Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“ผมรู้สึกว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมจบที่ตัวของมันเอง ในแง่ของ ‘ทะเลจร’ นะ เราขายได้มากขึ้น เก็บขยะได้มากขึ้น สื่อสารออกไปได้มากขึ้น แต่ยังมีโจทย์ที่เราแตะๆ ไว้ เช่น เรื่องความเหลื่อมล้ำ จะแก้ปัญหาความยากจนในหมู่บ้านอย่างไรให้ยั่งยืน”

ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ก่อตั้ง ทะเลจร และ Trash Hero Thailand เริ่มสร้างแบรนด์จากความต้องการแก้ไขปัญหาขยะทะเล โดยนำขยะที่อาสาสมัครเก็บมาเปลี่ยนเป็นรองเท้าดีไซน์เก๋ ผ่านมา 5 ปี โจทย์ของเขาและ ‘ทะเลจร’ ขยับสู่การแก้ปัญหาเรื่องใหม่ๆ ที่ท้าทายยิ่งขึ้น

10 เปอร์เซ็นต์ของขยะทะเลเป็นรองเท้า

เรามีอาสาที่เก็บขยะทะเลอย่างสม่ำเสมอ แล้วเราก็แยกขยะเหล่านั้น 10 เปอร์เซ็นต์ของขยะทะเลจะเป็นรองเท้า เราก็พยายามที่จะเอาขยะเหล่านั้นมา หนึ่ง มาใช้ประโยชน์เพิ่มเติมเพราะมันเป็นทรัพยากร สอง เอามาสื่อสารปัญหาขยะทะเล

จริงๆ มันเป็นความบังเอิญ ในเบื้องต้นเราเอารองเท้า (ขยะ) ทำเป็นวัสดุ แต่เราจะต้องเปลี่ยนวัสดุนี้เป็นโปรดักต์ที่เข้าถึงทุกคน ทีนี้มีพี่คนนึงถาม อาจารย์ทำรองเท้าได้ไหม พอเราได้ยินปุ๊บ จากรองเท้ามาเป็นรองเท้า เฮ้ย มันเป๊ะอะ ตอนนั้นเราก็ตัดสินใจแล้ว ทางเทคนิคมันทำได้ แต่ในทางปฏิบัติเดี๋ยวไปหากันทีหลัง เพราะว่ารองเท้ามาเป็นรองเท้าเนี่ย ปังแน่ๆ แต่กว่าจะทำเป็นรองเท้าได้นี่ ก็…รันทดพอสมควร

เริ่มต้นจากรองเท้า 8 คู่ ที่ไม่เหมือนกันเลย

เรามีทีมประกวด One Young World ซึ่งมีเด็กอยู่ 8 คน เราก็ตั้งโจทย์ว่าเราจะทำรองเท้าขายในโปรเจกต์นี้ เขาจะต้องทำแผนการตลาด ทำทุกสิ่งอย่าง เราอยากเห็นว่าเด็กรุ่นใหม่เขาจะทำรองเท้าประมาณไหน แล้วรองเท้าประมาณไหนที่พอจะทำมือได้โดยคนที่ไม่มีความรู้เลย สุดท้ายเราได้รองเท้า 8 คู่แรก ที่ไม่เหมือนกันเลย ไซส์ก็แตกต่างกันหมดมา 8 คู่ เพื่อจะไปพรีเซนต์บนเวที One Young World

ในขณะเดียวกันผมก็ประกาศกับทุกคนว่า ผมจะทำรองเท้าจากขยะทะเล วิธีการของผมก็คือตัดแผ่นเป็นรูปรองเท้า ไปซื้อรองเท้ามาคู่นึงแล้วก็จับแยกเป็นชิ้นๆ แล้วก็มาวางคู่กัน ถ่ายรูปไว้ วันรุ่งขึ้นก็มีสื่อมาขอสัมภาษณ์ เราก็เล่าคอนเซ็ปต์ให้ฟัง ทำให้มี Siam Discovery ติดต่อมา เขาบอกว่าเขาจะซื้อรองเท้าเราไปขายในอีเวนต์ของเขาสั้นๆ เราก็มี 8 คู่นั้นไปวางขาย

ต่อยอดเป็นธุรกิจ ยั่งยืนกว่าทำแคมเปญ

แน่นอนว่าคนไปงานที่ Siam Discovery ก็ใส่รองเท้าไม่ได้ เพราะว่ามันทำไซส์อะไรก็ไม่รู้ แล้วก็มันใช้ไม่ค่อยได้อะ เป็นโมเดลที่แบบทำเอง ทำมั่วๆ อะไรอย่างนี้ เราขายได้ 3 คู่ แต่คนมาเยอะ เราก็เลยรู้ว่าเรามีศักยภาพ

