Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยส่งตัวอย่างจากฟาร์ม-โรคฆ่า ตรวจหาเชื้อ ASF แล้ว อีก 2 วันรู้ผล ยืนยันไม่ปิดบัง

วันที่ 10 ม.ค. 2565 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การควบคุมโรคในสุกร ว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับโรคระบาดในสุกร โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) โดยยกเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2562 ทางกรมปศุสัตว์ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัย เกษตรกร รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศในการป้องกันโรคมาโดยตลอด

โรค ASF เกิดขึ้นมากว่า 100 ปี เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนป้องกัน ซึ่งตั้งแต่เกิดโรคนี้ครั้งแรกในประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2561 เรายังสามารถป้องกันโรคได้ แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน เรื่องการเดินทาง เชื้อไวรัส และ Climate Change ทำให้เสี่ยงที่จะพบโรค ASF

นายกฯ ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ ลงตรวจสอบพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรอย่างหนาแน่น คือ จ.ราชบุรี นครปฐม ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และทางภาคอีสาน เช่น ขอนแก่น โดยเก็บตัวอย่างเลือดสุกร ในฟาร์มและโรคฆ่า

เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา จากการตรวจสอบใน จ.ราชบุรี และ นครปฐม  จำนวน 10 ฟาร์ม เก็บตัวอย่าง 305 ตัวอย่าง โรงฆ่าสัตว์ 2 แห่ง เก็บตัวอย่างมา 5 ตัวอย่าง ขณะนี้รอผลการตรวจจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติว่า ผลจะออกมาอย่างไร คาดว่า ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 2 วัน จะทราบผล และจะชี้แจงให้สาธารณชนทราบอย่างเร็วที่สุด

นอกจากนี้ ได้โทรศัพท์ไปคุยกับทางภาคีเครือข่าย คณบดีคณะสัตวแพทย์ทุกแห่ง รวมทั้ง นายกสัตวแพทย์สภาฯ แล้ว กรณีถ้าพบโรค ASF จะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร สามารถเดินต่อไปได้

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ถ้ามีความเสี่ยง รัฐบาลก็สามารถให้เราทำลายสุกรได้ โดยมีค่าชดเชยในรายย่อย ที่ผ่านมารัฐบาลให้เงินสนับสนุนชดเชยสุกรรายย่อย รวมเป็นเงินทั้งหมด 1,142 ล้านบาทเศษ โดยประมาณอีก 500 ล้านบา รอเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไปถ้าตรวจพบโรคต่อรายงานองค์การสุขภาพสัตว์โลก หรือ โอไออี

ย้ำจุดมุ่งหมายของรัฐบาล เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ประมาณ 2 แสนราย ทำอาชีพต่อไปได้ และเพื่อให้ผู้บริโภค ได้บริโภคเนื้อสุกรในราคาสมเหตุสมผล เพราะตอนนี้ค่าครองชีพสูงขึ้น รัฐบาลสั่งให้กรมปศุสัตว์แก้ไขอย่างเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาว ได้ประสานกระทรวงพาณิชย์ เพื่อจะดำเนินการร่วมกัน เช่น ห้ามส่งสุกรเป็นออกนอกประเทศ ค่าอาหารสัตว์ ตรวจสต๊อก คิดว่าการทำงานนร่วมกันทุกภาคส่วนจะทำให้การควบคุมโรค รวมทั้งให้สุกรเข้ามาเลี้ยงใหม่ เพื่อปรับสมดุลได้รวดเร็วที่สุด

ถ้าเจอฟาร์มเกิดโรคระบาด จะสอบสวนโรค และประกาศเป็นเขตโรคระบาด ตาม พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 สัตวแพทย์ประจำอำเภอจะได้ดำเนินการกำหนดเขตควบคุมโรค และทำลายสัตว์ให้รัศมี โดยในรายย่อยรัฐบาลจะชดเชยให้  และห้ามการเคลื่อนย้าย แต่นอกวง ต้องมีการตรวจก่อนเคลื่อนย้าย และในขณะนี้เท่าที่ทราบ ทางคณะสัตวแพทย์ หลายๆ มหาวิทยาลัย กำลังร่วมมือดำเนินผลิตวัคซีนป้องโรค ASF ซึ่งนายกฯ สั่งให้สนับสนุนเต็มที่

นายสัตวแพทย์สรวิศ  ยืนยันด้วยว่า ภาครัฐ เอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัยมีการประชุมร่วมกันทุกเดือน เดือนที่แล้วช่วงปลายปีก็มีการประชุมกัน ทุกอย่างผ่านการประชุมเราดำเนินการเช่นนี้มาโดยตลอด ไม่สามารถปิดโรคได้ แต่อย่างที่บอก สถานการณ์ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

เพราะเมื่อตอนเกิดโรค ASF ในประเทศจีน เราสามารถจะตรวจพบ เนื้อสุกร กุนเชียง ไส้กรอก แหนม ที่มากับผู้โดยสารหลายร้อยตัวอย่างให้ผลบวกถึง 20 % เพราะฉะนั้นเชื้อมาได้ทุกทิศทุกทาง เรารู้ว่าตรงนี้ต้องเฝ้าระวัง รัฐบาลกำชับให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส

อย่างไรก็ตามไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก เพราะโรคนี้เป็นโรคสัตว์ไม่ติดคน เป็นเฉพาะในสุกร สมมุตินำสุกรที่เป็นโรคไปบริโภค ถ้าทำสุกไม่มีปัญหา เพราะความร้อน 70 องศา สามารถทำลายเชื้อได้ ขอยืนยันอีกครั้งว่า ถ้าตรวจสอบพบโรค จะรีบประกาศโรคตามขั้นตอน

นอกจากนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างให้สัมภาษณ์ชี้แจงปมโรคในสุกร “เรื่องการป้องกันโรคระบาดไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรมอย่างเดียว และกฎหมาย พ.ร.บ.โรคระบาด ไม่ได้ลงโทษอะไรบ้าง มีเกษตรกรบางกลุ่มบางพวกไม่ใช่ทั้งหมด  ที่มีการลักลอบนำสุกร ซึ่งไม่ได้ขออนุญาต เป็นการเสี่ยงมาก เข้าโรงฆ่า กระจายแพร่โรคไป ตรงนี้กรมได้ดำเนินการตรวจจับตลอดมีสถิติตลอด…”

ส่วนเมื่อวานที่มีหนังสือของภาคีฯ เผยแพร่ในสังคมออนไลน์นั้น ตนและรองอธิบดีที่รับผิดชอบ ไม่เคยเห็นหนังสือนี้เลย จึงได้สั่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า หนังสือมาถึงเมื่อไหร่ ขณะนี้อยู่ที่ใคร โดยภายในสัปดาห์นี้จะทราบเรื่อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า