SHARE

คัดลอกแล้ว

เชื่อว่าเวลาเราจะไปซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตามร้านค้าต่างๆ เราคงไม่พูดชื่อเต็มของสินค้าประเภทนี้ แต่หลายๆ กลับเรียกว่า ‘มาม่า’ ซึ่งเป็นแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่อยู่คู่คนไทยมานานจนกลายเป็นคำติดปาก

และด้วยความเป็นตำนานของ ‘มาม่า’ แน่นอนว่าคนที่จะมาบริหารก็ย่อมมีความกดดันไม่น้อย และนั่นคือสิ่งที่พันธ์ พะเนียงเวทย์ ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มารับช่วงต่อในการสืบทอดสินค้าคู่คนไทยอย่างมาม่าได้ล้ม ลุก และพบเจอเรื่องราว บทเรียน ประสบการณ์มาอย่างโชกโชน กลายเป็นบทเรียนในวัย 49 ปี ที่เชื่อว่าการสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืน ไม่ได้อยู่ที่ความเก่งของตัวเขาอย่างเดียว แต่อยู่ที่การวางแผนว่าวันหนึ่งหากตัวเขาเองหายไป บริษัทจะยังยืนหยัดอยู่ต่อไปในในอนาคตอีกนาน

ชวนไปอ่าน 8 บทเรียนของ พันธ์ พะเนียงเวทย์ จากคนหัวขบถ สู่ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เติบโต และยอมรับหลายๆ เรื่องในชีวิตได้มากขึ้น

#เพราะเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ

แน่นอนว่าในฐานะของคนที่ต้องขึ้นมาทำงานบริหารย่อมต้องมีความกดดัน บทเรียนแรกจากพันธ์จึงเป็นเรื่องการทำงานกับความคาดหวัง พันธ์ยกตัวอย่างในช่วงเวลาที่ไปทำกิจกรรมตีกอล์ฟ เขาเคยคาดหวังว่าเขาต้องตีให้ได้ดีที่สุด ทุกช็อตต้องเพอร์เฟ็กต์ ทำให้บางช่วงที่เล่นไม่ดี จึงรู้สึกหงุดหงิด แต่เขาได้เรียนรู้ว่าข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะผิดเยอะ หรือผิดน้อย และที่สำคัญคือมันสามารถแก้ไขได้ 

#พลาดไม่ได้แปลว่าแพ้

ต่อจากบทเรียนด้านบน พันธ์มองเห็นว่าในเมื่อเราเป็นคนพาตัวเองเข้าไปหาอุปสรรคนั้น การมัวแต่คิดถึงความผิดพลาดตลอดเวลาจนท้อ อาจไม่ได้ช่วยทำให้อะไรดีขึ้น พันธ์เทียบกับการตีกอล์ฟว่าเป้าหมายอาจเหมือนรูเล็กๆ ที่รอลูกกอล์ฟหล่นลงไป การพาตัวเองไปสู่เป้าหมายก็เหมือนการพาลูกกอล์ฟไป ซึ่งบางครั้งอาจไม่เหมือนกันสิ่งที่เราคิด แต่สิ่งสำคัญคือเราจะพามันไปถูกทางยังไง ก็ต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ ถ้าเราแก้ได้ โอกาสชนะก็มีเสมอ พันธ์มองว่าการทำผิดพลาด ไม่ได้แปลว่าเราแพ้ แต่การไม่ยอมแก้ไขต่างหากคือสิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆ แย่ลง

#เป็นตัวของตัวเองโดยไม่สร้างปัญหาให้คนอื่น

มองย้อนกลับไปในสมัยอดีต พันธ์เห็นถึงความเป็นขบถของตัวเองที่ไม่แคร์ใคร และอาจสร้างความไม่พอใจให้หลายๆ คนที่เขาเคยคุยด้วย แต่เมื่อเติบโตขึ้น เขาเห็นว่าความเป็นขบถ ความพยายามเป็นตัวของตัวเอง ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องมีขอบเขต คือตัวตนนั้นสร้างประโยชน์ให้ตัวเราหรือคนอื่นแค่ไหน เพราะถ้าไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อใคร คนอื่นก็ไม่จำเป็นต้องมายอมตัวตนเราเช่นกัน และนั่นอาจนำไปสู่ความขัดแย้งอื่นๆ แต่แน่นอนว่าพันธ์เองก็เห็นความความขบถก็มีประโยชน์เมื่อใช้ให้ถูกเวลา เช่นการที่เขาเอามาใช้กับการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบในบริษัท หรือทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น

