Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

วันที่ 8 พ.ค. รายการ Workpoint Today คุยกับ 3 นักคิดนักวิชาการถึง New Normal และ Next Normal หลังโควิด ประกอบด้วย รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม, รศ.ดร.วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง อดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายพรรคอนาคตใหม่ และ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ นักเศรษฐศาสตร์และ CEO บ.Siametrics Consulting จำกัด

เศรษฐกิจของความไว้วางใจและการปรับตัวทีละสเต็ป

ดร.ชัชชาติ มองถึงโลกหลังโควิดว่า ด้านเศรษฐกิจ Trust Economy หรือ เศรษฐกิจของความไว้วางใจ จะเป็นยุทธศาสตร์หลัก เราเข้าสู่ Digital Eoconomy เข้าสู่ระบบออนไลน์ธุรกรรมต่างๆ ที่ทำ ที่มองไม่เห็น การสร้างความไว้วางใจยิ่งสำคัญ

ถ้าจะกลับมาสู่ภาวะปกติให้เร็วเราต้องวางเรื่องนี้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องนักท่องเที่ยว แต่รวมทั้งเรื่อง Supply Chain หรือ ห่วงโซอุปทานด้วย ต้องทำให้เขามั่นใจว่าเรารับมือได้ เรามีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง ต้องสร้างความเชื่อมั่นตั้งแต่ระดับประเทศลงมาทุกระดับ

ยกตัวอย่าง SMEs ร้านค้า หรือทำร้านอาหาร จะทำอย่างไรให้คนเชื่อมั่นในการเข้ามาใช้บริการ ต้องมีการกำหนดขั้นตอนให้ชัดเจน ตัวอย่างเล็กๆ เช่น ร้านอาหารเปลี่ยนจากให้เมนูเป็นเล่ม เป็นระบบแสกน QR Code เพื่อคนจะได้ไม่ต้องมาสัมผัสเมนูเล่มเดียวกัน คนก็เชื่อมั่นมากขึ้น

หลังโควิดการบริโภคไม่เปลี่ยน แต่จะมองความปลอดภัยมากขึ้น เราต้องเพิ่มส่วนนี้เข้าไปเป็นทางเลือกหนึ่งเสริมกับเรื่องของการส่งออก และการท่องเที่ยว การจะมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ต้องมีธุรกิจและยุทธศาสตร์เหมาะสมกับโลกในอนาคตด้วย

สำหรับกุญแจสำคัญทางออกจากวิกฤติโควิด เขาเสนอ 5 ข้อคือ
1.ด้านสาธารณสุข ยังต้องรักษา ติดตาม ทำอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง
2.วิกฤติครั้งนี้แสดงให้เห็นจุดอ่อนของเราอย่างไม่ปราณี ต้องใช้โอกาสนี้ปรับปรุงจุดอ่อน เช่น ฐานข้อมูลระกับบุคคล ส่วนจุดแข็ง เช่น ด้านสาธารณสุขต้องเสริมให้ดีขึ้น
3.กำหนดยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน การจะใช้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท มีหลักการอะไร ที่ทำให้ใช้แล้วได้ประโยชน์จริง ต้องชัดว่าจะไปทางไหน Trust ถือเป็นส่วนหนึ่ง
4.กระจายอำนาจลงสู่ชุมชน เส้นเลือดฝอยต้องเข้มแข็งด้วย
5. การสื่อสารต้องดี หาความร่วมมือระดับประเทศให้เข้มแข็งขึ้น สร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน

ต้องสร้างให้คนอื่นไว้ใจเรา และก้าวไปอย่างมั่นคงหลังโควิด

“ขอให้กำลังใจทุกคน วิกฤติครั้งนี้รุนแรงแต่ยังมีเรื่องดี เรามีผู้ติดเชื้อไม่เยอะ เรื่องอนาคตค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้แย่อย่างที่คาด ไปทีละเสต็ป ดูทีละขั้นอย่าไปกังวลมาก ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ดูแลกันและกันให้เข้มแข็งมากขึ้น เรามีน้ำใจต่อกันมากแต่ต้องกระจายไปให้ถึงคนที่ต้องการจริงๆ”

ส่วนเรื่อง New หรือ Next Normal อาจจะยังไม่มีคนให้คำนิยามชัดเจนว่าคืออะไร บางทีเราไปกังวลเรื่อง New Normal กันเยอะไป อย่าไปสนใจกับมันมาก ใจตนกลับชอบคำว่า Next Normal เพราะมันคือ สเต็ปต่อไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องที่ฟิก Next Normal ของสัปดาห์หน้า อาจไม่เหมือนของ 2 สัปดาห์ถัดไป Next มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงตลอด

