Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในระยะเวลาเพียง 4 วัน อธิชาติ บุตรจันทร์ อายุ 11 ขวบจากสกลนครได้รับประสบการณ์ครั้งแรกในชีวิตหลายเรื่อง ทั้งการขึ้นเครื่องบินครั้งแรก มากรุงเทพเป็นครั้งแรก และเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กชอปเป็นครั้งแรก

อธิชาติเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาเยาวชนของยูนิเซฟ หรือ YPAB (UNICEF’s Young People Advisory Board (YPAB) ที่อายุน้อยที่สุดจากทั้งหมด 51 คน  YPAB คือการรวมตัวของตัวแทนเยาวชนจากทั่วประเทศ แต่ละคนมีพื้นฐานครอบครัวและการศึกษาที่แตกต่างกัน แต่มารวมตัวกันและทำงานร่วมกับยูนิเซฟไปด้วยกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย

อธิชาติ บุตรจันทร์ สมาชิกวัย 11 ขวบจากจังหวัดสกลนครกำลังสนุกกับกิจกรรม ‘มาสเตอร์เชฟ’ / ภาพ: ณกลม เขียวจันทร์ และ พัทธดนย์ แก้วเปี้ย

ยูนิเซฟเปิดตัวโครงการ YPAB ครั้งแรกในปี 2564 โดยมุ่งหวังที่จะสร้างพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการวางนโยบาย ไปจนถึงการการทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันและครอบคลุม ซึ่งจะช่วยให้ยูนิเซฟเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เท่าทันกับยุคสมัย และมีประโยชน์ต่อเยาวชนไทยมากขึ้น

อธิชาติและเพื่อน ๆ สมาชิก YPAB รุ่นที่สองได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เพื่อเข้าค่ายเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้นำและนักรณรงค์ ซึ่งจัดโดยยูนิเซฟและ Tact Social Consulting (Tact) เป็นเวลาสามวัน ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2566 ระหว่างเข้าค่าย อธิชาติมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและฝึกทักษะหลายอย่าง เช่น การพูดคุยวางแผน หรือ กิจกรรมมาสเตอร์เชฟและเมื่อค่ายจบลง เขาก็ได้เพื่อนใหม่อีกหลายคน

เหล่าสมาชิก YPAB ปี  2 มีอายุตั้งแต่ 11 – 23 ปีเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาตอนปลายไปจนถึงเพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบ้างเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มคนหลากหลายทางเพศและเด็กพิการพวกเขาเป็นตัวแทนความหลากหลายในทุกมิติของสังคมไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจและสังคมชาติพันธุ์หรือเพศวิถี

แสงสว่าง จองคำ (นั่งติดกับคนยืน) นักเรียนดาราอั้งจากจังหวัดเชียงรายอยากให้มีการจัดกิจกรรมเช่นเดียวกับกิจกรรมของ YPAB ในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ เพื่อสร้างเด็ก ๆ ที่ฉลาดและมั่นใจนับร้อยคนทั่วประเทศ / ภาพ: ณกลม เขียวจันทร์ และ พัทธดนย์ แก้วเปี้ย

ค่ายถูกแบ่งออกเป็นสามช่วง ช่วงแรกคือการเจอกันทางออนไลน์เพื่อทำความรู้จักเบื้องต้นก่อนที่จะมาสู่ช่วงที่สอง คือทำกิจกรรมจริงร่วมกันในกรุงเทพมหานครเป็นเวลาสามวัน และช่วงสุดท้ายคือการประชุมออนไลน์เพื่อติดตามผลและให้คำปรึกษาในโครงการที่น้อง ๆ สนใจ อย่างเช่น การดูแลสุขภาพใจ การศึกษาและการจ้างงาน การยุติความรุนแรงในเด็ก การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

พลอยนภัส เจริญคชฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพัฒนาวัยรุ่นและการมีส่วนร่วม กล่าวชื่นชมสมาชิก YPAB ว่ากลุ่มเยาวชนเหล่านี้ ได้มารวมพลังกับยูนิเซฟเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย พวกเขาให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากต่องานของยูนิเซฟ และยังเป็นตัวแทนของเด็กและเยาวชนที่มาร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา

ความหลากหลายของกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นประโยชน์กว่าที่คิด เมื่อค่ายถูกออกแบบมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนให้คนที่แตกต่างกันสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ และได้มีโอกาสช่วยเหลือกันและกัน เช่น การช่วยเหลือกันและกันและเพื่อนที่พิการ คนที่อายุน้อยกว่า หรือมีประสบการณ์น้อยกว่า

วรฤทัย ชูเสน (ยืน ขวา) กำลังคุยกันด้วยภาษามือกับนลินรัตน์ พรวิวัฒน์สุข (นั่ง) / ภาพ: ณกลม เขียวจันทร์ และ พัทธดนย์ แก้วเปี้ย

แสงสว่าง จองคำ นักเรียนชาติพันธุ์ดาราอั้งจากจังหวัดเชียงใหม่ ให้ความเห็นว่า เวิร์กชอปจะช่วยสร้างพื้นที่ให้กับเด็กทุกคนได้แบ่งปันประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น นำเสนอแนวคิดหรือวิธีแก้ไขปัญหา

