Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อ่างเก็บน้ำหนองหาร จ.สกลนคร

สทนช.ประเมินสถานการณ์น้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ยังคงมีฝนตกหนัก เฝ้าระวังปริมาณน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีความจุมากกว่า 80% ได้แก่หนองหาร เขื่อนสิรินธร เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ ส่วน แม่น้ำโขง เพิ่มขึ้นทุกจังหวัดริมน้ำโขง น้ำล้นตลิ่งบริเวณโขงเจียม จ.อุบลราชธานี สูงกว่าตลิ่ง 1.5 – 2.0 ม. พร้อมเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม  จ.แพร่

 เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ (5ก.ย.62) ศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ยังคงมีฝนตกหนัก ในวันที่ 5 – 10 ก.ย.62 ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ปริมาณฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (มม.) มีฝนตกหนักมากบริเวณ อ.เมือง จ.ตาก (78) อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ (77) อ.ตระการพืชผล (83) อ.โขงเจียม (73) จ.อุบลราชธานี อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ (85) อ.ขลุง จ.จันทบุรี (71) อ.กระบุรี (88) อ.เมือง (80) จ.ระนอง อ.เมือง จ.ชุมพร (101)

 

  • แม่สายหลักน้ำระดับน้ำยังสูงต่อเนื่อง

แม่น้ำสายหลัก ส่วนใหญ่มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น จากปริมาณฝนที่ตกในระยะนี้ คาดระดับน้ำในแม่น้ำยม แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำชี แม่น้ำมูล มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในหลายพื้นที่ ได้แก่ ลำน้ำปาย จ.แม่ฮ่องสอน แม่น้ำยม จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.นครสวรรค์ แม่น้ำน่าน อ.เวียงสา จ.น่าน จ.พิษณุโลก แม่น้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ แม่น้ำเจ้าพระยา อ.ชุมแสง ห้วยหลวง จ.อุดรธานี แม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร ลำน้ำยัง จ.กาฬสินธุ์ จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร แม่น้ำชี จ.ยโสธร ลำเซบาย จ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี แม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี ส่วน ลำน้ำเข็ก อ.วังทอง แม่น้ำแควน้อย มีแนวโน้มลดลง แม่น้ำโขง เพิ่มขึ้นทุกจังหวัดริมน้ำโขง และสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งบริเวณโขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่าจะสูงกว่าตลิ่ง 1.5 – 2.0 ม. ในวันที่ 6 ก.ย.62

 

ส่วนปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ มีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 48,276 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 59% แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ต้องเฝ้าระวังหนองหาร (118%) สิรินธร (83%) ศรีนครินทร์ (81%) และ วชิราลงกรณ (81%)  เฝ้าระวังน้ำน้อย 12 แห่ง โดยมีแนวโน้มปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 32 แห่ง ซึ่งถึงปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลลงแหล่งน้ำรวม 15,953 ล้าน ลบ.ม. ระบายออกรวม 12,100 ล้าน ลบ.ม. แหล่งน้ำขนาดกลาง เฝ้าระวังน้ำน้อย 81 แห่ง มีแนวโน้มปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น 103 แห่ง แหล่งน้ำที่เสี่ยง น้ำมากกว่าความจุ 81 แห่ง ได้แก่ เหนือ 4 แห่ง ตอน. 74 แห่ง ตะวันออก 2 แห่ง ใต้ 1 แห่ง

 

คุณภาพน้ำ ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่าค่ามาตรฐาน บริเวณ แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำนครชัยศรี

เจ้าพระยาระบายน้ำตามแผน ส่วนชี-มูล ปรับแผนการระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนสิรินธร

ลุ่มเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก : ระบายน้ำ 2.49 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การ 3,959 ล้าน ลบ.ม.(22%) และเก็บน้ำสำรอง 3,563 ล้าน ลบ.ม. ช่วยชะลอน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 750 ลบ.ม.ต่อ วินาที และมีการรับน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก รวม 514 ลบ.ม.ต่อ วินาที

 

ลุ่มน้ำชี- มูล 8 เขื่อนหลัก : เขื่อนอุบลรัตน์ ลดการระบายน้ำเหลือวันละ 0.2 ล้าน ลบ.ม. จากเดิมวันละ 0.5 ล้าน ลบ.ม. เพื่อชะลอปริมาณน้ำจากลำน้ำพองที่ไหลลงไปสบทบแม่น้ำชีเหนือเขื่อนมหาสารคาม จนกว่าสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ

เขื่อนสิรินธร (กฟผ.) เพิ่มการระบายน้ำวันละ 16.0 ล้าน ลบ.ม. (ผ่านทางระบายน้ำล้น (Spillway) 6.0 ล้าน ลบ.ม.  ผ่านช่องทางปกติ 10 ล้าน ลบ.ม. โดยไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ริมน้ำมูลและแม่น้ำโขง

เฝ้าระวังน้ำหลาก-ดินโคนถล่ม แจ้ง เตรียมพร้อม จ.แพร่ (7 หมู่บ้าน)

พื้นที่ประกาศให้ความช่วยเหลืออุทกภัย 5 จ. (จ.ขอนแก่น ยโสธร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และ จ.ร้อยเอ็ด)

สทนช. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยง โดย ศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ ออกประกาศ ฉบับที่ 7/2562 เรื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำสูงสุด (URC) ซึ่งได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่า URC โดยแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนสิรินธร หนองหาร เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนปราณบุรี และที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ เขื่อนแม่จาง ส่วนแหล่งน้ำขนาดกลาง 103 แห่ง (ภาคเหนือ 8 แห่ง ภาค ตอน. 83 แห่ง ภาคตะวันออก 10 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความเหมาะสมของการระบายน้ำในแหล่งน้ำ โดยมิให้ส่งผลกระทบกับพื้นที่ท้ายแหล่งน้ำ และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบให้รับทราบต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า