน โธมัส’ นักเศรษฐศาสตร์จาก Glassdoor มองว่า การย้ายงานอาจเป็นวิธีที่รวดเร็วและง่ายกว่าในการเติบโตบน Career path ของตนเอง รวมถึงเรื่องของเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากก็ด้วย

ขณะที่การทำงานในตำแหน่งเดิม องค์กรเดิมเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ได้ค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าตลาด ซึ่งการหางานใหม่ทำให้คนทำงานได้รับอัตราค่าจ้างที่สมน้ำสมเนื้อในทันที

[ Job Hopping ยังเป็น ‘Redflag’ สำหรับบางบริษัท ]

ประวัติการทำงานที่จะถูกคัดออกเป็นอันดับต้นๆ คือคนทำงานที่มีการเปลี่ยนงานบ่อยเกินไป แน่นอนว่า บริษัทเองก็ต้องการร่วมงานกับคนที่มีแนวโน้มจะอยู่กับองค์กรไปนานๆ เพราะการรับสมัครครั้งหนึ่งต้องแลกมาด้วยทรัพยากรหลายอย่างกว่าจะเข้าสู่กระบวนการรับเข้าทำงาน

ในระยะยาว คนทำงานที่มีประวัติการเปลี่ยนงานไปมาจึงมีความเสี่ยงกับการเข้าทำงานครั้งต่อๆ ไป เพราะในช่วงเวลาอันสั้นเหล่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คนคนหนึ่งได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในตำแหน่งและความรับผิดชอบดังกล่าวเลย

การเปลี่ยนงานของ Job Hopping นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับบริษัทใหม่ที่คนทำงานคนนี้จะกระโดดไปที่ใหม่ได้ทุกเมื่อแล้ว ทักษะที่องค์กรคาดหวังว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรจากองค์กรเดิมบ้างก็อาจจะน้อยมากด้วยซ้ำไป

แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า ความเห็นดังกล่าวจะหักล้างการเปลี่ยนย้ายงานในเวลาอันรวดเร็วแต่อย่างใด ก่อนจะ ‘Hopping’ ไปที่อื่น จึงต้องมีการวางแผนการย้ายงานอย่างมีกลยุทธ์เสียก่อน

ข้อควรระวังสำหรับคนทำงานก็คือหากเลือกทำแบบนี้บ่อยๆ สุดท้ายการเปลี่ยนงานทุกปีๆ จะกลายเป็นวงจรอุบาทว์แทน รวมถึงมายด์เซ็ตของคนทำงานเองก็ดูจะไม่เวิร์กสักเท่าไรด้วย

การเปลี่ยนงานใหม่สร้างความตื่นเต้น แปลกใหม่ให้กับเราในช่วงแรกๆ คุณอาจกลายเป็นคนที่เสพติดความหอมหวานในระยะนี้ไป เลือกที่จะกระโดดไปเรื่อยๆ โดยที่เสียโอกาสในการเรียนรู้ ดูดซับทักษะที่โดดเด่นในองค์กรนั้นๆ อย่างเต็มที่

วางแผน ชั่งน้ำหนักจุดแข็ง-จุดอ่อน ทั้งของตัวเองและองค์กรเมื่อมีแผนเปลี่ยนย้ายงานทุกครั้ง เพื่อรีเช็กให้ถี่ถ้วนว่า การเปลี่ยนงานครั้งนี้จะนำไปสู่อะไร ตอบโจทย์ความต้องการของเราหรือไม่ เพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดงานได้จริงๆ หรือเปล่า

ที่มา: https://www.bbc.com/worklife/article/20220720-the-case-for-job-hopping

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า