ยกตัวอย่างร้านอาหารแถวประตูผีที่อยู่ในโรงแรม ที่ต้องหยุดเลยเพราะไม่มีลูกค้า เขามองว่า Next Normal คือคนอยู่บ้านไม่อยากสั่งอาหารบ่อยๆ เขาก็เลยทำอาหารปิ่นโต มีเงินรายได้เยอะเลย นี่คือ Next Normal ของสัปดาห์หน้า แต่พอเลิกปิดเมืองปุ๊บก็เปลี่ยนแล้ว ปิ่นโตก็ขายไม่ได้แล้ว ความน่าสนใจคือการหา Next Normal และปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด จนกระทั่งสถานการณ์เริ่มกลับคืนมา

เทคโนโลยีสีเขียว-ทำไทยเป็นสวรรค์ผู้สูงอายุทั่วโลก 

ดร.วีระยุทธ กล่าวว่า ปกติตนจะสอนหนังสือที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แต่พอเจอโควิดทำให้อยู่ไทยได้นานขึ้น และมีสิ่งเปลี่ยนไปคือ มีการเรียนการสอนออนไลน์ มีการประชุมผ่านออนไลน์มากขึ้น ซึ่งที่ญี่ปุ่นก่อนโควิดมีการเรียนออนไลน์น้อยมาก นี่คือการเปลี่ยนแปลง

ส่วนที่ประเทศไทยตนมีโอกาสได้คุยกับผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเดือน พ.ค. และ มิ.ย. นี้จะเป็นการตัดสินว่าจะอยู่รอดหรือไม่ เพราะสายป่านกำลังจะหมดไปแล้ว บางรายที่มองว่าเปิดร้านยังไม่คุ้มก็อาจจะเลิกไปเลย ส่วน SMEs ที่เปิดโรงงานและพึ่งพาวัตถุดิบจากจีน พอไม่มีก็ไปต่อไม่ได้ จึงต้องมามองเรื่อง Supply Chain กันใหม่

เมื่อเกิดโควิด มี 2 คำถามใหญ่เกิดขึ้น คือ ทุนนิยมจะล่มสลายหรือเปล่า และโลกาภิวัฒน์ที่คุ้นเคยจะสิ้นสุดลงไหม

เรื่อง ทุนนิยมล่มสลายหรือเปล่า ในวิกฤตินี้มีทั้งอุตสาหกรรมที่ได้และเสีย เช่น ธุรกิจการบินกระทบหนัก แต่ธุรกิจ อาหารและสุขภาพ มีการเติบโตประคองตัวได้ ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเติบโตดี คนในยุคนี้และต่อไปใช้การจ่ายเงินดิจิทัล ออนไลน์ ขยายตัว ดังนั้น ทุนนิยมไม่ถึงขั้นล่มสลาย แต่มีอุตสาหกรรมที่เจ็บหนักและต้องขึ้นอยู่กับว่าวัคซีนว่าจะผลิตได้เมื่อไร เพื่อให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม

แนวโน้มที่เกิดขึ้น คือ จะมีการควบรวมกิจการต่อไปหลังโควิดซาลง เหมือนหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งจะมีผลต่อตลาดแรงงาน และการจะลงทุนธุรกิจอะไร

อีกคำถามคือ โลกาภิวัฒน์จะสิ้นสุดไหม ไม่ถึงเขนาดนั้นเช่นเดียวกัน การจะไม่พึ่งพาต่างประเทศต่อให้อยากทำก็ทำไม่ได้ ต่อให้อยากทำก็ใช้เวลานาน แต่ที่เปลี่ยนไปคือ แนวโน้มจะเปลี่ยนจาก global เพราะเมื่อเกิดวิกฤติการผลิตแบบ global มีความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ มีแนวโน้มจะเปลี่ยนลงมาเป็นระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน ยุโรปตะวันตก

โอกาสของไทย ถ้าเตรียมตัวดีสามารถก้าวมาแข่งกับจีนได้ จีนวางยุทธศาสตร์เป็นโรงงานโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ตอนนี้โอกาสเปิดกว้างมากขึ้นถ้าเราวางแผนดีๆ เช่น ญี่ปุ่น เองก็มีแนวโน้มถอยจากจีนมาที่อาเซียน

