Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากการประกาศเปิดตัว RT MOVEMENT – ทีมข้อเดียวมูฟเมนท์ของกลุ่ม “เยาวชนปลดแอก” FreeYOUTH โดยระบุข้อความว่านี่คือ MOVEMENT ครั้งใหม่ที่จะไม่มีอะไรเหมือนเดิม ปลุกสำนึกทางชนชั้นของเหล่าแรงงานผู้ถูกกดขี่ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน พนักงานออฟฟิศ นอกเครื่องแบบ ชาวนา ข้าราชการ “เราทุกคนล้วนเป็นแรงงานผู้ถูกกดขี่”

นำมาสู่การตั้งคำถามในสังคมไทยว่ากลุ่มเยาวชนปลดแอกต้องการเรียกร้องอะไรกันแน่ หรือต้องการนำพาบ้านเมืองไปเมืองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์อย่างนั้นหรือ แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เปรียบเสมือนปีศาจหรือผีที่ตามหลอกหลอนสังคมไทยมายาวนานนับตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ. 2516-2519 นำมาสู่การทำความเข้าใจใหม่ว่าสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการสื่อสารไม่ใช่แนวความคิดแบบคอมมิวนิสต์แต่คือ “ระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย” ซึ่งไม่ใช่สังคมนิยมที่กลายเป็นเผด็จการ แต่พวกเขากำลังพูดถึงสังคมนิยมที่ประสบความสำเร็จอย่างประเทศในแถบสแกนดิเนเวียซึ่งสามารถสร้างรัฐสวัสดิการ และความเสมอภาคได้ workpointTODAY ชวนสำรวจแนวคิดแบบรัฐสวัสดิการและแนวความคิดแบบคาร์ล มาร์ก (Karl Heinrich Marx) บุคคลแรกที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานของลัทธิคอมมิวนิสต์

 

คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ผ่านการเป็น รัฐสวัสดิการ

ภายใต้ระบบทุนนิยม มนุษย์ถูกจำกัดกรอบทางสังคมด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ นักเรียนนักศึกษาถูกบังคับให้ต้องเข้าเรียนในคณะที่ตอบโจทย์กับตลาดแรงงาน เพื่อจะได้มีงานทำ หาเลี้ยงตัวเองหรือเพื่อจุนเจือครอบครัว หลายคนต้องละทิ้งความฝันเพียงเพราะความฝันเหล่านั้นไม่สามารถที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตได้ ประเด็นเรื่องรัฐสวัสดิการจึงถูกหยิบขึ้นมาพูดถึง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ คืนความฝันและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าการเลือกเส้นทางชีวิตจะต้องทำเพื่อตอบโจทย์กับตลาดแรงงานเพียงอย่างเดียว

รัฐสวัสดิการคืออะไร เป็นเรื่องยากที่จะให้คำจำกัดความที่ชัดเจนของคำว่า “รัฐสวัสดิการ” การจะพิจารณาว่า “รัฐสวัสดิการ” หมายถึงอะไร เราต้องพิจารณาถึงหลักการและจุดมุ่งหมายของรัฐสวัสดิการว่ามีแนวคิดเชิงอุดมการณ์และมีขอบเขตแค่ไหน ตามนิยามแบบเรียบง่าย อ. ดร. ภาคภูมิ แสงกนกกุล ให้เคยได้คำนิยามกับคำว่า “รัฐสวัสดิการ” ว่าหมายถึงรัฐที่เข้ามาแทรกแซงกิจกรรมของปัจเจกชนในสังคมเพื่อกระจายสวัสดิภาพแก่ประชาชน เช่น การเข้าถึงการศึกษา การเข้าถึงการรักษาพยาบาล ฯลฯ หรือบางท่านก็ให้คำนิยามเช่น “รัฐสวัสดิการ” คือการปกครองแบบหนึ่งซึ่งรัฐเข้ามารับผิดชอบในมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคนตั้งแต่เกิดจนเข้าโลง การจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนโดยรัฐนั้นมีหลายรูปแบบยกตัวอย่างเช่น รัฐอาจแทรกเข้าไปดำเนินการในเรื่องภาษีอากร จัดให้มีการลงทุนเพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน สวัสดิการเรื่องที่พักอาศัย ให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกร จัดสวัสดิการสังคมและการประกันสังคมให้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งหากแบ่งรัฐสวัสดิการอย่างกว้างๆ สามารถสรุปได้ออกเป็น 3 แนวทางคือ

