Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – กสทช. เร่งผลักดันกฎหมาย เปิดช่องให้ผู้ถือครองใบอนุญาตประกอบธุรกิจทีวีดิจิทัลปัจจุบัน สามารถเปลี่ยนมือได้ หวังบรรเทาผลกระทบสถานการณ์รายได้สื่อทีวีดิจิทัล

ในเวทีเสวนา “ทางรอดอุตสาหกรรมสื่อไทยในยุคดิจิทัล” ของผู้บริหารระดับสูง สถาบันอิศรา นายฐากร ตัณฑสิทธิ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า  ปัญหาทีวีดิจิทัลเกิดจากในการประมูลเทคโนโลยีในปี 2556 เมื่อมีจำนวนช่องมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการคาดว่า จะทำรายได้อย่างมาก

แต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีโซเชียลมีเดียเข้ามา ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อรายได้ของสื่อทีวีลดลง

กสทช.จึงต้องเสนอให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ออกมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหา

ทั้งนี้ กสทช.พยายามจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหา ทั้งทีวีดิจิทัลและโทรคมนาคม โดยมองว่าการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน กสทช.ควรกำกับดูแลน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันเอง ทั้งทีวีดิจิทัลและด้านโทรคมนาคม

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท.

กสทช.จึงเตรียมแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ใบอนุญาตสามารถเปลี่ยนมือได้ เพราะอายุใบอนุญาตยังเหลืออีก 11 ปี แทนการคืนใบอนุญาต และจะได้ไม่ต้องขอให้ออกมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาอีก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา

ส่วนการประมูลวิทยุดิจิทัลจะเดินหน้าต่อหรือไม่ กสทช.จะคำนึงว่า ธุรกิจจะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ และขอให้ทีวีดิจิทัลปรับตัวก่อน จึงขยายระยะเวลาออกไปอีก 5 ปี เพราะหากมีวิทยุเพิ่มสองพันกว่าสถานี ก็จะส่งผลต่อทีวีดิจิทัล

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท. กล่าวว่า แม้เนื้อหาจะเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ขึ้นอยู่กับการนำเสนอ หากถูกใจสื่อสังคมออนไลน์ ก็จะช่วยให้เนื้อหาได้รับความนิยม

ขณะเดียวกัน เมื่อมีทีวีดิจิทัลทำให้บุคคลากรเพิ่มขึ้น ตอนประมูลเจ้าของไม่ควรประมูลในราคาสูง จากการคำนวณที่ผิดพลาด และกฎหมายที่ลักลั่น

หลังจากนี้ ทางรอดของแต่ละสถานีคือ การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การกระจายความเสี่ยงไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ สื่อสารมวลชนต้องปรับตัว และปรับกระบวนทัศน์ ก็จะทำให้ธุรกิจรุ่งเรืองได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า