SHARE

คัดลอกแล้ว

กฎหมายของประเทศบรูไน ที่มีโทษประหารกลุ่มรักร่วมเพศด้วยการปาหินจนตาย กลายเป็นประเด็นร้อนในเวลานี้ มีทั้งกลุ่มที่เข้าใจบรูไน กับบางส่วนที่ต่อต้านอย่างรุนแรง


ความเห็นทั้ง 2 มุมคืออะไร เวิร์คพอยท์นิวส์ สรุปประเด็นสำคัญเอาไว้ทั้งหมดที่นี่

1) รัฐบาลบรูไน ประกาศเริ่มบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ หรือกฎหมายอิสลามอย่างเต็มรูปแบบ ในวันที่ 3 เมษายน 2019 ทั้งชาวบรูไน และชาวต่างชาติ ที่อยู่ในราชอาณาจักรบรูไน ต้องโดนบทลงโทษอย่างเดียวกัน

2)พระราชาธิบดีสุลต่าน  ฮัสซานัล โบลเกียห์ เรียกร้องว่า มุสลิมทั่วโลก โดยเฉพาะพลเมืองบรูไน จำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับศาสนาอิสลาม พร้อมทั้งย้ำชัดเจนว่า มุสลิมจำเป็นต้องแก้ไขความหย่อนยานของหลักศาสนาในปัจจุบัน

3) กฎหมายชารีอะห์ คือกฎหมายที่มีพื้นฐานมาจากหลักศาสนาอิสลาม คือมีบทลงโทษที่แรงมาก ตัวอย่างเช่น

– โบยในคดีดื่มสุรา
– ตัดมือ ถ้าหากขโมยทรัพย์สิน
– ถูกปาก้อนหินจนตาย ถ้าลักลอบมีชู้
– ถูกปาก้อนหินจนตาย ถ้ามีความสัมพันธ์ทางทวารหนัก

4) สถานทูตไทย ประจำราชอาณาจักรบรูไน ได้ออกแถลงการณ์เตือนคนไทย ให้อ่านข้อกฎหมาย และประพฤติตัวให้เหมาะสมที่สุด เพราะบทลงโทษนั้น ลงโทษจริง ไม่เว้นแม้แต่คนต่างชาติก็ตาม

5) สิ่งที่ทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นขึ้นมา คือ กฎหมายชารีอะห์ จะมีบทลงโทษทางเพศอย่างรุนแรง กับกลุ่มรักร่วมเพศ โดยกลุ่มเลสเบี้ยน จะโดนโบย 40 ครั้ง และ/ หรือ จำคุกสูงสุด 10 ปี ขณะที่กลุ่มชายรักชาย ถ้ามีการร่วมเพศ จะโดนลงโทษด้วยการปาหินจนตาย

6) จอร์จ คลูนีย์ สตาร์ฮอลลีวู้ด ชาวอเมริกัน ชี้ว่าเรื่องนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และคนในสังคมต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง เพื่อ สื่อให้เห็นว่า เรื่องการรักร่วมเพศ เป็นสิทธิที่สามารถพึงกระทำได้ โดยไม่ควรมีบทลงโทษใดๆเกิดขึ้น

7) ขณะที่เอลเลน ดิเจเนเรส พิธีกรชื่อดังชาวสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเลสเบี้ยน ออกมาทวิตข้อความว่า “ประเทศบรูไนจะเริ่มประหารคนรักร่วมเพศด้วยการขว้างหินเราต้องทำอะไรสักอย่างตอนนี้ ได้โปรดบอยคอตต์โรงแรมที่สุลต่านแห่งบรูไนเป็นเจ้าของ เราต้องลุกขึ้นมาพูด ไม่เงียบเฉย เราปล่อยผ่านเรื่องนี้ไปไม่ได้”

โดยเอลเลน ได้ลิสต์รายชื่อโรงแรมทั้งหมดที่ สุลต่านแห่งบรูไน เป็นเจ้าของ ทั้ง 8 แห่ง ในสหรัฐฯ และ ยุโรป หนึ่งในนั้นคือโรงแรมดัง ดอร์เชสเตอร์ ในกรุงลอนดอนด้วย

