Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คำว่า ‘ธนาคารเงา’ ปรากฎบนหน้าข่าวการเงินอยู่หลายครั้ง หลังเกิดวิกฤตกองทรัสต์ในจีน ซึ่งทำหน้าที่เป็น ‘ธนาคารเงา’ ส่อแววล้มละลาย ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ในมือเฉียด 5 ล้านล้านบาท

ว่าแต่ ‘ธนาคารเงา’ คืออะไร ทำไมถึงเรียกว่าธนาคารเงา TODAY Bizview ชวนไปหาคำตอบ

[ เข้าใจคอนเซ็ปต์ธนาคารเงา ]

ธนาคารเงา (Shadow Bank) คือตัวกลางที่ทำหน้าที่คล้ายกับธนาคาร โดยรับฝากเงินจากลูกค้าไปปล่อยกู้ในรูปแบบของตราสารหนี้ (หุ้นกู้) หรือตราสารทุน (หุ้น) และให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร

ในฝั่งของการระดมทุน ธนาคารเงาเหมาะกับกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงบริการของธนาคารอย่างเพียงพอ หรือกลุ่มคนที่เข้าถึงบริการของธนาคาร แต่เป็นการเข้าถึงด้วยต้นทุนที่สูง ก็สามารถมาระดมเงินทุนจากธนาคารเงาด้วยต้นทุนต่ำกว่า

อีกข้อแตกต่างสำคัญ คือ ธนาคารเงา ไม่ถูกกำกับดูแลจากหน่วยงานกำกับดูแลเหมือนกับธนาคารทั่วไป ดังนั้น ธนาคารเงาจึงเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงและอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบการเงินได้

ที่เรียกว่าธนาคารเงานั้น เพราะผู้ให้บริการเหล่านี้ไม่ใช่ธนาคารจริงๆ แต่ทำตัวเหมือนแบงก์เท่านั้น ยกตัวอย่างกองทรัสต์สัญชาติจีนที่ปรากฏอยู่ในข่าวตอนนี้ เป็นต้น

[ ยุคเฟื่องฟูของธนาคารเงา ]

‘บุรินทร์ อดุลวัฒนะ’ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เผยว่า ธนาคารเงาถือเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมในจีน เนื่องจากธนาคารปกติส่วนใหญ่เป็นธนาคารของภาครัฐ ซึ่งกว่า 80% ปล่อยกู้ให้องค์กรรัฐวิสาหกิจ

นอกจากนี้ ธนาคารทั่วไปยังถูกกำกับดูแลจากรัฐบาลอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการกดดอกเบี้ยเงินฝาก การกดดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ ซึ่งไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ส่งผลให้ภาคเอกชนและธุรกิจ SMEs หันมาทำธุรกิจธนาคารกันเอง เกิดเป็น Shadow Bank ขึ้นมา

เมื่อ Shadow Bank ไม่ถูกกำกับดูแล ส่งผลให้ดอกเบี้ยเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารปกติอาจอาจอยู่ที่ 1% แต่ธนาคารเงาสามารถสนนดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่ 4% เป็นต้น ส่งผลให้ประชาชนต่างหันมาใช้บริการ

แม้ว่ารัฐบาลจะมีการออกมาเตือนความเสี่ยงว่าธนาคารเงานั้น ไม่ใช่ธนาคาร แต่ประชาชนก็ไม่สนใจ ยกตัวอย่างผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น Alipay กับ WeChat Pay ก็มีธุรกิจธนาคารเงาภายใต้การจัดการ

[ ธนาคารเงาในจีนส่อแววล้ม ]

เมื่อไม่ถูกกำกับก็ย่อมมีความเสี่ยง ซึ่งล่าสุดกองทรัสต์ของกลุ่มการเงิน Zhongzhi Enterprise Group Co ที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารเงา กำลังมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ ภายหลังไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้นักลงทุนได้ตามเวลา

ปัญหาของธนาคารเงาในจีนคือ ออกโปรดักต์เงินากไม่สอดคล้องกับโปรดักต์เงินกู้ กล่าวคือ ออกโปรดักต์เงินฝากระยะสั้น แต่นำไปปล่อยกู้โครงการระยะยาว อย่างโครงการอสังหาริมทรัพย์

เบื้องต้นคาดการณ์มูลค่าความเสียหาย 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 100 ล้านล้านบาท) หรือประมาณ 4% ของมูลค่าเศรษฐกิจจีนที่ 78 ล้านล้านเหรียญ (ราว 2,800 ล้านบาท)

แม้จะมีความคาดหวังว่า Shadow Bank ที่ปล่อยกู้ให้รัฐบาลท้องถิ่น (Local Government Financing Vehicles: LGFV) ซึ่งมีมูลค่าตลาดประมาณ 9 ล้านล้านเหรียญ (ราว 300 ล้านล้านบาท) จะได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของภาครัฐก็ตาม

แต่อีกกว่า 3 ล้านล้านเหรียญที่เป็นธนาคารเงาเอกชน ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่ฝากเงิน

[ ผลกระทบต่อประเทศไทย ]

จากวิกฤตธนาคารในสหรัฐก็ดี และล่าสุดวิกฤตธนาคารเงาในจีน แต่ภาพธุรกิจธนาคารในไทยกลับแตกต่างออกไป เพราะธนาคารส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงได้ เป็นไปตามกลไกตลาด และมีฐานทุนที่ค่อนข้างสูง

แต่ในฝั่งการลงทุน แน่นอนว่าถูกกระทบอย่างแน่นอน ทั้งราคาของกองทุนหุ้นจีนที่ปรับลง รวมถึงเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่อาจลดน้ำหนักหุ้นจีนและภูมิภาค ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย อาจทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น

เมื่อถามว่า วิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในระยะยาวหรือไม่ บุรินทร์มองว่า ยังไม่ใช่ เพราะจีนมีปัญหาที่เป็นดินพอกหางหมูอย่างวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก็ยังไม่จบดี และล่าสุดยังมีวิกฤตธนาคารเงาเข้ามาอีก

โดยแนะนำว่า จังหวะที่ลงทุนได้คือ รัฐบาลจีนต้องออกมาตรการหรือนโยบายช่วยเหลือให้ชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุน

ที่มา:

  • https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_05Jun2014.html
  • www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=53056&filename=The_Secretariat
  • www.scbeic.com/th/detail/product/892
  • www.bloomberg.com/news/articles/2023-08-15/china-s-138-billion-shadow-bank-spirals-at-terrible-time-for-xi

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า