โจทย์สำหรับเศรษฐกิจไทย ควรจะเดินทั้ง 2 ขา คือ ด้านหนึ่งต้องรับแรงงานที่มีกำลังล้นเหลือ และอีกขา อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่าไปพร้อมกัน เป็นส่วนที่ไม่ได้ใช้คนเยอะ มูลค่าการหมุนเวียนมีบทบาทสูง

อีกด้านที่ตนอยากเสนอ คือ เศรษฐกิจสีเงิน ซึ่งเรียกตามสีผมดอกเลาของผู้สูงอายุ กลุ่มนี้ในโลกตะวันตกมองว่าเป็นโอกาส เพราะมีเงินเก็บเยอะ กำลังซื้อสูง ยังอยากใช้ชีวิตออกกำลัง เดินทาง กินอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เมืองอาคิตะ ประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นต้นแบบของเศรษฐกิจผู้สูงอายุ มีการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับ มีการทำตู้ ATM ตัวอักษรใหญ่ ห้องน้ำที่วางไม้เท้าได้ ถ้ามองไปที่ สังคมสูงวัยจะทำอะไรขาย เป็นครัวโลกของผู้สูงวัย เครื่องสำอางผู้สูงวัย อาจจะเปิดตลาดใหม่ได้

สำหรับกุญแจสำคัญจากการออกจากวิกฤติโควิด ระดับบุคคล มองว่าต้องประคองตัวเอง การช่วยเหลือจากภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญ เงินที่จะลงมาควรกระจายเข้าถึงคนได้มากที่สุด ธุรกิจ SMEs เราจะประคองอย่างไร

ระยะยาว อย่างที่เสนอไปคือ จะทำอย่างไรกับแรงงานที่ล้นเหลือและมีแนวโน้มตกงานมากขึ้น

ส่วนขาที่ 2 ต้องสร้างมูลค่า เกาะขบวนรถไฟให้ทัน ตั้งรับและพร้อมโต้กลับ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี มุ่งไปสู่เทคโนโลยีสีเขียว หลังโควิดถ้ากลับมาใช้พลังงานเหมือนเดิม โลกก็จะลับมามีปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง เทคโลยีสีเขียว พลังงานสะอาด จะเป็นคำตอบ

นอกจากนี้ ยังต้องกลับมามอง Supply Chain โลกให้จริงจัง อุตสาหกรรม SMEs แบบซื้อมาขายไป โควิดทำให้เห็นว่าอยู่ไม่รอด ต้องผลิตเองได้หรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain โลก เช่น ไต้หวัน ผลิตชิป และอุปกรณ์สำคัญได้

ทั้งนี้ รัฐต้องส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะทำอะไรมุ่งไปทางไหน ประชาชน นักลงทุนจะได้รู้ว่ามุ่งไปทางไหนด้วย

สำหรับตนเห็นว่า แนวทางหนึ่งที่ควรมุ่งไปคือ การสร้างเมืองไทยให้เป็นสวรรค์ของผู้สูงวัยของคนทั่วโลก เพราะหลังจากโควิดนักท่องเที่ยวจีนที่เป็นตลาดใหญ่ของเราจะลดลง

โอกาสของ Local Economy  กับสมดุลการแทรกแซงของภาครัฐ 

วันที่ 8 พ.ค. รายการ Workpoint Today คุยกับ 3 นักคิดนักวิชาการถึง New Normal และ Next Normal หลังโควิด ประกอบด้วย รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม, รศ.ดร.วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง อดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายพรรคอนาคตใหม่ และ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ นักเศรษฐศาสตร์และ CEO บ.Siametrics Consulting จำกัด
 
ดร.ณภัทร กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่วิกฤติโควิดตนสังเกตเห็น 4 อย่าง คือ
 
1. Gone คนจำนวนมากที่ชีวิต การงานหายไปไม่เหมือนเดิม เช่น การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบางอย่างที่คนใกล้ชิดกันมาก เช่น คอนเสิร์ต
2. Growth คนหรือบริษัทที่สามารถปรับตัวได้เร็ว ได้ประโยชน์ เช่น Logistic Company E-Commerce Telemedicine
3. Gap คือ ช่องว่างระหว่าง 2 กลุ่มที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ใน กทม.เองมีคนที่แม้แต่เงิน 10 บาทก็ไม่มี เดิมกินขยะนักท่องเที่ยวทุกวันนี้แม้แต่ขยะอาหารก็ยังไม่มีให้กิน หรือด้านการศึกษานักเรียนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตยังมีเยอะมาก ถ้าปิดโรงเรียนไปอีกช่องว่างก็ยิ่งกว้างขึ้น
4.การแทรกแซง หรือนโยบายภาครัฐที่จะต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
 
