Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้หรือไม่? จากเด็กไทยทั้งหมด 14.6 ล้านคน มีเด็กไม่น้อยเติบโตมาโดยไม่มีพ่อแม่ หลากหลายเส้นทางชีวิตที่ถูกประคับประคองด้วยกลไกการฟูมฟักแบบอื่น 

สำนักข่าว TODAY พามาเปิดสถิติกลไกการดูแลเด็กในประเทศไทย ขณะนี้มีสถานที่แบบใดที่โอบอุ้มคุ้มครองเด็กเติบโตและใช้ชีวิตต่อไปได้

เด็กที่ไม่ได้เติบโตใน ‘ครอบครัว’ ตามภาพจำที่มีพ่อแม่ลูกมีอยู่ 2 แนวทาง แบ่งออกเป็น เด็กที่อยู่ในบ้านกับเครือญาติหรือครอบครัวอุปถัมภ์ที่มีอยู่ถึง 3 ล้านคน และเด็กอีก 150,000 คนอยู่ในสถานที่ไม่ใช่บ้าน 

แม้ว่าเด็กที่อยู่ในสถานที่ที่ไม่ใช่บ้านมีจำนวนน้อยก็จริงแต่พวกเขาไม่ได้เติบโตในสภาวะแวดล้อมของครอบครัว ซึ่งงานศึกษาของยูนิเซฟชี้ว่าอาจจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการและการเติบโตของเด็กได้ในหลายๆด้าน

สถานที่เหล่านี้มีอยู่หลายประเภท เช่น สถานสงเคราะห์ บ้านพักเด็ก หอพัก โรงเรียนประจำ ศาสนสถาน โรงเรียนสอนศาสนา และสถานที่ประเภทอื่นๆที่รับเด็กไว้ในการเลี้ยงดูเป็นระยะเวลาหนึ่งเพราะพ่อแม่ไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะเลี้ยงดูลูก 

รายงานระบุว่าสถานที่เหล่านี้มักมีวิธีการเลี้ยงดูที่ต่างจากการเลี้ยงดูแบบครอบครัว เนื่องจากมีผู้ดูแลจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนเด็กและยังมีการเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ทั้งยังมีกิจวัตรประจำวันที่เคร่งครัด เน้นให้การดูแลด้านร่างกายมากกว่าจิตใจ รวมไปถึงตำแหน่งที่ตั้งของสถานรองรับมักอยู่ห่างจากชุมชน อาจจะทำให้ขาดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็ก จึงไม่ได้จำเป็นต่อเด็กทุกคนที่อยู่ในสถานรองรับและในบางครั้งอาจจะต้องพึ่งเงินบริจาคจากองค์กรและบุคคลอื่นๆอีกด้วย 

 ทั้งนี้การเลี้ยงดูในสถานรองรับขนาดใหญ่เป็นเวลานานอาจส่งผลต่อพัฒนาการและการเติบโตของเด็ก เช่น อาจจะเกิดภาวะผูกพันไม่มั่นคง ขาดทักษะในการใช้ชีวิตบางอย่าง รวมถึงไม่มีความสามารถในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง และการขาดทักษะในการอยู่ร่วมกับสังคมเหมือนกับเด็กคนอื่นๆที่อยู่ในครอบครัวและชุมชน โดยผลเสียเหล่านี้พบเห็นได้จากการที่เด็กต้องเข้าไปอยู่ในสถานรองรับขนาดใหญ่ตั้งแต่เล็กๆ  จากการวิจัยพบว่ากรณีที่เด็กถูกทอดทิ้งและต้องเข้าไปอยู่ในสถานรองรับตั้งแต่เกิด ทำให้เด็กขาดการพัฒนาอย่างรุนแรง ซึ่งพบว่าเด็กที่อยู่ในสถานรองรับมีกระบวนการคิดที่น้อยกว่าเด็กที่ไม่เคยอาศัยอยู่ในสถานรองรับเป็นอย่างมาก

ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็กทุกคนคือการเลี้ยงดูแบบครอบครัวไม่ว่าจะเป็นแบบเครือญาติหรือการหาครอบครัวอุปถัมภ์ เด็กส่วนใหญ่ที่ไม่มีพ่อแม่อาศัยอยู่กับเครือญาติคิดเป็นจำนวน 3 ล้านคน