  1. รัฐสวัสดิการเต็มรูปแบบ (Universal) เป็นรัฐที่ยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตย (Social democratic welfare state) ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์คือ “พลเมือง” ค่าใช้จ่ายของโครงการรัฐสวัสดิการมาจากระบบการจัดเก็บภาษีที่สูงมาก ที่สำคัญจะเข้ามาก้าวก่ายในระบบทุนนิยม กำหนดกติกาใหม่ในเรื่องกรรมสิทธิ์และควบคุมปัจจัยการผลิตไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง กลุ่มที่ยึดหลักเหนียวแน่นกับการให้รัฐสวัสดิการที่ครอบคลุ่มเช่นนี้ คือ กลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic States) ซึ่งประกอบด้วย นอร์เวย์ ฟินแสนด์และสวีเดน
  2. รัฐที่ยังคงระบบตลาดเสรีไว้เต็มที่ (Liberal/Neo liberal welfare state) คือรัฐบาลเข้ามามีบทบาทในฐานะเป็นผู้จัดสรรสวัสดิการสังคมเพียงเท่าที่จำเป็น โดยปล่อยให้กลไกระบบตลาดในรูปแบบของความสัมพันธ์และผลประโยชน์ที่ลงตัวระหว่างบริษัทเอกชนและลูกจ้าง โดยรัฐเป็นผู้ให้เงินอุดหนุนและทำหน้าที่หลักในการบริหารจัดการกองทุนส่วนกลาง ระบบกองทุนประกันสังคมของสหรัฐอเมริกา (Social security program) ตั้งอยู่บนหลักการนี้
  3. ทางเลือกที่สามของรัฐสวัสดิการ (The third way) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ สวัสดิการแบบพ่ออบรมลูก (Paternalist social state) เป็นรูปแบบที่หาแนวทางแก้ปัญหาสังคม โดยมีหลักการสำคัญคือ คุณไม่มีสิทธิถ้าคุณไม่ทำหน้าที่ แนวคิดนี้เน้นที่ความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคลต่อตนเองและสังคมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่เขาพึงได้รับ หัวใจของรัฐสวัสดิการรูปแบบนี้คือ ทำให้คนยากจนและคนที่รองรับสวัสดิการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น เพราะมองว่าความไม่รับผิดชอบเป็นที่มาของปัญหาทั้งปวง ตัดความเชื่อที่ว่าคนรวยต้องช่วยคนจนแต่ทุกคนต้องช่วยกัน

ไม่ว่าจะเป็นรัฐสวัสดิการรูปแบบใดหลักการสำคัญคือ ทุกคนในประเทศมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่มนุษย์พึงจะดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่ความเป็นมนุษย์และต้องการให้ทุกคนได้รับความคุ้มครองและหลักประกันให้ได้มีงานทำกันถ้วนหน้านั่นเอง

จุดกำเนิดของรัฐสวัสดิการ

ภายใต้ระบบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ แม้จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวมาก แต่ก็ตามมาด้วยปัญหาต่างๆ หลายประการ เช่น วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ความไม่เสมอภาค รวมทั้งการฮั้วกันระหว่างผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจเพื่อครอบครองตลาดทำให้เงื่อนไขของระบบตลาดเสรีถูกทำลายไป สิ่งเหล่านี้คือจุดอ่อนของแนวคิดเสรีนิยม ผลจากความล้มเหลวของตลาด (Market failure) ทำให้เกิดการทบทวนที่รัฐต้องเข้ามาแทรกแซง โดยการแสดงบทบาทหลักออกมา 2 ด้านคือ ด้านรัฐสวัสดิการ (Welfare state) และการพัฒนาเศรษฐกิจ (Development state) ซึ่งความโดดเด่นของบทบาทดังกล่าวจะแตกต่างกันระหว่างสังคมอุตสาหกรรมกับสังคมด้อยพัฒนา ตรงที่ในสังคมอุตสาหกรรมตะวันตก รัฐสวัสดิการจะดำเนินไปพร้อมๆ กับการแทรกแซงของรัฐในด้านเศรษฐกิจ ขณะที่สังคมด้อยพัฒนา รัฐมักจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นลำดับแรกและไม่ค่อยให้ความสำคัญกับรัฐสวัสดิการ

ในความเป็นจริงแล้วคนเรามีโอกาสและความสามารถไม่เท่ากันทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม การปล่อยตลาดเสรีโดยปลอดจากการแทรกแซงของรัฐซึ่งเคยได้รับการยอมรับในศควรรษที่ 18-19  กลับทำให้คนกลุ่มหนึ่งได้ผลประโยชน์ ในขณะที่อีกกลุ่มถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาประโยชน์ คนจำนวนมากต้องตกอยู่ในความยากจนอย่างไม่เหลือสภาพความเป็นมนุษย์ นำมาซึ่งการเรียกร้องรูปแบบใหม่เพื่อการดำรงชีวิตที่ดี มีสภาพการทำงานที่ดี มีสิทธิเสรีภาพทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชน คือ การเรียกร้องให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ของพลเมืองให้สมกับความเป็นมนุษย์ จึงเป็นจุดกำเนิดของรัฐสวัสดิการ (Welfare State)

