Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม.เตรียมแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ควบคุมก่อสร้างหลังเกิดอุบัติเหตุเครนถล่มย่านพระราม 3 พบไม่มีการขออนุญาต ล่าสุดคนงานที่ติดอยู่บนยอดเครนเสียชีวิตแล้ว หลังกู้ภัยช่วยลงมาได้สำเร็จ

วันที่ 24 ม.ค. 2562 ความคืบหน้าเหตุเครนก่อสร้างย่านถนนพระราม 3 พังถล่มลงมา เป็นเหตุทำให้คนงานก่อสร้างที่อยู่บนเครนจำนวน 8 คน ถูกแรงกระชากของเครนพัดตกลงมากับพื้นเสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บ 3 คน วานนี้เจ้าหน้าที่ระดมกำลังเข้าช่วยเหลือคนงานก่อสร้างที่ประสบเหตุนำส่งโรงพยาบาล ขณะที่ยังมีคนงานอีก 1 คน ติดอยู่บนยอดเครน เจ้าหน้าที่ต้องใช้เชือกโรยตัวเพื่อชักรอก นำร่างของคนงานผู้บาดเจ็บลงมาได้สำเร็จ หลังติดอยู่บนเครนก่อสร้างคอนโดมิเนียม บริเวณถนนพระราม 3 ซอย 45 ถล่มพังลงมา โดยใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง แต่ก็พบว่าคนงานดังกล่าวเสียชีวิตแล้ว เพราะถูกแรงกระชากของเครน เหวี่ยงไปกระทบกับของแข็ง ทำให้เสียเลือดมากและเสียชีวิต

รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุเครนถล่ม พบว่ามีการต่อเครนขึ้นมาเองในช่วงเช้า ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่ามีวิศวกรควบคุมระหว่างดำเนินการหรือไม่ ซึ่งตามกฎหมายจะต้องมีวิศวกรควบคุม โดยเตรียมเรียกผู้รับผิดชอบเข้าให้ข้อมูล ขณะเกิดเหตุมีความพยายามที่จะเพิ่มความสูงของเครน ซึ่งระหว่างการต่อคาดว่า ตัวถ่วงน้ำหนักเกิดการกระทบกระทั่งและทำให้เครนหัก เมื่อหักทำให้ปลายเครนเหวี่ยงไปถูกเครนอีกตัวหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ปลายด้านหน้าหักอยู่

ด้านนายจักรพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เตรียมแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ควบคุมเครนก่อสร้าง เนื่องจากไม่มีการขออนุญาตกับสำนักงานโยธาฯ ในการติดตั้งเครน แม้จะมีการขออนุญาตก่อสร้างถูกต้อง ส่วนสาเหตุที่เครนหักพังลงมาคาดว่าน่าจะเกิดจากการติดตั้งและทดสอบระดับความสูงของเครน จนเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เครนส่วนที่ต่อเติมเพิ่มหักลงมา โดยล่าสุดได้ให้สำนักงานเขตยานนาวา ออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง พร้อมรอให้หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบสาเหตุอย่างละเอียดอีกครั้ง

ขณะที่พล.ต.ท.สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 13 นาฬิกา เจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุเครนก่อสร้างของอาคารที่มีความสูงประมาณตึก 10 ชั้น หักครึ่งลงระหว่างที่มีคนงาน 8 คน กำลังปฎิบัติงานอยู่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บสาหัส 3 คน ผู้เสียชีวิตทั้งหมดเป็นคนไทย ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบางส่วนเป็นแรงงานข้ามชาติ ที่มีใบอนุญาตทำงานถูกต้อง ส่วนการแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องรอให้ตัวแทนของกรุงเทพมหานคร นำหลักฐานเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยตำรวจขอช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ และประสานครอบครัวผู้เสียชีวิตในการช่วยเหลือต่อไป

จากการตรวจสอบสถิติอุบัติเหตุเครนถล่มใจกลางกรุงตั้งแต่ปี 2560 – 2562 พบว่า ในกรุงเทพมหานครเกิดเหตุการณ์ใหญ่ถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเดือน เม.ย.60 เกิดเหตุการณ์เครนถล่มบริเวณโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ย่านดอนเมืองส่งผลให้มีคนงานก่อสร้างเสียชีวิต 3 คน ครั้งที่2 วันที่ 30 ส.ค.61 เกิดเหตุเครนขนาดใหญ่ที่ติดตั้งบนอาคาร 5 ชั้น ในพื้นที่ก่อสร้างย่านพระราม 9 ล้มลงมาทับคนงานเสียชีวิต 1 คน และครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 5 คน และบาดเจ็บถึง 3 คน

ขอบคุณภาพจากเพจ คณะอนุกรรมการวิศวกรรมยกหิ้วและปั้นจั่นไทย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า