Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข เตือน 10 เมนูที่ควรระวังในช่วงหน้าร้อน เสี่ยงป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย แนะยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ หากอาหารมีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทาน

วัน 6 มี.ค. 2562 นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี และอาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ ส่งผลให้ประชาชนมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โดยเฉพาะโรคอาหารเป็นพิษ ในช่วงนี้จึงขอแนะนำให้ประชาชนระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ

ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–24 กุมภาพันธ์ 2562 พบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ จำนวน 17,651 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 15–24 ปี รองลงมา คือ 25–34 ปี และอายุมากกว่า 65 ปี ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ อุบลราชธานี ตราด ลำพูน ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ตามลำดับ

นพ.อัษฎางค์ กล่าวต่อไป โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนพิษของเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิฯ ที่มากับอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารไม่สะอาด และอาหารที่ปรุงไว้นาน ไม่ได้แช่เย็นหรือนำมาอุ่นก่อน ประกอบกับในช่วงนี้อากาศที่ร้อนทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีและเพิ่มมากขึ้น สำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษที่ประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ 10 เมนู ได้แก่ 1) ลาบ/ก้อยดิบ 2) ยำกุ้งเต้น 3) ยำหอยแครง/ยำทะเล 4) ข้าวผัดโรยเนื้อปู 5) อาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด 6) ขนมจีน 7) ข้าวมันไก่ 8) ส้มตำ 9) สลัดผักที่มีธัญพืช และ 10) น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเมนูอาหารเหล่านี้ควรรับประทานเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ ขอให้หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ นอกจากนี้ อาหารกล่องควรแยกกับข้าวออกจากข้าว ควรรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากปรุงเสร็จ และหากมีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทาน

สำหรับการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ขอให้ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” โดยรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อน ไม่มีแมลงวันตอม ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ก่อน-หลังการเตรียมอาหาร และหลังขับถ่าย อาการของโรคคือ พะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพักๆ ถ่ายอุจจาระ ปวดหัว คอแห้งกระหายนํ้า และอาจมีไข้ร่วมด้วย เป็นต้น ในการช่วยเหลือเบื้องต้น ให้จิบน้ำผสมสารละลายเกลือแร่ (ORS) บ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า