ผมแอนตี้แคมเปญ แอนตี้การสร้างความตระหนักรู้ แอนตี้อีเวนต์ เพราะฉะนั้นเวลาเราคิดงาน เราจะพยายามคิดว่าทำอย่างไรให้มันเป็นความต่อเนื่อง ให้เป็นงานที่ต่อเนื่อง กระบวนการที่จะทำรองเท้า แน่นอนว่ามันต้องใช้เงิน คุณไม่สามารถใช้เงินอย่างต่อเนื่องด้วยการขอทุนไปเรื่อยๆ มันยากเกินไป ผมมองว่าอย่างนั้นนะ คือพอมันต้องใช้เงินอย่างต่อเนื่อง มันก็ต้องหาเงินอย่างต่อเนื่อง พูดง่ายๆ เพราะฉะนั้นการหาเงินอย่างต่อเนื่องมันก็คือการทำธุรกิจ

ตอนนั้นเราเริ่มมีแนวคิดแล้วว่าเราจะต้องหาเงิน เราจะเปิดพรีออเดอร์ เราก็ติดต่อโรงเรียนสอนทำรองเท้าเลยว่า เราต้องการรองเท้าที่เกิดจากวัสดุชิ้นนี้ ทำรองเท้าแบบไหนได้บ้าง ผมเอาหมด มันก็จะมีรองเท้ามา 12 แบบ ผมก็ถ่ายรูปเปิดพรีออเดอร์ 12 แบบ กิจกรรมการตลาดมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีสินค้าใดๆ ทั้งสิ้นให้ขาย

การเกิดขึ้นของ ‘ทะเลจร’ ก็เป็นแบบนี้เลย คือไม่ใช้เงินสักบาท แล้วก็ไม่มีโปรดักต์ใดๆ ทั้งสิ้น เกิดจากเรื่องราวล้วนๆ แล้วคนที่ทำให้ ‘ทะเลจร’ เกิดคือลูกค้าเรากลุ่มแรกที่ซื้อรองเท้า เราใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ในการที่จะรับพรีออเดอร์แล้วเติมพรีออเดอร์เหล่านั้น พอได้เงินมาเราก็เกิดกลุ่มแม่บ้าน ทำให้มีรองเท้าคู่แรกๆ มาขาย

สร้างรายได้เสริมและทักษะให้ชาวบ้าน

เราอยากมองว่า ‘ทะเลจร’ เป็นทางหาเงินทางที่สองของชาวบ้าน ผมไม่อยากให้เขามองว่านี่คือ ‘อาชีพ’ อาชีพมันเหมือนกับว่าเป็นรายได้ทางเดียว ผมอยากให้เขามองว่า หนึ่ง เขาควรจะมีรายได้หลายทาง สอง เขามาเรียนรู้แล้วมีทักษะกลับไป เขาจะเห็นการใช้ทักษะแลกเงิน แล้วจะมีภาพของการว่า เอ่อ ถ้าเขาทำอย่างที่สามเป็น อย่างที่สี่เป็น อย่างที่ห้าเป็น มันก็มีโอกาสหารายได้ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ไปเรื่อยๆ ได้

ออกแบบธุรกิจให้แก้ปัญหาสังคมไปด้วย

ผมรู้สึกว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมมันจบที่ตัวของมันเองในแง่ของ ‘ทะเลจร’ นะ เราสามารถทำได้มากขึ้น ผ่านยอดขาย ผ่านการสื่อสาร มันมีความชัดเจนของมันแล้ว เพราะฉะนั้น ‘ทะเลจร’ จะมีโจทย์ที่เราแตะๆ เอาไว้ ที่ดูเหมือนท้าทายกว่า อย่างเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่องพวกนี้มันยังไม่มีวิธีการแก้ปัญหาที่ชัดเจน ยังไม่มีทางออก การที่เอาเงินมาแจก แป๊บเดียวหมด หรือเอาอาชีพมาให้ อาชีพก็อาจจะเปลี่ยนแปลง ทำยังไงให้มันยั่งยืนในแง่ของการแก้ไขปัญหาความยากจนในหมู่บ้านนั้นๆ

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราโฟกัสเรื่องนี้ค่อนข้างมาก สื่อสารเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ว่ามันมีโจทย์เหล่านี้ที่ธุรกิจควรจะมาลองเล่นดู ควรจะทำธุรกิจให้มันเอื้อกับการแก้ไขปัญหาสังคมเหล่านี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า