Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปี 2562 โครงการย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท ขับเคลื่อนจากการศึกษาสู่การปฏิบัติ ผลักดันกล้วยน้ำไทสู่ย่านนวัตกรรม พร้อมสนับสนุนด้านนวัตกรรม-เทคโนโลยีดิจิทัลของสตาร์ทอัพ  

โครงการ Kluynamthai Innovative Industries District (KIID) เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เพื่อพัฒนาย่านกล้วยน้ำไท ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมโยงกลุ่มธุรกิจใหม่บริเวณถนนพระราม 4 กับถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ โดยการปฏิรูปฟื้นฟูพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าแห่งนี้ให้ก้าวสู่การเป็นย่านนวัตกรรม เพื่อที่จะดึงดูดกลุ่มนักลงทุนและผู้ประกอบการรายใหม่ (Start-up) เข้าร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมบนฐานอุตสาหกรรมเดิมของย่านกล้วยน้ำไท โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม

ในปี 2562 โครงการย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท จึงได้ขับเคลื่อนจากการศึกษาสู่การปฏิบัติ และมีเครือข่ายร่วมอุดมการณ์ที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาย่านพัฒนาเมือง จนนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการในการผลักดันโครงการนี้สู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมในปีถัดๆ ไป ซึ่งในปัจจุบันย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไทมีเพื่อนบ้านมากมาย อาทิ

– อุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่ เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย, ไทยทีวีสีช่อง 3 และ Bosch Thailand กับการผลักดันให้เกิดนวัตกรที่เชื่อมโยงเหนียวแน่นกับธุรกิจของย่าน

– ชุมชนคลองเตย กับประเด็นคนเก่งที่ถูกมองข้าม

– ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม กับประเด็นการส่งเสริมการผลิตต้นแบบนวัตกรรม

– Co Working Space และ Maker Space ภายในย่าน กับพื้นที่ส่งเสริม Start-up

– บริษัท แมคโนเลีย จำกัด กับการพัฒนาห้องเรียนนวัตกรรมเพื่อการวางแผนเมือง

– ท้องฟ้าจำลอง กับประเด็น edupolis

– สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย กับการสร้างย่านที่ปลอดอาชญากรรม

– สถาบันคลังสมองแห่งชาติและมหาวิทยาลัยต่างๆ กับบทบาททางวิชาการที่มีต่อการพัฒนาเมือง

– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับการเรียนรู้ข้ามมหาวิทยาลัยบนฐานของโจทย์จริงในการวิจัยและออกแบบ

นอกจากนั้นแล้ว กระบวนการทำงานใน 2 ปีที่ผ่านมา ยังก่อให้เกิดความร่วมมือภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพเอง โดยการทำงานร่วมกันจาก 4 คณะวิชา ได้แก่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ รวมถึงการสนับสนุนจากอาจารย์และบุคลากรกว่า 20 ท่าน นักศึกษากว่า 500 คน อีกทั้งยังเป็นการบูรณาการจากวิชาในระดับปริญญาโท 7 วิชา วิชาในระดับปริญญาตรี 10 วิชา ซึ่งนอกจากการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาผ่านการลงมือทำจริง นักศึกษายังได้เบี้ยเลี้ยง ได้เพื่อน ได้เรียนรู้จากครูนอกห้องเรียน และที่สำคัญได้ใช้ทักษะวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาสังคมไปพร้อมๆ กัน

โดยล่าสุด ทางโครงการได้จัดงาน KiiD EXPO 2019 ขึ้น เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล้วยน้ำไท นอกจากมีนิทรรศการสร้างสรรค์ย่านนวัตกรรมแล้ว ยังมีกิจกรรมเปลี่ยนกล้วยน้ำไทให้กลายเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม ได้แก่ การแสดงผลงานและออกร้านของสตาร์ทอัพ, กิจกรรมคุยสานฝัน Smart City, กิจกรรมสร้างนวัตกรรมใหม่ผ่านมุมมองของผู้ร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงความคิดสร้างสรรค์ การกำหนดปัญหาและแนวทางแก้ไข เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรม Workshop กับผู้มีประสบการณ์ด้าน Logistic และ E-commerce