ในจำนวนนี้มีเด็กที่ไม่มีเครือญาติ แต่พอที่จะได้มีบ้านและเลี้ยงดูอย่างครอบครัวมีเพียง 300 คน เนื่องจากในประเทศไทยยังมีครอบครัวอุปถัมภ์อยู่น้อย และไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด

ทั้งนี้ จาก 3 ล้านกว่าคนมีเพียง 5,400 คนเท่านั้นที่ภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณเพื่อให้เด็กได้อยู่กับเครือญาติหรือครอบครัวอุปถัมภ์ 

มีเด็กไร้พ่อแม่มากกว่า 150,000 คนที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับเครือญาติและครอบครัวอุปถัมภ์แต่ต้องอยู่ในสถานรับรองอื่น ที่ไม่ใช่บ้าน 

จากผลการสำรวจของ UNICEF พบว่าเด็กที่อยู่ในสถานรองรับอื่นๆที่ไม่ได้มีลักษณะของบ้าน มีทั้งองค์กรของรัฐและเอกชน อย่าง สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ส่วนใหญ่ก่อตั้งหรือสนับสนุนโดยองค์กรศาสนาคริสต์ คาดว่ามีเด็กที่อยู่ในการเลี้ยงดูเฉลี่ยประมาณ 58,000 คน  ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย 679 แห่ง และในกลุ่มนี้มีสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างน้อย 390 แห่ง ซึ่งส่งผลเสียต่อเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์ที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน โดยผู้ดูแลอาจจะใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดดึงดูดนักท่องเที่ยว อย่างการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร การกุเรื่องจากการนำเสนอข้อมูลเท็จและแต่งเรื่องให้เกินจริง เพื่อดึงดูดอาสาสมัครและขอรับเงินบริจาคจากอาสาสมัคร ซึ่งสถานสงเคราะห์เด็กอาจจะนำรายได้ที่ได้รับไปใช้ในเชิงทุจริตและเงินก้อนนั้นไม่ได้ถึงมือของเด็กๆในสถานสงเคราะห์ 

ทั้งนี้ จำนวนสถานให้บริการยังไม่สอดคล้องต่อความต้องการ เช่น สถานรองรับเหล่านี้กระจุกตัวในภาคเหนือ ขณะที่ภูมิภาคอื่นมีสถานที่รองรับน้อยและเกิดภาวะมีเด็กล้นเกินความสามารถในการรองรับ

นอกจากภาคเอกชนยังมีเด็กที่อยู่ในสถารองรับของภาครัฐ ซึ่งมีจำนวนสูงกว่าเด็กที่อยู่ในสถานรองรับของภาคเอกชนอย่างมากและมีสถานรองรับในสังกัดถึง 109 แห่ง เช่น บ้านพักเด็กชั่วคราวของรัฐที่มีในทุกจังหวัดให้บริการแก่เด็กประมาณ 16,600 คนต่อปี รวมไปถึงสถานพัฒนาและฟื้นฟูของรัฐซึ่งมีเด็กที่อยู่ในความดูแล 4,100 คนต่อปี

นอกจากนี้ยังมีเด็กที่เติบโตภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ในลักษณะของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์และโรงเรียนประจำของรัฐอีกประมาณ 43,000 คน รวมไปถึงเด็กที่เติบโตในสถานที่ที่เป็นศาสนสถานและมีบริบทเกี่ยวข้องกับศาสนา อย่างการบวชเป็นสามเณรในวัดประมาณ 33,510 รูป ซึ่งจำนวนนี้ยังไม่ได้รวมเด็กที่อาศัยอยู่ในวัดโดยไม่ได้บวชเรียน

ทั้งนี้องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF เคยออกข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกระจายความช่วยเหลือให้ทั่วถึงด้วยกัน 3 ประการที่สามารถดำเนินการได้ทันที  ได้แก่ การกำหนดนิยามสถานรองรับในครอบคลุมทุกประเภท การขยายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะภาครัฐที่มีเด็กอยู่ในการเลี้ยงดูพร้อมปรับใช่นโยบายคุ้มครองเด็กและจัดให้มีแผนการดูแลเป็นรายบุคคลเพื่อคืนเด็กสู่ครอบครัวในสถานรองรับทุกประเภท และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้เด็กไร้พ่อแม่ในประเทศไทยได้รับการคุ้มครองในการใช้ชีวิตและเติบโตได้อย่างปลอดภัย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า