Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ติดตามการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน หลังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ทำหนังสือถึงทางการอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ระบุความต้องการตัว “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีหมายจับหลบหนีคดีจำนำข้าว

เอพี รายงานเมื่อวันที่ 1 ส.ค.ว่า สำนักงานอัยการแห่งอังกฤษ ในกรุงลอนดอน ได้ตอบคำถามของสำนักข่าวเอพีถึงกรณีที่ทางการไทยได้ยื่นคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาประเทศไทยเพื่อรับโทษตามคำพิพากษา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตว่า ยังไม่ยืนยัน หรือปฏิเสธเรื่องการร้องขอส่งตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ จนกว่าบุคคลดังกล่าวจะถูกจับกุม

มีรายงานข่าวด้วยว่า ขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ออกจากประเทศอังกฤษ ไปยังนครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์แล้ว

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ถึงการที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหราชอาณาจักร ส่งจดหมายถึงกระทรวงการต่างประเทศ สหราชอาณาจักร เพื่อขอตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์กลับมาประเทศไทย ในฐานะเป็นผู้ร้ายข้ามแดนว่า ตนไม่ทราบรายละเอียด โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ และกระทรวงการต่างประเทศเพิ่งทราบรายละเอียดในภายหลัง ส่วนทางประเทศอังกฤษจะว่าอย่างไร เป็นเรื่องของเขา ไม่ได้เน้นย้ำเรื่องใดเป็นพิเศษ

ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดกระทรวงการต่างประเทศ จึงดำเนินการเองโดยอ้างสนธิสัญญา แทนที่จะเป็นเรื่องของตำรวจหรืออัยการ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นข้อเรียกร้องจากทางอังกฤษ ถือว่าเป็นการทำไปโดยได้รับการทาบทาม แต่สำนักตำรวจแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการ โดยส่งเรื่องไปก่อนหน้านั้นแล้ว ทางการอังกฤษจึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยย้ำไปอีกครั้งในลักษณะเป็นการขอความร่วมมือ ทั้งนี้ สนธิสัญญาระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรแม้จะทำมานานแล้ว ก็ยังใช้ได้ แต่ไม่แน่ใจว่า จะครอบคลุมไปถึงคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์หรือไม่

เมื่อถามย้ำว่า ทางการอังกฤษจะต้องไปตีความว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า แน่นอนปกติเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปว่า จะไม่ส่งคดีที่เป็นเรื่องการเมือง และเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษยชนด้วย

( ภาพล่าสุดจากอินสตาแกรม yingluck_shinfc )

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน กรณีประเทศไทย กับอังกฤษ

อ.ทัศนา พฤติการกิจ อาจารย์คณะบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น ได้เขียนถึง การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตอนหนึ่งว่า กรณีไทยกับอังกฤษ ได้มีกฎหมายกำหนดวิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไว้เป็นการเฉพาะแล้ว หลักการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทย กับอังกฤษ ตามสัญญาว่าด้วยส่งผู้ร้ายข้ามแดนในระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ รศ.130 (ปี 1911) นั้น

มีหลักการสำคัญที่จะต้องพิจารณา คือ

  1. ผู้ร้ายนั้น (จำเลย หรือผู้ต้องหา) เป็นบุคคลที่ถูกขอให้ส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดน
  2. ความผิดที่ร้องขอไปดำเนินคดีนั้น สามารถลงโทษได้ทั้งสองประเทศ ซึ่งปัจจุบันมี 31 ข้อหา ตามที่ได้บัญญัติไว้ในข้อ 2 ของสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นต้นว่า โทษฆ่าคนตายโดยเจตนา, โทษฉ้อโกงโดยเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจในการดูแลทรัพย์สิน และโทษอย่างอื่นๆ ตามที่ทั้งสองประเทศจะได้พิจารณาเห็นสมควรว่า จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กันหรือไม่ก็ได้
  3. ไม่เป็นการพิจารณาคดีเพื่อการลงโทษซ้ำซ้อน
  4. ไม่เป็นความผิดเกี่ยวกับการเมือง
  5. คดีที่ร้องขอไม่ขาดอายุความ

ในข้อเขียนดังกล่าว ผู้เขียนยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า กรณีที่ประเทศไทยร้องขอให้ประเทศอังกฤษส่งผู้ร้ายข้ามแดนมายังประเทศไทย แม้ผู้ร้ายจะเป็นคนที่มีสัญชาติไทยเองก็ตาม แต่การส่งผู้ร้ายก็เป็นไปโดยยากลำบาก โดยยกตัวอย่าง กรณีการร้องขอให้ประเทศอังกฤษส่งตัว นายปิ่น จักกะพาก อดีตผู้บริหาร บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ มาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งเป็นคดีมีผลมาจากความล้มเหลวธุรกิจการเงินในบริษัทเอกธนกิจ (Fin One) ในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ที่ประสบภาวะวิกฤติในกลางปี พ.ศ.2540

ทั้งนี้ สนธิสัญญาฉบับนี้ แม้จะทำขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ในสมัยที่ประเทศมีการปกครองระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ก็ตาม แต่การบังคับใช้สนธิสัญญาฉบับนี้ ยังมีผลอยู่จนถึงปัจจุบัน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอมรับขอตัว “ยิ่งลักษณ์” จากอังกฤษ-ไม่ยืนยันได้ตัวหรือไม่

ย้อนรอย! ก่อนข่าวสะพัดครั้งใหม่ “ยิ่งลักษณ์ ได้วีซ่าอังกฤษแล้ว”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า