การปรับตัวที่เอื้อต่อการเข้าสู่อุตสาหกรรมยุคต่อไป เรื่องทักษะส่วนบุคคล ประเทศไทยเราขาดกำลังแรงงานรุ่นใหม่ที่ทักษะด้านเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล มีน้อยไปเป็น 10 เท่าถ้าเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของเรา
 
ถ้าดูจากประเทศอื่นก้าวต่อไปของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะไม่ใช่ท่าเดิมๆ การจะมีแรงงานรุ่นใหม่ขับเคลื่อนประเทศด้านเทคโนโลยี ต้องปูพื้นคณิตศาสตร์ การคิดแบบมีตรรกะ ต้องเป็นรากของระบบการศึกษา
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเร็ว มีโควิดมาอีก คนที่จะอยู่รอดในยุคถัดไปที่มีความไม่แน่นอนสูง คือคนมีสกิลในความยืดหยุ่น
 
ส่วนระดับประเทศระยะสั้นที่ควรพัฒนาเร่งด่วน ก่อนโควิด เรามีปัญหาหลายด้าน เช่น ความยากจน พอเจอโควิด ซึ่งเป็ยวิกฤติที่ยากที่สุดและไม่รู้จะจบเมื่อไร เลยต้องกลับโฟกัสสิ่งที่อย่างน้อยเราพอจะรู้ กรณีความเปราะบางในประเทศไทย ตนตั้งทีมในบริษัททำงานพิเศษ คือ แผนที่วัดความเปราะบางเชิงพื้นที่ 2 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจและด้านสาธารณสุข โดยวัดจากข้อมูลระดับลึก เช่น มีโรงพยาบาลกี่แห่ง มีอุปกรณ์การแพทย์ขนาดไหน มีการระบาดของโควิดมากเท่าไร
 
ข้อมูลเหล่านี้ เช่น ด้านเศรษฐกิจ จะพบว่าระดับตำบล มีความหลากหลายในความเปราะบางที่ไม่เหมือนกัน มีธุรกิจเสี่ยงเยอะมาก ข้อมูลเหล่านี้จะมีการบ้านใหญ่สำหรับประเทศไทยในการเยียวยาแม้ว่าโควิดจบแล้ว เพราะเดิมก็ยากจนอยู่แล้ว ยังโดนโควิดซ้ำ
 
จะเยียวยาอย่างไรให้ยั่งยืน หลายคนบอกตนว่านี่เป็นโอกาสของ Local Economy การกระจายความเจริญ การกระจายอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องให้โอกาสและอำนาจกระจายทรัพยากรไปมากกว่านี้
 
สำหรับกุญแจสำคัญการก้าวพ้นวิกฤติโควิด มีมุมมองหลัก 2 มุม คือ
 
1.จะเปิดเมืองอย่างไรให้ปลอดภัย เริ่มมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยไม่เกิดการระบาดระลอกใหม่ตามมาไม่ง่าย ทางออกในต่างประเทศบางเรื่องก็ยังไม่สำเร็จ
 
ทางออกมองว่าต้องใช้เทคโนโลยี เรามีทางเลือก เช่น มีโปรแกรมวัดความเสี่ยงโควิด โดยไม่ต้องไปตรวจเชื้อ แม้จะไม่แม่นยำเท่าการตรวจจริง แต่ก้ไม่มีค่าใช้จ่ายเลย แต่สิ่งสำคัญคือ การทำงานปึกแผ่นทีมเศรษฐกิจกับทีมสาธารณสุข
 
2.บทบาทของภาครัฐ
 
– Rebound จะพลิกฟื้นอุตสาหกรรมที่ล้มอยู่อย่างไร เช่น การท่องเที่ยว รัฐบาลต้องชัดเจนว่าจะเอาอย่างไร เช่น จะมุ่งการท่องเที่ยวในประเทศ กระจายการท่องเที่ยวหลายๆ ที่
 
– Reskill คนอย่างไร ที่กระทบหนักและอุตสาหกรรมนั้นอาจจะไม่กลับอีกเลย
 
– Reverse Globalization จะมีเทรนด์กลับมาพึ่งพาตัวเองมากขึ้น รัฐอาจจะต้องเปลี่ยนปัจจัยการผลิตบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องและปลอดภัยขึ้น เดิมการผลิตบริการท่องเที่ยวเราเดิมพันกับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเกินไป ซึ่งเป็นบทเรียน
 
แต่การแทรกแซงของภาครัฐก็เป็นความท้าทายว่าจะทำอย่างไร

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า