หนูเห็นถึงความแตกต่างระหว่างพวกเรา เด็กในเมืองดูเป็นคนมั่นใจ แต่พวกเราที่มาจากหมู่บ้านเหมือนอยู่กันคนละโลกแสงสว่างบอก พร้อมเล่าถึงปมปัญหาที่อยู่ในใจเธอ ในหมู่บ้านที่เธอโตมานั้น ทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานเทศกาลประจำปีของหมู่บ้าน ซึ่งมีการแข่งขันฟุตบอลที่ให้เฉพาะผู้ชายเข้าร่วม

แสงสว่างฝันอยากให้มีกิจกรรมในแบบเดียวกันกับค่าย YPAB จัดขึ้นในทุกพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้นักเรียนที่ขาดโอกาสทั่วประเทศได้เข้าร่วม เพื่อพวกเขาจะได้สร้างความมั่นใจ พัฒนาทักษะและเพิ่มพูนความรู้ได้อย่างเพื่อนนักเรียนในเมืองเวิร์กชอปแบบนี้จะช่วยสร้างเด็กที่ฉลาดและมั่นใจอีกนับร้อยนับพันคนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

แสงสว่างนับเป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชน เดือนสิงหาคมนี้เธอจะเข้าเรียนที่คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง และเมื่อเดือนที่แล้ว เธอได้เข้าร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับคนไร้รัฐไร้สัญชาติซึ่งจัดโดยรัฐบาลไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และยูนิเซฟ  เพื่อแบ่งปันเรื่องราวปัญหาและความท้าทายที่บุคคลกลุ่มนี้ต้องเผชิญ

การโหวต แชร์ไอเดีย และการแสดงความคิดเห็นเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการทำเวิร์กชอปกับร่วมกับยูนิเซฟ ทั้งนี้ YPAB ปีที่สองมีสมาชิกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาไปจนถึงนักศึกษาจบใหม่ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กกลุ่มหลากหลายทางเพศ ตลอดจนเด็กพิการ / ภาพ: ณกลม เขียวจันทร์ และ พัทธดนย์ แก้วเปี้ย

วรฤทัย ชูเสน นักเรียนวัย 15 ปี ที่มีความพิการทางการได้ยินจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นคนหนึ่งที่คาดหวังจะมาเรียนรู้เรื่องการแยกขยะเพื่อนำกลับไปจัดการอาหารเหลือที่โรงเรียน แต่เธอได้ค้นพบอะไรมากกว่าแค่การจัดการขยะจากการเข้าค่ายมันคือพื้นที่ที่เราได้เรียนรู้จากคนอื่น และคนอื่นก็เรียนรู้จากเราด้วยเหมือนกันเธอเล่าและเน้นว่าเวิร์กชอปได้ช่วยให้เด็กที่ไม่พิการและเด็กพิการได้เรียนรู้และเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้นกว่าเดิม

นลินรัตน์ พรวิวัฒน์สุข วัย 17 ปีจากโรงเรียนเศรษฐเสถียร เล่าถึงความท้าทายที่เธอและเพื่อน ๆ ในโรงเรียนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวในการโน้มน้าวผู้บริหารโรงเรียน เรื่องขอผ่อนปรนกฎที่ห้ามใช้กิ๊บติดผมที่มีสีสัน หรือการไม่ค่อยมีกิจกรรมสำหรับนักเรียน เวิร์กชอปครั้งนี้ทำให้นลินรัตน์ได้เรียนรู้เทคนิคความสำคัญของการดึงเพื่อน ๆ ที่เห็นด้วยเข้าร่วมหนูวางแผนไว้ว่าจะคุยกับเพื่อนบางคนแล้วช่วยกันหาทางว่าจะโน้มน้าวทีมผู้บริหารยังไงดี

สมาชิก YPAB จะได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ที่ได้ริเริ่มในช่วงเวิร์กชอป โดย Tact จะคอยติดตามผลและให้คำปรึกษาผ่านการประชุมออนไลน์หลังการเวิร์กชอปเสร็จสิ้นลง ทั้งนี้โครงการน่าตื่นเต้นที่จะน่าเกิดขึ้นในอนาคต คือ นิทรรศการออนไลน์ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความเป็นอยู่ของเด็ก ๆ ที่มุ่งหวังจะสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจให้แก่ผู้เข้าชม

จากการรวมตัวครั้งนี้ สมาชิก YPAB จะร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกสำหรับอนาคตของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย โดยจะมียูนิเซฟคอยสนับสนุนการสร้างพลังให้กับเด็ก ๆ พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน เพื่อให้มั่นใจว่ามีคนรับฟังเสียงของเด็ก ๆ และสิทธิของพวกเขาจะได้รับการคุ้มครอง

เรื่อง: สิรินยา วัฒนสุขชัย

บทความนีเกิดจากความร่วมมือกับ UNICEF Thailand

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า