Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ- นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล แสดงความเห็น 11 ประเด็นหลักเกี่ยวกับ ฉลามในทะเลไทย หลังเกิดกรณีแชร์ภาพนักท่องเที่ยวได้รับบาดเจ็บ คาดว่าถูกฉลามกัดที่หัวหิน

จากกรณีที่มีการแชร์ภาพนักท่องเที่ยวได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ขณะเล่นน้ำที่บริเวณหาดทรายน้อย บ้านหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีการสันนิษฐานว่า อาจถูกฉลามกัดนั้น

ด้านผศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นเกี่ยวกับฉลามไว้อย่างน่าสนใจหลายประเด็น ตลอดจนข้อมูลเชิงสถิติคนโดนฉลามกัดในประเทศไทย ดังนี้

ผศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในเรื่องของฉลามที่ประจวบ ขอให้ความคิดเห็นในฐานะนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลครับ

อันดับแรก ผมไม่ทราบว่าเป็นการกัดของฉลามหรือไม่ เพราะไม่ได้เห็นบาดแผลโดยละเอียด ต้องสอบถามกับผู้ที่เห็นหรือผู้รักษา

อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้ความเห็นเกี่ยวกับฉลามไว้ดังนี้

1) ฉลามเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศ เป็นผู้ล่าคอยควบคุมสัตว์ที่อ่อนแอกว่า หากไม่มีฉลาม ระบบนิเวศทางทะเลย่อมเกิดผลกระทบ

2) ฉลามในเมืองไทยถูกล่าไปมาก แต่แน่นอนว่าก็ยังพอมีเหลือโดยเฉพาะฉลามขนาดเล็กหรือลูกฉลาม

มีผู้นำคลิปฉลามที่ว่ายเข้ามาในน้ำตื้น โดยบอกว่าอยู่แถวนั้น ฉลามที่เห็นในคลิปไม่ใช่ฉลามหูดำ แต่อาจเป็นลูกฉลามหัวบาตร

ฉลามหัวบาตรพบในทะเลไทยทั้งสองฝั่ง เมื่อโตเต็มที่อาจยาวเกิน 2 เมตร มีรายงานว่าจู่โจมคนในต่างประเทศ แต่ไม่เคยมีรายงานในไทย (เท่าที่พิสูจน์ได้)

ฉลามหัวบาตรที่พบในอ่าวไทย ส่วนใหญ่อยู่แถวจังหวัดชุมพร สมัยก่อนที่กองชุมพร (เกาะเต่า) มีฉลามหัวบาตรขนาด 1-1.5 เมตรเข้ามาเป็นประจำ กลายเป็นจุดทึ่นักดำน้ำสนใจไปดู

3) ฉลามขนาดเล็กและลูกฉลามบางครั้งว่ายเข้ามาในน้ำตื้นช่วงน้ำขึ้น/น้ำลง ทั้งในอ่าวไทยและอันดามัน มีคนพบเห็นเป็นประจำ บางครั้งก็เป็นข่าว เช่นเมื่อไม่กี่วันก่อน

4) ฉลามขนาดใหญ่ เช่น ฉลามขาว ไม่พบในไทย ฉลามที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ระดับสูง เช่น ฉลามเสือ แทบไม่มีใครเจอในเมืองไทยแล้ว (ผมเคยเจอครั้งสุดท้ายเมื่อกว่า 20 ปีก่อน) อาจพบตามแพปลาบ้าง แต่นับว่าน้อยมาก และบางครั้งไม่ได้จับมาจากทะเลไทย

5) รายงานฉลามจู่โจมมนุษย์ในเมืองไทยถึงขั้นเสียชีวิต เป็นเรื่องที่เกิดในอดีตหลายสิบปีมาแล้ว (เรื่องของนายแฉล้มกับฝรั่งที่ศรีราชา ก่อนผมเกิด)

6) ในช่วงหลายสิบปีหลังจากนั้น มีรายงานว่ามีคนโดนฉลามกัด โดยดูจากบาดแผล อาจมีอยู่บ้าง เพราะเมื่อมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น โอกาสที่ฉลามจะเจอคนก็มีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แต่ละปีมีการเล่นน้ำนับร้อยล้านครั้งในทะเลไทย แต่มีข่าวคนโดนฉลามกัด 1-2 ปีครั้ง อัตราส่วนน้อยมาก

7) การกัดของฉลามในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา ล้วนเป็นการกัดที่เท้า เป็นร่องรอยจากฉลามขนาดเล็ก มักเข้ามาหากินในน้ำตื้น ว่ายเลียบตามพื้น เมื่อเห็นเท้าคนเล่นน้ำก็อาจกัด เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปลา เมื่อรู้ว่าไม่ใช่ก็ว่ายจากไป ไม่ใช่พยายามเข้ามากัดซ้ำแล้วซ้ำอีกเหมือนในภาพยนตร์

8) ไม่มีใครเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสจากการกัดของฉลามในเมืองไทยในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา

9) ยังไม่มีเหตุการณ์ที่ฉลามจู่โจมซ้ำในพื้นที่เดิม ยกเว้นกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า 50 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถรับรองได้ว่าจะไม่เกิด ผมเพียงนำสถิติมาให้ทราบ

10) สำหรับผม เคยเจอฉลามมาเยอะ ในภาพที่เห็นก็เป็นภาพถ่ายของผมช่วงที่ฉลามเข้ามาหาตอนดำน้ำ ผมไม่กลัวฉลาม แต่แน่นอนว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัว

11) ในต่างประเทศที่พบฉลามขนาดใหญ่ เช่น ออสเตรเลีย แอฟริกา บางหาดมีคำเตือนเรื่องฉลามอยู่บ้าง บางแห่งที่มีฉลามขนาดใหญ่เข้ามาประจำก็อาจมีข่ายกันฉลาม แต่ข่ายดังกล่าวบางครั้งก็ติดปลาหรือสัตว์น้ำอื่น

สุดท้ายคือ ฉลามอยู่ในทะเล เป็นบ้านของเขา และเขาไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเราครับ

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก FB. Thon Thamrongnawasawat

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า