Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการกำหนด “พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” เพิ่มเติม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอ

วันนี้ (27 มี.ค. 61) เวลา 10.20 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) เสนอ ดังนี้

1. อนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า ค่าพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งดำเนินงานบริหารและซ่อมบำรุงโครงการ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรวมเป็นเวลา 50 ปี และเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสารของโครงการ (Ridership Risk) จัดเก็บรายได้จากการพัฒนาพื้นที่โครงการ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว ทั้งนี้ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนของประกาศ กนศ. โดยเคร่งครัดต่อไป

2. อนุมัติให้ รฟท. มีอำนาจร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก โดยรายละเอียดของการร่วมลงทุนอยู่ภายใต้หลักการของโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ได้รับอนุมัติไว้ในข้อ 1

3. อนุมัติค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ในกรอบวงเงินจำนวน 3,570.29 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณให้ รฟท. ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อการใช้จ่ายเงินจริงต่อไป

4. อนุมัติกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน ในวงเงินไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท ที่เป็นมูลค่าปัจจุบันตามที่ตกลงในสัญญาร่วมลงทุน โดยทยอยจ่ายให้เอกชนหลักจากเริ่มเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ ทั้งระบบแล้ว และแบ่งจ่ายเป็นรายปี โดยกำหนดระยะเวลาแบ่งจ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยให้กำหนดเงื่อนไขการชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนตามผลการดำเนินงาน เกณฑ์ประเมินผลผลิตที่เอกชนต้องส่งมอบ (Output Specification) ระดับในการบริการ (Level of Service) และระยะทางของการเดินรถไฟความเร็วสูงฯ ทั้งนี้ กรณีมีเหตุจำเป็น อาจให้ทยอยจ่ายเงินดังกล่าวให้เอกชนหลังจากเริ่มเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ บางส่วน โดยแบ่งจ่ายเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชนกับเอกชนตามระยะทางของการเดินรถไฟความเร็วสูงฯ โดยในกรณีดังกล่าว กนศ. จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ

5. เห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระหนี้โครงสร้างพื้นฐานของโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ของ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 22,558.06 ล้านบาท

6. เห็นชอบให้พื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ตั้งแต่สนามบินดอนเมืองถึงสุดเขตกรุงเทพฯ และรวมถึงสถานีสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่ภายนอกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” เพิ่มเติม ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

7. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงการคลัง (กค.) สงป. รฟท. สกรศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

แนวทางการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน

สาระสำคัญของหลักการของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ของ รฟท. ตามประกาศ สกรศ. เรื่อง รูปแบบและรายละเอียดของรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ พ.ศ. 2560 ข้อ 3 (ก) สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ

1.1.1 เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

1.1.2 เชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานในเขตกรุงเทพฯ และระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา แบบไร้รอยต่อ

1.1.3 พัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ และบริการผู้โดยสาร บริเวณสถานีรถไฟแอร์พอร์ต เรล ลิงก์มักกะสัน ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพฯ กับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway) และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชาเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร

แนวเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน โดยให้เอกชนเข้าร่วมทุน

1.2 ขอบเขตของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ประกอบด้วย 2 ส่วน

2.1 ส่วนของระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นระบบขนส่งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ด้วยบริการรถไฟแบบด่วนพิเศษจอดบางสถานี และใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ด้วยบริการรถไฟแบบปกติจอดทุกสถานี ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 147,000 คนต่อวัน ในปีที่เปิดให้บริการ (ปี 2566) ซึ่งส่วนของระบบขนส่งทางรถไฟดังกล่าว ประกอบด้วย

    1. โครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์เดิม ช่วงพญาไทถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 8 สถานี ใช้ความเร็วรถไฟในเมืองสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    2. โครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยายช่วงท่าอากาศยานดอนเมืองถึงพญาไท จำนวน 2 สถานี ใช้ความเร็วรถไฟในเมืองสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    3. โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ ถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา จำนวน 5 สถานี ใช้ความเร็วรถไฟระหว่างเมือง สูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน [ศูนย์ซ่อมบำรุงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ภายใต้โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Rail Link and City Air Terminal: ARL)] และศูนย์ซ่อมบำรุงในบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา (ศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งใหม่)

1.2.2 ส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ ประกอบด้วย

    1. บริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสันขนาดพื้นที่รวมประมาณ 150 ไร่ เป็นสถานีศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Main Station for EEC Gateway) โดยพื้นที่ดังกล่าวติดกับบริเวณโดยรอบ ดังนี้ ด้านทิศเหนือติดกับถนนจตุรทิศ ด้านทิศตะวันออกติดกับถนนอโศกมนตรี ด้านทิศใต้ติดกับถนนกำแพงเพชร 7 และด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดิน รฟท. ในส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงของ รฟท. ทั้งนี้ รูปแบบการพัฒนาที่ดินดังกล่าวจะเป็นลักษณะการเช่าซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเข่าเท่ากับ 50 ปี ซึ่งไม่เกินกว่าระยะเวลาของโครงการ
    2. บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชาขนาดพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ เป็นที่ดินว่างเปล่าของ รฟท. โดยพื้นที่ดังกล่าวติดกับบริเวณโดยรอบ ดังนี้ ด้านทิศเหนือติดกับทางหลวง 3241 ที่เชื่อมตอเข้ากับตัวเมืองของอำเภอศรีราชา ด้านทิศตะวันออกติดกับที่ดินเอกชน ด้านทิศใต้ติดกับถนนศรีราชา-หนองยายบู่ และด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดินเอกชน ทั้งนี้ รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นลักษณะการเช่าซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเท่ากับ 50 ปี ซึ่งไม่เกินกว่าระยะเวลาของโครงการ

1.3 ระยะเวลาโครงการที่เหมาะสม คือ 50 ปี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับภาครัฐและประหยัดงบประมาณ แบ่งเป็น

3.1 ระยะการพัฒนาโครงการฯ ได้แก่ งานการออกแบบและงานการก่อสร้าง เป็นระยะเวลา 5 ปี

3.2 ระยะการดำเนินงานของโครงการและงานการบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 45 ปี

ทั้งนี้ เงื่อนไขรายละเอียดเกี่ยวกับการเริ่มต้นและการสิ้นสุดการนับระยะเวลาดังกล่าว เป็นไปตามที่ รฟท. และเอกชนตกลงกัน

 

ขอบคุณภาพจาก: สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) / ภาพปกจาก narcity.com

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า