Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ขอบคุณภาพจาก ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

ประเด็นคือ – ศาลยกฟ้อง บริษัทแจ๊คสันฯ ไม่ผิดฉ้อโกงขายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT 200 ให้กองทัพไทย ช่วงปี 2550-2552  ชี้แค่นำเข้าเครื่องมาขายไม่รู้เห็นการจัดทำเอกสารที่แสดงคุณสมบัติเท็จ 

วันที่ 28 มี.ค. 2561 ศาลแขวงดอนเมือง ศาลอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด GT200 หมายเลขดำ อ.1768/2560 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัทแจ๊คสัน อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ประกอบกิจการประเภทขายส่งเครื่องจักร เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงผู้อื่น โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอก ซึ่งการหลอกลวงนั้น ได้ทรัพย์สินไปตามประมวลกฎหมายหมายอาญา มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และ 91

คดีนี้อัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2560 ระบุพฤติการณ์ความผิดสรุปว่า ระหว่างวันเดือนใดไม่ปรากฏชัด ช่วงต้นปี 2550 – 14 กันยายน 2550 เวลากลางวัน จำเลยได้ฉ้อโกง ทุจริตด้วยการหลอกลวง จำหน่ายเครื่องตรวจวัตถุระเบิดอัลฟ่า 6 รุ่นคอมแพ็ค โดย บริษัท คอมแพ็คฯ ผู้จัดจำหน่ายในประเทศอังกฤษ ให้กับศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ) ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการในสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 8 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1,300,000 บาท รวม 10,400,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธ

ขอบคุณภาพจาก ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้ง 2 ฝ่าย ที่นำสืบหักลางกันแล้ว เห็นว่า ฝ่ายอัยการโจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานน้ำหนักเพียงพอให้เชื่อได้ว่า บริษัทจำเลยรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการจัดทำแคตตาล็อกแสดงคุณสมบัติเครื่องตรวจวัตถุระเบิดอันเป็นเท็จ ที่เกินจริง ว่าสามารถตรวจจับได้ทุกสถานการณ์ ทุกสสาร โดยไม่ต้องชาร์จไฟ ใช้ไฟฟ้าสถิตย์จากตัวผู้ใช้ แต่บริษัทฯจำเลย เป็นเพียงผู้นำเข้าเครื่องและเอกสารจากบริษัท คอมแพ็คฯ มาจำหน่ายอีกทอดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจำเลยไม่อาจล่วงรู้ได้ว่า ข้อความนั้นเป็นเท็จ หรือร่วมกับบริษัทผู้ผลิตกระทำการอันเป็นเท็จ ซึ่งหากพบการกระทำที่ร่วมบุคคลอื่น ก็ชอบที่กองบัญชาการกองทัพไทย ผู้เสียหายจะยื่นฟ้องคดีอาญา หรือฟ้องคดีแพ่ง เพื่อเรียกค่าเสียหายนั้นได้อีก ดังนั้น จำเลยคดีนี้จึงยังไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง

และวันนี้นายหยาง เซี๊ยะ เซียง ชาวจีนไต้หวัน กรรมการของบริษัทฯ จำเลย เดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาด้วย พร้อมกับนายคมสัน ศรีวนิชย์ ทนายความ ให้สัมภาษณ์ว่า คดีนี้ยังไม่มีการฟ้องเป็นคดีแพ่ง ยืนยันว่าบริษัท แจ็คสันฯ เป็นเพียงผู้นำเข้าเครื่องมา ไม่ใช่ผู้ผลิต ขณะที่ บริษัทผู้จำหน่ายในอังกฤษที่ถูกดำเนินคดี ศาลอังกฤษพิพากษายกฟ้องเช่นกัน ส่วนบริษัทผู้ผลิตก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง

จากข้อมูลที่สำนักข่าวอิศรา ระบุว่า ระหว่างปี 2548-2552 มีหน่วยงานของรัฐไทยที่จัดซื้อ GT200 อย่างน้อย 10 หน่วย รวม 34 สัญญา เป็นจำนวนทั้งสิ้น 836 เครื่อง คิดเป็นเงินกว่า 759 ล้านบาท

สำหรับหน่วยงานที่จัดซื้อมากที่สุด ก็คือ “กองทัพบก” หรือ ทบ. โดยกรมสรรพาวุธ ทหารบก รวม 12 สัญญา จำนวน 757 เครื่อง (คิดเป็น 90% ของจำนวน GT200 ที่มีหน่วยงานรัฐของไทยจัดซื้อทั้งหมด) รวมเป็นเงินกว่า 682 ล้านบาท

ทั้งนี้มีถึง 11 สัญญา ที่จัดซื้อในช่วงระหว่างที่ “พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน โดยขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก หรือ ผบ.ทบ. (ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 – เดือนกันยายน 2553) พอดิบพอดี มีเพียงสัญญาแรก สัญญาเดียวเท่านั้น ที่จัดซื้อขณะที่ “พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน” เป็น ผบ.ทบ. (ระหว่างเดือนตุลาคม 2548 – เดือนกันยายน 2550)

ทั้งหมดจัดซื้อจาก “บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด” (Avia Satcom Limited) ที่เป็นนายหน้าของบริษัทโกลบอลฯ ซึ่งปัจจุบันนายโบลตันเจ้าของบริษัท อยู่ระหว่างชดใช้โทษอยู่ในเรือนจำของอังกฤษ หลังศาลตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 7 ปีในคดีฉ้อโกง ตั้งแต่ปี 2556

ทั้งนี้ทุกสัญญาที่ ทบ. จัดซื้อ GT200 จะใช้ “วิธีพิเศษ” ทั้งหมด โดยอ้างเหตุผล 2 ข้อ คือกรณีจำเป็นเร่งด่วน และกรณีข้อจำกัดทางเทคนิค ต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ เมื่อแยกข้อมูลการจัดซื้อ GT200 ของ ทบ. เป็นรายปี
ปี 2550 ทบ. จัดซื้อ 1 สัญญา

สัญญาที่หนึ่ง 2 เครื่อง วงเงิน 1.8 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9.5 แสนบาท)
ปี 2551 ทบ. จัดซื้อ 7 สัญญา
– สัญญาที่หนึ่ง 24 เครื่อง วงเงิน 22.8 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9.5 แสนบาท)
– สัญญาที่สอง 33 เครื่อง วงเงิน 29.7 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)
– สัญญาที่สาม 68 เครื่อง วงเงิน 61.2 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)
– สัญญาที่สี่ 2 เครื่อง วงเงิน 1.8 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)
– สัญญาที่ห้า 19 เครื่อง วงเงิน 17.1 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)
– สัญญาที่หก 18 เครื่อง วงเงิน 16.2 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)
– สัญญาที่เจ็ด 45 เครื่อง วงเงิน 39.6 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)

ปี 2552 จัดซื้อ 4 สัญญา
– สัญญาที่หนึ่ง 222 เครื่อง วงเงิน 199.8 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)
– สัญญาที่สอง 129 เครื่อง วงเงิน 116.1 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)
– สัญญาที่สาม 30 เครื่อง วงเงิน 27 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)
– สัญญาที่สี่ 166 เครื่อง วงเงิน 149.4 ล้านบาท (ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 9 แสนบาท)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า