Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ยกเลิกสอบแข่งขันเข้า ป.1 คือ หนึ่งในสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.วันนี้ (24 ต.ค. 61) ด้วยเหตุผลว่า ช่วงวัย 0-6 ขวบ เป็นช่วงที่สำคัญของชีวิต หากไม่มีพัฒนาการที่เหมาะสม จะส่งผลต่อพัฒนาการในอนาคต

ก่อนหน้านี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ สนช.ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ เพราะเกรงว่าจะกระทบกับพัฒนาการของเด็กที่มีเป้าหมายพิเศษ แต่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษายังคงยืนยันในประเด็นนี้

ภาพเด็กตัวเล็กๆ ที่พ่อแม่-ผู้ปกครอง พาไปตระเวนสอบแข่งขันเข้า ป.1 โรงเรียนสาธิตชื่อดังในแต่ละปี ที่มีเด็กนับพัน แต่โรงเรียนสามารถรับได้เพียงหลักร้อย ทำให้หลายฝ่ายกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพัฒนาการของเด็ก เพราะก่อนสอบแข่งขัน เด็กเหล่านี้ต้องผ่านการติวเข้มมาเป็นปี

ส่งผลให้ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่เสนอเข้า ครม.วันนี้ โดยคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กำหนดให้การห้ามสอบแข่งขันในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ เป็นหนึ่งในสาระสำคัญ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงถึง 5 แสนบาท

ก่อนหน้านี้สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจผลกระทบจากการสอบแข่งขันเข้า ป.1 ซึ่งพบว่าผู้ปกครองร้อยละ 25 เตรียมบุตรหลานเพื่อสอบเข้าป.1 ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ ร้อยละ 22 เตรียมมากกว่า 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นว่า การสอบแข่งขันเข้า ป.1 ส่งผลลบต่อพัฒนาการเด็ก ซึ่งเป็นการลงพื้นที่สำรวจช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมที่ผ่านมา

งานวิจัยชิ้นนี้ มีการสำรวจแนวทางที่เหมาะสมในการคัดเลือกเด็ก ป.1 ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่า ควรใช้การประเมินพัฒนาการของเด็กตามวัย รับเด็กบ้านใกล้ จับสลากสัมภาษณ์เด็ก หรือพ่อแม่ หรือใช้หลายวิธีประกอบกัน แทนการสอบแข่งขัน

ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา หรือ กอปศ.เสนอเข้า ครม.วันนี้ นอกจากพยายามปกป้องเด็กปฐมวัยให้ได้รับความคุ้มครอง ผ่านการห้ามสอบคัดเลือกในระดับปฐมวัย ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับชั้น ป.2 ยังกำหนดให้ต้องมีหน่วยงานใหม่ขึ้นมารับผิดชอบการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อประหยัดงบประมาณ

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะอนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สนช.ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอยกเลิกสอบแข่งขันเข้า ป.1 ด้วยเหตุผลว่า อาจกระทบกับพัฒนาการของเด็กที่มีเป้าหมายพิเศษ หรือเด็กในโครงการพิเศษ และไม่เห็นด้วยกับการตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อบูรณาการงานด้านพัฒนาเด็กปฐมวัย เพราะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน แต่ กอปศ.ยังยืนยันหลักการเดิม ทำให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องใช้เวลากว่า 5 เดือนก่อนเสนอเข้า ครม.วันนี้ หลังคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2560 เห็นชอบตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

 

(ภาพประกอบบางส่วนจาก pixabay, sgsiamedunews)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า