Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงการคลัง เตรียมพิจารณามาตรการช้อปช่วยชาติอีกครั้ง โดยครั้งนี้จะแตกต่างจากปีที่ผ่านมาๆ จะกำหนดสินค้าเฉพาะบางรายการ หรือบางกิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เท่านั้น และกำลังพิจาณาอยู่ว่าจะนำมาหักลดหย่อนภาษี หรือจ่ายชดเชยเป็นเงิน อีกทั้งยังเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือกลุ่มแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมครม.ในเดือนธันวาคม

วันนี้ (21พ.ย.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆออกมาให้ครบในช่วงเดือนธันวาคมนี้ โดยในส่วนของกระทรวงการคลังให้ดูรูปแบบของมาตรการช่วยช้อปช่วยชาติว่าจะออกมาในรูปแบบใด ส่วนธนาคารในกำกับของรัฐจะออกมาตรการที่ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้ครบวงจร

ส่วนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จะออกมาตรการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอาชีพขับแท็กซี่ โดยให้ผ่อนวันละ 300 บาท เป็นระยะเวลา 7 ปี และจะได้เป็นเจ้าของรถซึ่งดีกว่าการจ่ายค่าเช่า และเตรียมที่จะคิดโครงการในรูปแบบเดียวกันเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง แต่ในส่วนแรกจะออกมาตรการมาสำหรับรถแท็กซี่ก่อน

ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณามาตรการช้อปช่วยชาติ โดยคาดจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 61 – 15 ม.ค. 62 เป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยแนวทางเบื้องต้นของมาตรการช้อปช่วยชาติในครั้งนี้ จะแตกต่างจากมาตรการช้อปช่วยชาติครั้งก่อน ๆ คือ จะกำหนดสินค้าเฉพาะบางรายการ หรือบางกิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เท่านั้น เช่น การซื้อยางล้อรถยนต์เพื่อให้มีการใช้ยางพารามากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาพืชผลการเกษตรให้มีราคาดีขึ้น หรือการส่งเสริมการอ่านหนังสือ เมื่อซื้อหนังสือแล้วสามารถนำรายจ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้

ซึ่งขณะนี้ ยังไม่ได้สรุปแนวทางดำเนินการที่ชัดเจน โดยคงมีรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม รวมถึงกำลังดูในรายละเอียดด้วยว่า จะให้นำรายจ่ายมาหักลดหย่อนภาษี หรือจ่ายชดเชยเป็นเงิน รวมถึงต้องมาดูอีกว่าจะเอาเงินงบประมาณจากส่วนไหนมารองรับ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้วงเงินดำเนินการน้อยกว่ามาตรการช้อปช่วยชาติครั้งที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่า มาตรการช้อปช่วยชาติในปี 2560 ที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาจากการลดหย่อนภาษี คำนวณจากโครงสร้างภาษีรายได้บุคคล ที่กรมสรรพากรประกาศและคิดย้อนกลับเป็นฐานเงินเดือน กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้ เป็นกลุ่มคนที่มีเงินเดือนมากกว่า 25,000 บาทขึ้นไป ซึ่งมีประมาณ 3 ล้านคนทั่วประเทศจากผู้ที่เสียภาษีทั้งหมด 11 ล้านคน ซึ่งคนกลุ่มนี้ยังมีกำลังซื้อ หากมีมาตรการจูงใจที่มีประสิทธิภาพย่อมทำให้เกิดการใช้จ่าย

ส่วนกลุ่มที่เงินเดือนน้อยคือต่ำกว่า 15,000 บาท อาจมีภาระค่อนข้างสูง และมีปัญหาหนี้สินครัวเรือนค่อนข้างมาก อาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายสำหรับมาตรการดังกล่าว ซึ่งภาครัฐต้องพิจารณามาตรการที่เหมาะสม

ทั้งนี้ มาตรการช้อปช่วยชาติ นำมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2558 ระยะเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 25-31 ธ.ค. 2558  และครั้งที่ 2 วันที่ 14-31 ธ.ค. 2559 ระยะเวลา 18 วัน ส่วนครั้งที่ 3 วันที่ 11 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2560

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า