Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อีกหนึ่งเสียง สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มีจุดยืนชัดเจนบนหลักการประชาธิปไตย จะให้โอกาสกับพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากสูงสุดจัดตั้งรัฐบาล นั่นหมายถึงหนึ่งเสียงนี้จาก ‘ซากีย์ พิทักษ์คุมพล’ จะโหวตให้ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย

ส.ว.ซากีย์ พูดคุยในหลายประเด็นกับ TODAY LIVE เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 66 ซึ่งทำให้ชัดเจนมากขึ้นว่า โหวตนายกฯ ในปีนี้ เสียงส.ว. 250 คน จะไม่เป็นฉันทามติ เหมือนเมื่อปี 2562 ที่โหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้ง 249 เสียง ยกเว้น นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา คนเดียวที่ใช้สิทธิ งดออกเสียง

“คิดว่า การโหวตนายกฯ ครั้งนี้จะแตกต่างไปจากการโหวตเมื่อปี 2562 เพราะเราต้องเข้าใจว่า สถานะของ ส.ว. ที่เข้ามา ณ ตอนนั้น มันเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านในหลายๆ เรื่อง กระแสของความต่อเนื่องที่ต้องการการปฏิรูปก็ส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ในกลุ่มของ ส.ว. จึงมีฉันทามติร่วมกันว่า ต้องสร้างความต่อเนื่องและความมั่นคง โดยเฉพาะประเด็นของการปฏิรูป ซึ่งเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง ก็เห็นว่า งานปฏิรูปทำไปได้ในระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะมีอำนาจในการโหวตนายกฯ อยู่ แต่เมื่อเสียงที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นฉันทามติของคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ ประชาธิปไตยพูดกันถึงตัวเลขเป็นหลัก ถ้าไม่พูดก็คงดูแปลกไป จึงคิดว่าต้องมายืนอยู่บนหลักการ” 

[เห็นต่างในกลุ่ม ส.ว. ไม่ดูแปลกประหลาด] 

ส.ว.ซากีย์ ยอมรับว่า มีแรงกดดันบ้างจากคนที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของตน แต่ไม่มีแรงกดดันในทางที่ดูแปลกประหลาด ตนมองว่า เป็นปกติ และยังเป็นเหมือนพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนด้วย เพราะทำให้ได้มีโอกาสได้อธิบายเหตุผลว่า ทำไมเราถึงเลือกแบบนี้ ซึ่งเป็นปกติของคนที่รู้จักกันมีถามว่า ทำไมไปให้สัมภาษณ์เช่นนั้น แต่ไม่ได้ถามในเชิงกดดัน เขาอยากรู้ความคิดเห็นของเรามากกว่า

เมื่อให้ประเมินว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ที่จะมี ส.ว. กว่า 60 เสียง โหวตให้ ‘พิธา’ เป็นนายกฯ ทาง ส.ว.ซากีย์ สงวนท่าทีที่จะประเมิน แต่ก็บอกได้ว่า ส.ว. ที่ออกสื่อบ่อย ไม่ได้แทนภาพทั้งหมดของ ส.ว. เพราะมี ส.ว. อีกหลายคนไม่อยากเป็นจุดสนใจของสื่อ เพราะไม่อยากรับแรงกดดัน ซึ่งอาจมีพอสมควรที่มีความเห็นเช่นเดียวกับตน เพราะเท่าที่คุยหลายคน เขาก็มีความรู้สึกว่า เพื่อให้ประเทศมันเดินหน้าต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยหลักคิดว่า ตนเองอาจจะเป็นคนกลุ่มน้อยใน ส.ว. ก็ได้ แต่จะน้อยแค่ไหน ต้องไปรอดูวันโหวต

[ทำไทม์ไลน์บวกเนื้อหา ‘ข้อเสนอ ม.112’ ให้ชัด – เปิดวงเจรจาแบบทางการ]