คอมมิวนิสต์รูปแบบของมาร์กเป็นคนละประเด็นกับการมีรัฐสวัสดิการ

แนวความคิดแบบมาร์กซิสต์ ซึ่งมีนักคิดคนสำคัญในช่วงแรกคือ คารล์ มาร์กซ์ (Karl Marx) และเฟตเดอร์ริค เองเกล (Friedrich) คือกลุ่มพิพากษ์สังคมที่ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคมการเมือง ปรัชญาของสำนักมาร์กซิสต์เชื่อว่า โครงสร้างสังคมประกอบด้วย  2 ส่วนคือ โครงสร้างส่วนบน (Superstructure) ประกอบด้วยรัฐ กลไกอำนาจรัฐ ขณะที่โครงสร้างส่วนล่างประกอบด้วยปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงานและเครื่องมือ มาร์กเชื่อว่าสังคมเสรีนิยมที่ผู้มีกรรมสิทธิ์และควบคุมปัจจัยการผลิตมักจะเป็นผู้ที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้ใช้แรงงานเพื่อการผลิตมักจะไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในการควบคุมปัจจัยการผลิต นำไปสู่ความขัดแย้งของคนสองกลุ่ม มาร์กเชื่อว่าสังคมทุนนิยมเป็นสังคมที่นายทุนมุ่งแต่จะเอารัดเอาเปรียบ ต้องการกำไรมากและจ่ายค่าตอบแทนน้อยจากการผลิตที่ไม่ต้องลงแรง ขณะที่ผู้ใช้แรงงานก็ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบและการครอบงำทางความคิด นำมาซึ่งความไม่ยุติธรรม ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้ จะต้องมีการปฏิวัติทางชนชั้น เมื่อการปฏิวัติสำเร็จลง จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ยูโทเปีย” (Utopia) ซึ่งก็คือ สภาวะที่สังคมไม่มีชนชั้น ไม่มีเงินตรา ไม่มีกฎหมายกฎระเบียบใดๆ ผู้คนจะอยู่อย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด อยู่อย่างสงบสุขและมีสิทธิเสรีภาพ โดยเปลี่ยนระบบกรรมสิทธิ์และระบบสังคมใหม่ จากระบบทุนนิยมที่ทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นของนายทุนมาสู่ระบบสังคมนิยมที่ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตมาเป็นของชนชั้นแรงงาน สร้างสังคมที่มีความเสมอภาค อิสระเสรีและเท่าเทียมกัน ซึ่งสังคมที่เป็นธรรมสามารถจัดสวัสดิการที่เป็นสากลและสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับทุกคน การได้รับสวัสดิการถือเป็นสิทธิของพลเมืองทุกคน

ดังนั้นมาร์กซิสต์จึงมองว่า สังคมคอมมิวนิสต์ในอุดมคติจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่จำเป็นต้องมีรัฐสวัสดิการ ซึ่งตามทฤษฎีของมาร์กซิสต์ ส่วนใหญ่มองว่า รัฐสวัสดิการเป็นรูปแบบของทุนนิยมสมัยใหม่และเป็นส่วนหนึ่งของทุนนิยม เป็นการจัดการทางสังคมที่ให้สวัสดิการสังคมเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชั้น โดยเป็นการประนีประนอมของพวกนายทุน เพื่อให้ชนชั้นแรงงานยอมรับและอยู่ในระบบทุนนิยมต่อไปหรือเป็นการสร้างความชอบธรรมให้การดำรงอยู่ของรัฐทุนนิยม ปกปิดความไม่เสมอภาค ปิดบังการขูดรีดและประวิงเวลาของการปฏิวัติทางชนชั้นเท่านั้น

ในปัจจุบันลัทธิมาร์กซ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อจำกัดมากมาย เช่นเรื่องพลังที่ลดลงในการอธิบายสภาพสังคม อีกทั้งในปัจจุบันนี้ ลัทธิมาร์กซ์ก็ได้แตกสายแยกย่อยไปเป็นแนวคิดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ลัทธิมาร์กซ์ใหม่ (Neo-marxism) สำนักคิดแบบกรัมซี่ (Gramscian) เพื่อปรับให้เหมาะแก่การอธิบายบริบทสังคมในแต่ละช่วงเวลามากกว่า

ส่วนแนวคิดที่กำลังถูกพูดถึงคือแนวคิดแบบ “สังคมนิยม” ที่ไม่ได้มีแนวคิดสุดโต่งแบบคอมมิวนิสต์ ไม่ได้อาศัยการปฏิวัติเพื่อล้มล้าง แต่อาศัยการประนีประนอมกับทุนนิยมมากกว่า กลุ่มแนวคิดแบบสังคมนิยมมองว่า การที่จะทำให้ผู้คนเท่าเทียมกันนั้น ไม่ใช้การปฏิวัติล้มล้าง แต่เป็นการทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและแตกต่างกันให้น้อยที่สุด นายทุนและคนรวยจะต้องทำเพื่อส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตน รัฐบาลจะทำหน้าที่ในการทำให้ผู้คนในทุกชนชั้นมีความเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผ่านทางโครงการต่างๆ อย่างเช่น รัฐสวัสดิการ การเรียกเก็บภาษีจากนายทุนในจำนวนสูง เป็นต้น

บางครั้งสังคมนิยมจึงถูกนำไปใช้ควบคู่กับการปกครองแบบประชาธิปไตยได้ จึงเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม” (Democratic Socialism) ซึ่งถูกนำไปใช้ในหลายๆ ประเทศ ตัวอย่างที่สำคัญเช่น กลุ่มประเทศในสแกนดิเนเวียนั่นเอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า