Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“งานทุกงานมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่ชาลเลนจ์ที่คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ก็คือ ปัญหาที่เกิดขึ้น ความเบื่อหน่าย ความทุกข์ใจทั้งหมดนี้ เป็นเพียงเรื่องชั่วครั้งชั่วคราวหรือจะอยู่กับคุณตลอดไป นั่นคือคำถามที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ เมื่อเริ่มเกิดความรู้สึกเกลียดงานที่ทำอยู่”

นี่คือคำถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพในบอสตัน จาก Career Strategies เธอมองว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้สำรวจความต้องการของตัวเองมากพอ เมื่อเกิดปัญหาใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับการทำงาน เรามักเลือกที่จะหาทางตรงดิ่งออกมาทันที โดยไม่ได้ตรวจสอบความผิดพลาดระหว่างทางที่เกิดขึ้น

ทำให้เกิดวงจรเดิมๆ ซ้ำๆ ได้ นั่นคือ เริ่มไม่ชอบงานที่ทำ เกลียดงาน เปลี่ยนงานทันที และวนกลับมาในลูปเดิมใหม่อีกครั้ง

หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังเกิดความรู้สึกนี้อยู่ TODAY Bizview จะชวนคุณค่อยๆ ไล่เรียงมวลความรู้สึกนี้ เพื่อให้ได้คำตอบที่ดีและใช่ที่สุด

เมื่อเกลียดงานที่ทำอยู่ต้องเดินออกมาเลยไหม หางานใหม่ทันทีเลยหรือเปล่า หรือต้องอดทนเพื่อให้ดูเป็นคนถึกงานในสายตาคนอื่นๆ กันแน่

[ ไม่มีงานที่ดีที่สุด มีแต่งานที่ ‘ใช่ที่สุด’ ]

งานบางที่เข้าออกเวลาไหนก็ได้ ‘flexible time’ ตลอด แต่ก็มาพร้อมกับความยืดหยุ่นที่ดึกๆ แล้วก็ยังมีประชุม

งานบางแห่งเสนอเงินเดือนที่ดีมากแต่ก็ต้องเดินทางไกล เผื่อเวลาเพื่อไปเผชิญกับความจอแจบนท้องถนน

หรือบางครั้งงานนั้นก็ให้คุณอยู่ในตำแหน่งหน้าที่เดิมติดต่อกันหลายปี ทว่า ก็ให้คำมั่นสัญญากับคุณเหมือนกันว่า หากอยู่ไปอีกสักพัก จะได้รับความก้าวหน้า เติบโตก้าวกระโดดอย่างแน่นอน

ข้อดีและข้อเสียของงานมักมาพร้อมกับเงื่อนไขบางอย่าง ที่ขึ้นอยู่กับว่าเราพร้อมรับข้อจำกัดเหล่านั้นหรือไม่ ชั่งน้ำหนักดูว่า การยอมรับจุดอ่อนเหล่านั้นคุ้มค่ากับก้าวย่างที่ดีในหน้าที่การงานของคุณหรือเปล่า

ถามตัวเองว่า ต้องการอะไรจากงานนี้ และคุณยังจะได้มันมาอีกไหมถ้ายังอยู่ต่อไป เทียบเคียงเป้าหมายของบริษัทและแผนระยะยาวของตนเองให้ชัด

แต่หากผ่านไปเพียงไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์แล้วอยากออกมาทันที โดยไม่ได้ไตร่ตรองเรื่องพวกนี้ให้ดีเสียก่อน ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำว่า ไม่ต้องคิดถึงตัวบริษัทหรือองค์กรก็ได้ แต่ให้โฟกัสที่ตัวเองว่า การเลือกออกมาโดยที่ไม่ได้คิดวางแผนระยะยาวให้ดีเสียก่อน อาจส่งผลกระทบกับเส้นทางอาชีพคุณหลังจากนี้ไปอีกไกลก็ได้

ถ้ากำลังมองหางานที่ดีที่สุด สิ่งนั้นอาจไม่มีจริงบนโลก ตามหาเท่าไรก็คงไม่เจอ แต่งานแบบไหนที่ใช่และตอบโจทย์กับแผนระยะยาวมากที่สุด นี่คือสิ่งที่ต้องปักหมุดไว้ทุกครั้งเมื่อตัดสินใจเปลี่ยนงาน