ส่วนความเป็นไปได้ที่จะได้เสียงจาก ส.ว. มาโหวตให้ ‘พิธา’ เพิ่ม ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย ในเมื่อมีหลายเสียงเห็นตรงกันว่า เรื่องใหญ่เรื่องสำคัญ คือ ‘มาตรา 112’

โดย ‘ซากีย์’ บอกว่า  ส.ว.ส่วนใหญ่ยังมีความเคลือบแคลงใจในหลายประเด็นของพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 112 และเรื่องที่ดูจะล่อแหลมกับความรู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งจุดยืนของตนก็พูดชัดว่า การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องที่ยังต้องให้ความสำคัญอยู่ แม้ว่า ตนจะโหวตให้พรรคที่ได้เสียงข้างมาก แต่การจะแก้ไขอะไรที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอามาพูดคุยในเวทีของสภา

ตนเคยสื่อสารไปแล้วว่า ควรทำตรงนี้ให้ชัด อาจทำให้ ส.ว. บางคน รู้สึกไม่ได้กังวลสักเท่าไหร่ แต่ก็ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ยังรู้สึกกังวลอยู่ เพียงเพราะว่ามันยังไม่ชัดในเรื่องข้อเสนอของพรรคก้าวไกลในประเด็นนี้ และคิดว่า การพูดคุยระหว่างคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ส.ว. รวมถึงประธานวุฒิสภา น่าจะเป็นทางออกที่ดี เพื่อจะทำให้ประเด็นที่สงสัยได้คลี่คลาย

“ทำอะไรที่เป็นจุดล่อแหลมให้ชัดเจน ไม่เสียหายที่จะเดินมาพบ ส.ว. ในลักษณะการเป็นตัวแทน แต่ควรเป็นในลักษณะที่เป็นทางการก่อน เพื่อให้เห็นถึงความต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล คิดว่าเป็นทางออกในการคลี่คลายความไม่ไว้วางใจ…”

ส.ว.ซากีย์ ยังเผยกลยุทธ์จัดการความขัดแย้งว่า ตอนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก่อนมารับตำแหน่ง ส.ว. สอนเรื่องความขัดแย้ง เราเห็นว่า ทุกๆ ความขัดแย้งจบที่โต๊ะเจรจาพูดคุย เราทำงานในพื้นที่ความขัดแย้งต้องทำด้วยความหวัง การเมืองก็เหมือนกัน คงต้องมีความหวังว่า มีความเป็นไปได้ในทุกๆ การเคลื่อนไหวในทางการเมือง มันต้องลองก่อน เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง คิดว่าไม่เสียหายในการพูดคุยกัน

“จะไปแค่ไหน แตะประเด็นอะไรบ้าง ที่คนจำนวนหนึ่งเขารับได้หรือไม่ ตรงนี้เป็นเรื่องที่ต้องนั่งคุยในรายละเอียด คิดว่าการกลับมาที่ระบบรัฐสภาจะทำให้ปัญหาต่างๆ มันคลี่คลายไป ไม่ทำให้การเมืองไปถึงทางตัน ถ้าไปถึงจุดนั้นไม่คิดว่าเป็นผลดีกับใครเลย” ส.ว.ซากีย์ ย้ำถึงทางออกในเรื่องนี้

ติดตามทั้งหมดในคลิปสัมภาษณ์เต็ม ได้ที่นี่ :


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม The World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาออนไลน์แบบ 1:1 ในวันที่ 25 มิ.ย. 2023

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ ทั้งเรื่องสภาพอากาศ รัสเซีย-ยูเครน ความเท่าเทียม ผู้อพยพ และประเด็นอื่นๆ

โดยระบบจะทำการจับคู่คุณกับคนที่มีแนวคิดไม่เหมือนกับคุณ ซึ่งอาจมาจากประเทศใดก็ได้ในโลก เพื่อที่จะได้มีโอกาสพูดคุยกันผ่านทางช่องทางออนไลน์

สำหรับกิจกรรม World Talks จะมีขึ้นในวันที่ 25 มิ.ย. 2023 ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกว่า 5,000 คน จากกว่า 100 ประเทศแล้ว

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite *คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า