Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – กรมสุขภาพจิตเผยผลสำรวจพบเด็กไทยเป็นโรคดื้อต่อต้านเมินกฎระเบียบ ประมาณ 80,000 คนทั่วประเทศ ส่วนใหญ่มักพบในเด็กวัยเกิน 3 ขวบ

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตในกลุ่มเด็กอายุ 13-17 ปี ครั้งล่าสุดปี 2559 พบเด็กไทยอายุเกิน 3 ขวบ โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) มีประมาณ 80,000 คนทั่วประเทศ ในเด็กชายพบร้อยละ 2.3 เด็กหญิงร้อยละ 1.7 ซึ่งเด็กจะมีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม มีนิสัยดื้อต่อต้านไม่ฟังพ่อแม่ ไม่ทำตามกฎระเบียบ อารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่ายในระดับที่มากเกินกว่าเด็กทั่วไป สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นเป็นประจำ แต่ยังเข้ารับบริการน้อย

โรคนี้เกิดมาจากหลายสาเหตุร่วมกันทั้งตัวเด็กเองที่มีพื้นฐานเป็นเด็กอารมณ์ร้อน และสภาพแวดล้อมเช่นความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี ใช้ความรุนแรง ที่น่าเป็นห่วงพบว่ายังมีพ่อแม่มีความเชื่อผิดๆ คิดว่าเด็กดื้อตามปกติ จึงไม่ได้พาไปรักษา แต่ให้การดูแลตามความเชื่อ คือ ปล่อยไปตามธรรมชาติ เด็กน่าจะดีขึ้นเอง ไม่ขัดใจลูกเพราะกลัวลูกจะเครียด กลัวลูกออกจากบ้าน หรือลงโทษรุนแรงเพื่อดัดนิสัย และส่งไปอยู่กับญาติ หรือส่งไปอยู่โรงเรียนประจำ เพื่อดัดนิสัย ความเชื่อทั้งหมดนี้ไม่ได้ช่วยให้พฤติกรรมของเด็กดีขึ้น แต่ล้วนทำให้พฤติกรรมดื้อต่อต้านแย่ลงไปอีก ดังนั้นขอให้รีบพาไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อตรวจประเมิน หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

ลักษณะอาการเด่นๆ ของเด็กที่เป็นโรคดื้อมี 8 อาการ ได้แก่
1. แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
2. เถียงหรือชวนผู้ใหญ่ทะเลาะ
3. ท้าทายและฝ่าฝืนคำสั่งและกฎเกณฑ์บ่อยๆ
4. ตั้งใจทำให้คนอื่นรำคาญ
5. โทษหรือโยนความผิดให้คนอื่นบ่อย ๆ
6. หงุดหงิดและอารมณ์เสียง่าย
7. โกรธและไม่พอใจบ่อย ๆ
8. เจ้าคิดเจ้าแค้นอาฆาตพยาบาท

พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า หากผู้ปกครองพบลูกมีอาการ ขอให้พาไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อบำบัดพฤติกรรม เพราะต้องใช้ร่วมกันหลายวิธี ได้แก่ การทำจิตบำบัด, ฝึกให้เด็กควบคุมตัวเอง, ฝึกให้มีการแสดงออกที่เหมาะสมกับผู้ใหญ่ควบคู่กับการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัวหรือที่เรียกว่าครอบครัวบำบัด เพื่อลดความขัดแย้ง เพิ่มการสื่อสารที่เหมาะสมในครอบครัว ฝึกพ่อแม่ให้ปรับพฤติกรรมเด็กอย่างเหมาะสมถูกต้อง รวมทั้งร่วมมือกับครูที่โรงเรียนในการดูแลและช่วยปรับลดพฤติกรรมที่ไม่ดีระหว่างที่เด็กอยู่ในโรงเรียนด้วย

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่า เด็กที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้าน มักจะมีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า ซึ่งยาที่ใช้รักษาโรคนั้นๆ ก็จะช่วยให้พฤติกรรมดื้อต่อต้านดีขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า