Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์กรไวล์ดเอดเปิดแคมเปญ “ฉลองไม่ฉลาม” ติดป้ายทั่วกรุงเทพฯ กระตุกความคิดคนให้งดทานหูฉลาม

โดยผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณ Em District สามารถติดตามสื่อรณรงค์ล่าสุดนี้ที่จอด้านหน้าศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม และเอ็มควอเทียร์ ไปจนถึงกลางเดือนสิงหาคม

ทุกๆ ปี มีฉลามมากถึง 100 ล้านตัวถูกฆ่า และในจํานวนนี้ ครีบจากฉลามมากถึง 73 ล้านตัวถูกนําไปทําเป็นซุปหูฉลาม หรือเมนูอื่นๆ ผู้บริโภคจํานวนมากไม่ทราบถึงการกระทําอันโหดร้ายเบื้องหลังเมนูหูฉลาม ที่ฉลามจะถูกลากขึ้นมาเพื่อเฉือนครีบของมันออกทั้งหมด ก่อนจะถูกโยนทิ้งกลับลงสู่ท้องทะเล ซึ่งทําให้ฉลามเหล่านั้นต้องจมน้ําตายทั้งเป็น เนื่องจากสูญเสียครีบอันเป็นอวัยวะสําคัญในการดํารงชีวิต

ผลสํารวจความต้องการบริโภคหูฉลามในประเทศไทย พ.ศ 2560 ขององค์กรไวลด์เอดที่พบว่า คนไทยในเขตเมืองมากกว่าครึ่งเคยบริโภคหูฉลาม และมากกว่า 60% ต้องการบริโภคหูฉลามในอนาคต โดยผู้บริโภคทานหูฉลามบ่อยครั้งที่สุดที่งานรื่นเริงต่างๆ นั่นคือ งานแต่งงาน (72%) งานรวมญาติ (61%) และงานเลี้ยงธุรกิจ (47%) ซึ่งเป็นที่มาของสื่อรณรงค์ชุดใหม่ เดินหน้าโครงการรณรงค์ #ฉลองไม่ฉลาม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

สื่อรณรงค์ล่าสุดที่ผลิตโดยองค์กรไวล์ดเอด มีเป้าหมายเพื่อบอกว่า การจัดงานแต่งงาน ถึอเป็นการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ของชีวิต มีเรื่องให้ต้องเลือก ต้องตัดสินใจมากมาย และสิ่งที่เลือกมาเป็นส่วนหนึ่งของงาน อาจมีผลกระทบตามมาอย่างที่เราคาดไม่ถึง การเสิร์ฟหูฉลามในวันสําคัญ คือการเลือกที่แย่ที่สุด เพราะฉลาม คือสัตว์ที่มีความสําคัญต่อระบบนิเวศ ที่เปรียบเหมือนเสือในป่า พวกมันกําลังเผชิญกับภัยคุกคามที่เกิดจากความต้องการบริโภค และการประมงเกินขนาด

ประเทศไทยนิยมทานหูฉลามมากที่สุดที่หนึ่งในโลก โดยเฉพาะในงานสังสรรค์

โดยการรณรงค์นี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง องค์กรไวล์ดเอด และ บริษัทแพลน บี โดยมีบริษัท BBDO Bangkok ร่วมผลิตสื่อ

14 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวัน Shark Awareness Day หรือ วันรู้จักฉลาม

  • ถือเป็นโอกาสสําคัญของปี ที่จะสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับฉลาม ให้กับคนทั่วไปได้รับรู้ถึงความสําคัญของฉลามที่มีต่อระบบนิเวศ และภัยคุกคามประชากรฉลามทั่วโลกในขณะนี้
  • ฉลามทําหน้าที่รักษาความสมดุลของท้องทะเล เหมือนเสือในป่า โดยทําหน้าที่ควบคุมประชากรและพฤติกรรมสัตว์ทะเล ควบคุมโรคระบาด มีการศึกษาพบว่า ในบริเวณที่ประชากรฉลามหายไป มีส่วนสัมพันธ์ต่อการลดลงของประชากรปลาหลายชนิด และความเสื่อมโทรมของปะการัง
  • ในแต่ละปีฉลามราว 100 ล้านตัวถูกฆ่า ในจํานวนนี้ครีบจากฉลาม 73 ล้านตัว ถูกนําไปทําเป็นซุปหูฉลาม การล่าฉลามเพื่อตัดครีบ เป็นการปฏิบัติที่ไม่ยั่งยืนและโหดร้าย โดยฉลามถูกลากขึ้นมาเพื่อเฉือนครีบออกทั้งหมด ก่อนจะถูกโยนทิ้งกลับลงสู่ทะเล ซึ่งทําให้ฉลามต้องจมน้ําตายทั้งเป็น เนื่องจากสูญเสียครีบอันเป็นอวัยวะสําคัญในการดํารงชีวิต
  • 1 ใน 4 ของสายพันธุ์ฉลามกําลังถูกคุกคามและเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ โดยภัยคุกคามหลักเกิดจากการทําประมงเกินขนาด
  • การประมงเชิงพาณิชย์แบบที่ตั้งใจจับ และไม่ได้ตั้งใจ หรือที่เป็นผลพลอยได้จากการทําประมง ถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อฉลาม รวมถึงการติดเครื่องมือประมงที่สูญหาย หรือถูกทิ้ง การติดพันขยะในทะเลตามร่างกาย และปริมาณไมโครพลาสติกที่เพิ่มขึ้นในทะเล
  • ฉลามเติบโตช้า และสายพันธุ์ขนาดใหญ่จะขยายพันธุ์ช้า ใช้เวลาตั้งครรภ์เฉลี่ย 1-3 ปี ดังนั้นการเพิ่มจํานวนประชากรของฉลามหลายสายพันธุ์จึงทําได้ไม่เร็วเมื่อเทียบกับการประมงเกินขนาด
  • ผู้บริโภคจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ครีบฉลามที่บริโภคมาจากสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์และมาจากการล่าฉลามแบบยั่งยืนหรือไม่ เนื่องจากต้องตรวจดีเอ็นเอเท่านั้น
  • ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นประเทศผู้นําเข้าหูฉลามรายใหญ่สุดนอกทวีปเอเชีย ผ่านกฎหมายห้ามการนําเข้า และส่งออกครีบฉลาม เมื่อเดือนมิถุนายน 2562

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า