Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประธานกกต. ย้ำประชาชนที่ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงนอกนอกเขตเลือกตั้งในวันที่ 17 มี.ค. ให้ออกมาใช้สิทธิ์ ไม่ใช่นั้น 24 มี.ค. จะไปเลือกไม่ได้ พร้อมแสดงความมั่นใจขั้นตอนเก็บรักษาบัตรที่ลงคะแนนแล้วรัดกุม “ยากต่อการทุจริต”

วันที่ 16 มี.ค. นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวภายหลังตรวจความพร้อมหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง โรงเรียนบ้านบางกะปิ ว่า การเตรียมความพร้อมเรียบร้อยดี มีการกำชับขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่และกกต.ประจำหน่วยเลือกตั้ง ให้บริหารจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

สำหรับการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถใช้บัตรประชาชน รวมถึงบัตรประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรที่ออกโดยราชการซึ่งมีเลขประจำตัวประชาชนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงคะแนนเท่านั้นก็สามารถใช้สิทธิ์ได้ ส่วนจำนวนบัตรเลือกตั้ง จากการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง กว่า 2.6 ล้านคน กกต.ได้มีการพิมพ์บัตรสำรองกรณีต้องแก้ไขประมาณ 4-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

พร้อมให้ความมั่นใจ เรื่องการเก็บรักษาบัตรเลือกตั้งหลังการลงคะแนนแล้วเพื่อเก็บไว้นับคะแนนพร้อมกันในวันที่ 24 มี.ค. “ถ้าผ่านขั้นตอนการทำงานของเรา คิดว่ามันเอาไปทำทุจริตไม่ได้ จะดูแลอย่างดี ทราบว่าเป็นประเด็นที่เป็นห่วง” นายอิทธิพร กล่าว

ประธานกกต. ยังได้ขอความร่วมมือประชาชนที่ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ให้เดินทางใช้สิทธิ์ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยเปิดให้ลงคะแนนตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา จนถึงเวลา 17 นาฬิกา ซึ่งถ้าลงทะเบียนไว้แล้วไม่มาใช้สิทธิ์ ก็จะไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. และย้ำว่า บัตรเลือกตั้งมีบัตรเดียว นอกจากนี้ยังย้ำการห้ามผู้สมัครหาเสียงบริเวณที่มีการเปิดให้ลงคะแนนและบริเวณใกล้เคียงด้วย

ขณะที่ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต. ได้อธิบายขั้นตอนการเก็บรักษาบัตรเลือกตั้งจากการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ดังนี้

1.ไปรษณีย์มารับ “หีบบัตรเลือกตั้ง” จากหน่วยเลือกตั้ง หลังการลงคะแนนไปที่ศูนย์ จำนวน 77 ศูนย์ทั่วประเทศ (จังหวัดละ 1 ศูนย์)

2. คณะกรรมการ (เจ้าหน้าที่กกต. และเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์) ทำการคัดแยกบัตรไปแต่ละเขต (350 เขต)

3. ไปรษณีย์นำบัตรเลือกตั้งที่คัดแยกแล้ว นำส่งไปแต่ละเขต (350 เขต)

4.การขนหีบบัตรที่ลงคะแนนแล้ว มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษา โดยใช้รถตำรวจทางหลวงนำไปส่งตำรวจภูธรแต่ละเขตรับต่อไปยังสถานที่เก็บบัตรในแต่ละเขต (350 เขต)

5. สถานที่เก็บรักษาบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว คือสถานีตำรวจ เป็นสถานที่มั่นคงปลอดภัย มีกล้องวงจรปิดและคณะกรรมการดูแล ตัวแทนผู้สมัครหรือพรรคการเมืองสามารถไปเฝ้าดูแลบัตรเลือกตั้งได้

“แต่ละขั้นตอน มีขั้นมีตอนอยู่แล้ว 350 เขต 350 แบบ ตัวเองก็คิดอยู่เหมือนกัน โดยอาศัยอาชีพเดิม (ตำรวจ) เป็นหลักว่า ถ้าจะโกงทำยังไง ใครคิดออกก็บอกด้วยแล้วกันนะครับ เพราะยิ่งบัตรเลือกตั้ง 350 แบบก็ค่อนข้างจะยาก แล้วแต่ละขั้นตอนมีคณะกรรมการ ซึ่งอย่างที่เห็นชัดเจน เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าไป เพราะเป็นคณะกรรมการประจำหน่วยที่มาจากหลากหลาย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ครู ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่กกต. ด้วย” พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า