Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยืนยัน พ.ร.บ.ไซเบอร์ ไม่กระทบสิทธิประชาชน เป็นการคุ้มครองป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะมีต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ย้ำเจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจสอบหรือยึดคอมพิวเตอร์ แม้ในระดับวิกฤตก็ต้องได้รับอนุญาตจากศาล

วันที่ 1 มี.ค. น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ปลัดดีอี เปิดเผยกรณีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านความเห็นชอบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยสรุปว่า พ.ร.บ.สองฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายด้านดิจิทัลที่ประเทศไทยควรมี เพื่อให้เราเป็นประเทศที่เป็นสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบและมีความมั่นคงปลอดภัย

โดยมีการจัดทำร่างตั้งแต่ปี 2558 ผ่านคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นและมีการทบทวนร่างเมื่อมีการตั้งกระทรวงใหม่ (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) อิงมาตรฐานจาก GDPR หรือหลักคุ้มครองส่วนบุคคลแบบใหม่ของยุโรป เพื่อคุ้มครองข้อมูลของคนไทย และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับโลกในการทำธุรกิจในยุโรปได้

เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ใช่การกล่าวร้ายป้ายสีกันโดยโซเชียลมีเดีย ภัยคุกคามทางไซเบอร์คือภัยที่มีต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์คของคอมพิวเตอร์

ภัยพวกนี้จะมีอย่างเช่นไวรัส มัลแวร์ แวร์ซอฟต์แวร์ แฮกเกอร์ระดับชาติเกิดขึ้นกับระบบที่ให้บริการสำคัญของประเทศ ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคนใดคนหนึ่ง เข้าไปถึงระบบเข้าไปถึงฐานข้อมูลของบริการที่สำคัญจนเริ่มทำงานไม่ได้ เริ่มต้องหยุดให้บริการ เพราะฉะนั้นไวรัสเข้าคุณไม่ใช่ ไม่ต้องกังวล

“การเข้าไปในภัยร้ายแรงหรืออะไรก็ตาม การที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปเจ้าหน้าที่ต้องเชื่อมั่นได้ว่า ระบบคอมพิวเตอร์นั้นมันเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพราะถ้าไม่เกี่ยวข้องจะไม่มีสิทธิ์เข้าไป การเข้าไปในสถานที่ การเข้าไปถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ การเข้าไปถึงการยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้คำสั่งศาล กล้ายืนยันนะคะ ต้องใช้คำสั่งศาล

มีอยู่ข้อเดียว คือ ถ้ามีภัยในระดับวิกฤต คือระบบล่มเป็นวงกว้าง เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนให้ใช้กฎหมายด้านความมั่นคง แต่ถ้าเป็นระดับวิกฤตแล้วต้องให้เจ้าหน้าที่ภายใต้ พ.ร.บ.นี้เข้าไปดำเนินการ เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้ภัยมันกว้างมากขึ้นเฉพาะกรณีนี้กรณีเดียว ให้ทำได้ทันทีแต่ต้องแจ้งศาลโดยเร็ว แปลว่ารีบเข้าไปแล้วรีบแจ้งศาล คือทำสองขาพร้อมๆ กัน ไม่มีอันไหนเลยขนาดวิกฤตก็ยังต้องแจ้งศาลโดยเร็ว ไม่มีข้อไหนเลยที่จะเข้าไปโดยไม่มีคำสั่งศาล อันนี้คือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดจากร่างเดิมกับร่างนี้กล้ายืนยัน”

เนื้อหา การละเมิด การให้ร้ายป้ายสี การทำอะไรทั้งหลาย อยู่ในพ.ร.บ.ความผิดคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้งานมาแล้วเป็น 10 ปี ของใหม่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 60 ดังนั้นแล้วเรามี พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่แล้วค่ะ กฎหมายนี้ไม่ซับซ้อนเลย ทำงานกันคนละส่วนเลย

มั่นใจว่าพ.ร.บ.ที่ออกมาจะไม่ถูกดึงไปเป็นประเด็นทางการเมือง?

ปลัดดีอี : ไม่ได้มั่นใจเพราะตอนนี้ก็ถูกดึงแล้วมั้งคะ คือ พ.ร.บ.เขาร่างมาแบบนี้แต่ทำไมข่าวที่ออกไปไม่ว่าจะอะไร อาจจะเป็นเพราะว่าความทรงจำเก่าๆ หรือเปล่า ไม่อยากบอกว่า ถูกดึงไปทางการเมืองแต่คิดว่า คนยังไม่เข้าใจมากกว่า แล้วถ้าเชื่อว่าประเทศไทย ระบบคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในบริการพื้นฐานที่สำคัญทั้งหมดแล้ว การที่ระบบพวกนั้นถูกโจมตีทำให้บริการไม่ได้เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม

 

ที่มา FB : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า