#รู้จักบริหารเวลาได้เร็วก็มีความสุขได้เร็วขึ้น

หนึ่งในบทเรียนของพันธ์คือเรื่องการบริหารเวลา หากย้อนเวลากลับไปบอกตัวเองในวัยเด็ก พันธ์อยากให้ตัวเองได้เรียนรู้บางเรื่องให้เร็วขึ้น และใช้เวลากับบางสิ่งที่ไร้สาระ ไม่เกิดประโยชน์ให้น้อยลง เรื่องนี้พันธ์ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องการต้องพักผ่อนน้อย หรือการไปทำกิจกรรมผ่อนคลาย พันธ์มองว่าการบริหารเวลาดี คือการทำให้ชีวิตได้บาลานซ์ พันธ์เชื่อว่าทุกคนมีเวลาเท่ากัน แต่สร้างผลลัพท์ออกมาได้ไม่เท่ากัน คนที่ใช้เวลานอนน้อยกว่า ไม่ได้แปลว่าทำผลงานออกมาได้เยอะกว่า พันธ์เชื่อว่าถ้าได้รู้จักเรียนรู้บริหารเวลาได้เร็ว ชีวิตก็จะมีความสุขได้เร็ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลากับคนที่เรารักมากขึ้น และใช้เวลากับคนที่เราไม่ชอบให้น้อยลง

#ทำไปก่อนแบบไม่ต้องสนเครดิต

หนึ่งในสิ่งที่พันธ์ได้เรียนรู้จากพ่อแม่คือการทำไปก่อน พันธ์ยกประโยคที่เห็นตั้งแต่เด็กจากโต๊ะของคุณพ่อว่า “ไม่มีอะไรที่คนเราทำไม่ได้ หรือไปไม่ถึง ถ้าไม่มัวแต่สนว่าทำไปแล้วได้เครดิตอะไร” พันธ์มองว่าหากเรามัวแต่นึกว่าทำไปแล้วใครได้หน้า ใครได้เครดิต เราก็จะเลือกทำหรือไม่ทำเพราะเรายึดอยู่กับเครดิตนั้น ท้ายที่สุดแล้วการมองเห็นเป้าหมายก็สำคัญกว่าการกระทำที่เราเลือก และที่สำคัญคือเขาเชื่อว่าการกระทำในวันนี้ จะส่งผลต่ออนาคตในที่สุด

#ความสามัคคีนำไปสู่ความสำเร็จ

ในฐานะที่มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน พันธ์เองต้องผ่านการถกเถียงพูดคุยกับพี่น้องมาไม่น้อย และแน่นอนว่าย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นปกติของการทำงาน แต่สิ่งที่คุณพ่อของพันธ์ส่งต่อวิธีคิดมาเสมอคือเรื่องความสามัคคี พันธ์เองก็เอามาปรับใช้กับการบริหารคนเช่นกัน เขาเชื่อว่าหนทางสำเร็จมีได้หลายทาง แต่ถ้าไม่สามัคคี ต่างคนต่างจะไปตามทางของตัวเอง ไม่มีทางที่จะไปถึงความสำเร็จนั้น แน่นอนว่าความสามัคคีหมายถึงการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเคลียร์ความรู้สึกกันอย่างตรงไปตรงมา โดยพันธ์ย้ำว่าไม่จำเป็นต้องทะเลาะให้สาธารณชนเห็น แต่เคลียร์กันในพื้นที่ส่วนตัวให้จบ ก็จะทำให้การทำงาน หรือการบริหารงานง่ายขึ้น เขายังเชื่ออีกว่าเรื่องความรู้สึกต้องมาก่อนเรื่องงาน เมื่อเกิดปัญหาที่กระทบความรู้สึก พันธ์มองว่าเป็นสิ่งที่ต้องแก้ ก่อนจะไปทำงานกันต่อ เพื่อให้ทุกอย่างราบรื่น

#เป็นผู้นำด้านการตลาด คิดให้ต่าง คิดให้เร็ว

ในฐานะแบรนด์ที่อยู่คนไทยมานาน พันธ์ถอดบทเรียนออกมาและมองเห็นว่าการทำอะไรเป็นสิ่งแรกของตลาดให้ได้เป็นเรื่องสำคัญ หรือหากจะต้องทำสินค้าตามคนอื่น ก็ต้องคิดให้ต่างออกไปให้ได้ และต้องทำให้เร็วพอ

#สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้คนมีความสุข

สิ่งสุดท้ายที่พันธ์มองเห็นจากการก้าวมาสู่การเป็นผู้บริหารที่จะทำให้คนทำงานมีความสุข คือการไว้ใจและให้อำนาจคนมาช่วยตัดสินใจ พันธ์เชื่อว่าไม่มีใครคิดได้ถูกใจเราตั้งแต่วันแรก แต่พวกเขาควรได้มีพื้นที่เรียนรู้ ทดลอง เพราะบางทีทีมงานหรือลูกน้องอาจคิดได้ดีกว่าตัวเราด้วยซ้ำ ในส่วนของผู้บริหารมีส่วนช่วยเสริมผ่านการให้คำชมเชย หรือสร้างพื้นที่ที่ทำให้คนทำงานรู้สึกแฟร์ ก็จะทำให้พนักงานมีความสุข ทำงานได้ดีขึ้นได้เช่นกัน

ติดตามสัมภาษณ์เต็มๆ : https://youtu.be/0D-pocDR4Vg?si=TktV6Ot0k8t01lUS

#WISDOMxพันธ์พะเนียงเวทย์
#AIMHOUR
#สำนักข่าวทูเดย์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า