ทั้งนี้ การจะเพิ่มนวัตกรรมให้มากขึ้นในย่านได้นั้น ต้องประเมินถึงศักยภาพของระบบนิเวศที่สามารถส่งเสริมการก่อเกิดนวัตกรรมในพื้นที่ และเข้าใจในระบบนิเวศนวัตกรรม ในปี 2561 โครงการจึงเริ่มจากการสำรวจระบบนิเวศนวัตกรรมของย่านผ่านสินทรัพย์ 3 ด้านในขอบเขต 7.2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วย

  1. สินทรัพย์เชิงกายภาพ พบว่า ย่านตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่มีพื้นที่ว่างและอาคารร้างรอการพัฒนา มีพื้นที่นันทนาการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี และมีพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยและสำนักงานให้เช่าในราคาที่สามารถจ่ายไหวสำหรับสตาร์ทอัพ
  2. สินทรัพย์เครือข่าย พบว่า สถาบันการศึกษาและหน่วยวิจัยต่างๆ มีความพร้อมทำหน้าที่บ่มเพาะนวัตกรและสร้างต้นแบบนวัตกรรม ส่วนเครือข่ายด้านอุตสาหกรรมในพื้นที่เผยให้เห็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนจากระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมหนักเป็นอุตสาหกรรมนวัตกรรม และสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ธนาคาร พร้อมทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมนักลงทุน เป็นต้น
  3. สินทรัพย์เศรษฐกิจ พบว่า ย่านกล้วยน้ำไทเป็นพื้นที่ใช้งานแบบผสม ที่เหมาะสมกับผู้เริ่มต้นธุรกิจนวัตกรรมในการมาใช้ชีวิต ทำงาน อยู่อาศัย เรียนรู้ และนันทนาการ

การสำรวจระบบนิเวศนวัตกรรมผ่านสินทรัพย์ทั้ง 3 ด้าน นำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาย่าน แต่เนื่องจากสตาร์ทอัพและนวัตกรยังคงมีจำนวนน้อย การเพิ่มจำนวนธุรกิจกลุ่มนี้จึงเป็นประเด็นท้าทายสำคัญในการผลักดันย่านกล้วยน้ำไทสู่ความเป็นย่านนวัตกรรม

สำหรับการพัฒนาทางกายภาพในแผน 5 ปี ทางโครงการได้มีแนวทางการสร้างทางเชื่อมต่อภายในย่าน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ระหว่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพและพื้นที่ศูนย์วิจัยต่างๆ นั้น ถูกแยกจากกันด้วยถนนขนาดใหญ่บริเวณถนนกล้วยน้ำไท ไม่มีพื้นที่กิจกรรมนันทนาการและพื้นที่พาณิชยกรรมที่เหมาะสมกับรูปแบบการอุปโภคบริโภคของบุคลากรในย่าน โดยโครงการนี้จะเชื่อมต่อพื้นที่ศูนย์กลางของย่านเข้ากับพื้นที่ส่วนอื่นๆ ที่จะพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมกิจกรรมการเดินเท้าของกลุ่มประชากรภายในย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท

แนวทางในการพัฒนาได้กำหนดโครงการนำร่อง คือ การสร้างความเชื่อมโยงกับพื้นที่ซึ่งมีความหนาแน่นสูง ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว ของย่านบนถนนสุขุมวิท ดึงความสนใจจากกลุ่มนักลงทุนและนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ ผ่านระบบขนส่งมวลชน BTS สถานีเอกมัยเข้าสู่ innovation hub ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ บนถนนพระราม 4 ที่วางบทบาทในการเป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนานวัตกรรมและการบ่มเพาะเชิงธุรกิจในระดับภูมิภาค และเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ริมแม่น้ำบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่มีแผนในการพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว และนันทนาการของเมือง ตลอดจนการข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปสู่พื้นที่สีเขียวของสวนสาธารณะนครเขื่อนขันธ์ ย่านบางกระเจ้า อันจะเป็นที่พักผ่อนใหม่ของประชากรในเขตเมือง

และดังที่กล่าวในตอนต้นว่า โครงการย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพื้นที่ ทั้งในระดับย่านและระดับเมือง ด้วยความตั้งใจในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงอุตสาหกรรมในพื้นที่เข้ากันกับการสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของย่านโดยไม่ละทิ้งผู้ใด

คงต้องรอดูการพัฒนาต่างๆ ที่จะเติบโตขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และร่วมเป็นกำลังใจให้กับโครงการดีๆ อย่างนี้ต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า