[ บริหารคอนเนกชันในมือก่อนเดินออกมา และยอมรับความเสี่ยงให้ได้ ]

หากทบทวนแล้วพบว่า งานที่ทำไม่แมตช์กับเส้นทางที่วางไว้จริงๆ อันดับแรก ให้คิดถึงเพื่อนร่วมงานเก่าๆ และลองพิจารณาดูว่า ที่ผ่านมา มีคนสนิทที่สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกันได้มากแค่ไหน

การมีเครือข่ายคอนเนกชันระหว่างเพื่อนร่วมงานสายเดียวกัน จะช่วยให้การมองหาองค์กรใหม่ไม่ยากเย็นนัก

ซึ่งการมีคอนเนกชันแบบนี้ไม่เท่ากับเส้นสาย แต่คือการมีกลุ่มก้อน วงสนทนาเพื่อนร่วมงานสายอาชีพเดียวกัน ที่ต่างคนต่างรู้จักนิสัยใจคอ รับรู้ระดับความสามารถของแต่ละคนดีว่า คนคนนี้สามารถทำประโยชน์อะไรให้กับองค์กร มีความสามารถที่จับตา-โดดเด่นอย่างไร

การมีคอนเนกชันที่ดีจะช่วยย่นระยะเวลาการหางานใหม่ได้ รวมถึงยังมีความเป็นไปได้ที่จะได้งานที่ตรงกับความชอบ ความสามารถ

ที่สำคัญ อย่าลืมที่จะเปิดบทสนทนาเกี่ยวกับบริษัทที่คุณกำลังมองหากับเพื่อนอย่างละมุนละม่อมด้วย ‘small talk’ เล็กๆ เนียนๆ จะช่วยให้คุณเจอกับดีเทลที่อาจจะใช้วิธีการถามตรงๆ ไม่ได้

อย่างเช่นชีวิตการทำงานของเพื่อนคุณเป็นยังไงบ้าง มีความสุขดีไหม เติบโตก้าวหน้าอย่างที่ต้องการหรือเปล่า ทิศทางเป้าหมายของบริษัทเป็นอย่างไร มีส่วนไหนที่ศักยภาพของคุณจะเข้าไปเติมเต็มส่วนที่ขาดให้กับที่แห่งนั้นได้บ้าง เป็นต้น

ทั้งนี้ อย่าลืมว่า การเดินออกมาทุกครั้งคุณแบกรับต้นทุนความเสี่ยงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องเจอกับคำถามสัมภาษณ์งานเกี่ยวกับการลาออก ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว นายจ้างส่วนใหญ่เข้าใจดีว่า ตลอดเส้นทางการทำงานของคนคนหนึ่งไม่มีใครที่จะราบรื่นไปตลอด คุณอาจตัดสินใจพลาดครั้งสองครั้งก็เป็นไปได้

แต่ถ้าในเรซูเม่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนงานทุกๆ 4-5 เดือน โดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนมารองรับ แน่นอนว่า คุณต้องเตรียมเจอกับคำถามโดยละเอียดที่ต้องเตรียมคำตอบมาล่วงหน้าดีๆ

เพราะแม้จะมีความสามารถครบถ้วนแค่ไหน แต่ถ้าบริษัทมองว่า คุณมีแนวโน้มที่จะเป็น ‘job hopper’ ละก็ องค์กรเองก็คงได้ไม่คุ้มเสียเช่นกัน

และความเสี่ยงอีกแบบหนึ่ง ก็คือไม่มีใครรู้ว่างานที่เปลี่ยนจะเป็นงานที่ใช่ที่สุดจริงหรือเปล่า แม้ว่าองค์กรนั้นๆ จะมีคนรู้จักทำอยู่ แต่มุมมองของปัจเจกบุคคลก็ย่อมแตกต่างกันได้

พิจารณาเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และมุมมองขององค์กรให้ถี่ถ้วน จากนั้น ค่อยๆ ย่อส่วนจากภาพกว้างลงมาที่ระดับหน่วยย่อยๆ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ สามารถบอกได้ว่า องค์กรนี้เข้าใกล้คำว่า ‘ใช่’ ของเรามากที่สุดหรือยัง

ที่มา:

https://hbr.org/2014/06/what-to-do-if-you-already-hate-your-new-job

https://hbr.org/2020/03/give-it-time-before-deciding-you-hate-your-new-job?ab=at_art_art_1x4_s01

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า