Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนรับมืออหิวาต์แอฟริกาในสุกร พร้อมยกเป็นวาระแห่งชาติ จัดงบประมาณ 148 ล้านบาทแก้ปัญหาครบวงจร ขอประชาชนอย่ากังวลโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่ติดต่อสู่คน

วันที่ 9 เม.ย. 2562 พล.ต.อธิสิทธ์ ไชยนุวัตร ผู้ช่วยโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีการขออนุมัติ แผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทยให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อหาทางฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ หากมีการแพร่ระบาด และป้องกันความเสียหายทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการกว่า 1 แสนล้านบาท และป้องกันการติดเชื้อของโรคระบาดร้ายแรงอย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ

แผนการดำเนิงงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 ส่วนใดเป็นการบริหารจัดการและขับเคลื่อน ด้วยมาตรการโดยจัดให้มีคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และสวนที่ 2 แผนการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนเหตุการณ์ระบาด เป็นการเฝ้าระวังเตือนภัยป้องกันโรคและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ, ระยะที่ 2 เผชิญเหตุการระบาดของโรค ตอบสนองในภาวะฉุกเฉิน โดยการจัดการควบคุมโรคที่เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน และระยะที่ 3 ภายหลังไปเชิญเหตุการระบาดจะเป็นการฟื้นฟูปรับสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรและผู้ที่ได้รับผลกระทบให้กลับสู่สภาวะปกติ

ส่วนการใช้งบประมาณในวงเงินทั้งสิ้น 148 ล้านบาท แบ่งเป็นปีงบประมาณ 2562 เป็นเงิน 53 ล้านบาทเศษ โดยใช้งบกลาง รายการจ่ายเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นปี 2562 ส่วนในปี 2563 กับ 2564 ให้ใช้รายจ่ายประจำปีงบประมาณ

สถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง 17 ประเทศ ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบันในหลายภูมิภาค ทวีปยุโรป 10 ประเทศ แอฟริกา 4 ประเทศ เอเชีย 3 ประเทศ ซึ่งในประเทศเอเชียที่มีการระบาด ได้แก่ประเทศจีน มองโกเลียเวียดนาม ซึ่งล่าสุดยังไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ประเทศไทยจึงเสนอแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรจากปัจจัยหลายประการ เช่น การลักลอบนำผลิตภัณฑ์สุกรจากนักท่องเที่ยวในประเทศที่มีการระบาดเข้ามาประเทศไทย มีการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร และซากสุกร ผ่านช่องทางตามแนวชายแดน การเสี่ยงปนเปื้อนไวรัสจากตัวเกษตรกรสัตวแพทย์ ที่ไปดูงานประเทศที่มีการระบาดของโรค

อย่างไรก็ตามโรคดังกล่าวไม่ได้มีการติดต่อสู่คนจึงไม่อยากให้ประชาชนและเกษตรกรกังวลในเรื่องนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า