8 ) มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน ในสกอตแลนด์ ที่เคยมอบปริญญากิตติมศักดิ์ ให้สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ ประกาศว่า จะพิจารณาริบใบปริญญาคืน ถ้าหากสุลต่าน ไม่แก้ไขกฎหมายเรื่องการโยนหินประหารเกย์

9) เกย์ชาวบรูไนคนหนึ่ง ให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่า ที่บรูไนเคยมีแอพพลิเคชั่น Grindr ซึ่งมีไว้เพื่อให้กลุ่มเกย์นัดเดทกันแบบเป็นความลับ แต่รัฐบาลก็เข้ามาควบคุมมากขึ้น และยิ่งมีโทษแบบนี้เข้ามา ไม่มีใครกล้าใช้ Grindr อีกแล้ว ซึ่งตัวผู้ให้สัมภาษณ์ก็เตรียมอพยพย้ายไปแคนาดา ที่ให้อิสระกับการเลือกรสนิยมทางเพศมากกว่า

10) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเสียงต่อต้านจำนวนมาก แต่ก็มีอีกหลายเสียงที่เข้าใจ การบังคับใช้กฎหมายชารีอะห์ ของบรูไนเช่นกัน โดยเหตุผลหนึ่งคือ นี่เป็นกฎหมายเพื่อการอยู่รวมกันของคนหมู่มาก ในบรูไน ดังนั้นกฎหมายจึงออกแบบ มาเพื่อความเหมาะสมของคนในประเทศ

11) โทษประหารมีจริง แต่บรูไนไม่เคยประหารใครมาตั้งแต่ปี 1957 แล้ว โดยประชาชนสามารถเลือกย้ายไปอยู่ในประเทศที่ตัวเองชอบได้ โดยไม่มีการบังคับห้ามย้ายถิ่นฐาน

12) นอกจากนั้น การไม่ยอมรับการรักร่วมเพศ เป็นการปฏิบัติตามคำสอน ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน บทความจากเว็บไซต์ มุสลิมไทยโพสต์ ได้อธิบายเรื่องนี้เอาไว้ว่

“อัลเลาะห์ ได้ตรัสถึงการลงโทษที่รุนแรงจากพระองค์ หากมีการสมสู่เพศเดียวกัน เพราะจะนำมาซึ่งความหายนะอันใหญ่หลวงต่อสังคมมนุษย์ในด้าน ต่างๆ เช่น การหยุดยั้งการกำเนิดของมนุษย์ การเกิดโรคร้ายที่รักษาไม่หาย สังคมเกิดความปั่นป่วนโดยไม่สามารถจำแนกเพศที่แน่นอนออกจากกลุ่มคนที่เบี่ยงเบนทางเพศได้ ฉะนั้นการลงโทษจากอัลเลาะห์ จึงเป็นการลงโทษที่รุนแรง และคู่ควรกับกลุ่มชนเหล่านั้น”

13) อัคชีเลช พิลลามารี่ คอลัมนิสต์จากเนชั่นแนล อินเทอร์เรสต์ ชี้ว่าเป็นมุมมองที่ต่างกันของ โลกตะวันตก กับประเทศมุสลิม โดยโลกตะวันตก จะยึดถือในเรื่องความหลากหลาย ทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้ ถ้าไม่ส่งผลกระทบต่ออีกฝ่าย แต่ ในหลายๆประเทศมุสลิม จะยึดแนวอนุรักษ์นิยม และสนับสนุนกฎหมายตามหลักศาสนาที่มีการใช้กันมายาวนาน

รายงานเผยว่า ประชาชนในประเทศอิสลามอย่างอียิปต์ มีถึง 74% ที่สนับสนุนการใช้ชารีอะห์ ขณะที่โมร็อกโก สนับสนุน 83%

14) ล่าสุด (20.30 น. ของวันที่ 3 เมษายน) ฮิวแมนไรท์วอช ได้ออกมาประณาม กฎหมายชารีอะห์ของบรูไน และ ชี้ว่า ควรยกเลิกกฎหมายนี้โดยทันทีอย่างไรก็ตาม ทางการบรูไน ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นแต่อย่างใด

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า