Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“เวลาต้องการุณยฆาต มีสองเรื่องที่กังวล หนึ่งคือถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแปลว่าเราทำให้คนตาย สองคือถ้าไม่เรียบร้อยแปลว่าเราทำให้คนที่อยากตายไม่ได้ตาย” ความในใจหมอชาวเนเธอร์แลนด์ที่ปลิดชีวิตผู้ป่วยด้วยความปราณี

Bert Keizer คือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุชาวเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานให้กับ Levenseindekliniek หรือคลินิกปลายทางชีวิตที่ให้บริการ “การุณยฆาต” หรือช่วยให้ผู้ป่วยที่ถูกแพทย์ประจำตัวปฏิเสธทำคำร้องขออยากตายให้ได้สมหวัง เขาจะได้รับโทรศัพท์จากทางคลินิกประมาณเดือนละครั้งแจ้งว่ามีคนอยากตายให้ช่วยพิจารณาไปดูว่าจะสามารถทำให้คน ๆ นั้นสมหวังได้หรือเปล่า เฉพาะเมื่อปีที่แล้ว คุณหมอได้รับการร้องขอลักษณะนี้จากผู้ป่วย 22 คน คนและได้ตอบสนองความต้องการหรือก็คือกระทำการุณยฆาตไป 16 คน แต่ทุกเคส เขาต้องพบผู้ป่วยหลายครั้งก่อนตัดสินใจว่าคน ๆ นั้นเข้าข่ายได้รับการการุณยฆาตหรือไม่ ถ้าเขาเห็นสมควร ผู้ป่วยคนนั้นก็ต้องพบแพทย์อีกคน ซึ่งถ้าแพทย์อีกคนเห็นสมควรด้วย การการุณยฆาตจึงจะเกิดขึ้นได้

ในการการุณยฆาตนั้น คุณหมอมักให้ยากดประสาทแบบดื่มซึ่งผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในเวลา 10-15 นาที หากผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถกลืนได้ จึงจะเลือกวิธีฉีด “เวลาต้องการุณยฆาต มีสองเรื่องที่ผมกังวล หนึ่งคือถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแปลว่าเราทำให้คนตาย สองคือถ้าไม่เรียบร้อยแปลว่าเราทำให้คนที่อยากตายไม่ได้ตาย แต่ทุกอย่างต้องทำด้วยความระมัดระวังรอบคอบ มันเป็นความรับผิดชอบที่ใหญ่หลวงมากเพราะเมื่อทำไปแล้วไม่มีทางย้อนกลับไปแก้ไขอะไร ทุกครั้งที่ทำผมไม่เคยไม่กังวลเลยครับ”

การุณยฆาตเป็นเรื่องถูกกฎหมายในเนเธอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 2545 ผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะไม่สามารถอดทนต่อความเจ็บปวดจากโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายหรือดีขึ้นสามารถร้องขอที่จะตายได้ การที่แพทย์ให้ยาที่มีฤทธิ์ร้ายแรงถึงแก่ชีวิตแก่ผู้ป่วยไม่ว่าจะด้วยวิธีใดล้วนอยู่ภายใต้การยอมรับของกฎหมายแต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดเท่านั้น แต่กฎหมายไม่ได้บังคับให้แพทย์ต้องกระทำการุณยฆาตทุกครั้งที่ผู้ป่วยร้องขอ แพทย์ทุกคนมีสิทธิ์ปฏิเสธได้โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผล เฉพาะเมื่อปี 2559 มีผู้เสียชีวิตจากการุณยฆาตในเนเธอร์แลนด์ 6,091 รายหรือไม่ถึง 5% ของยอดผู้เสียชีวิตทั้งประเทศซึ่งอยู่ที่เกือบ 150,000 ราย

มีสองกรณีที่คุณหมอ Keizer จะไม่รับรองการการุณยฆาต กรณีแรกคือคนแก่ที่ไม่ได้เจ็บป่วยอะไรมากแต่ไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้ว กับอีกกรณีคือผู้ป่วยความจำเสื่อมที่ไม่สามารถพูดร้องขอด้วยสติสัมปชัญญะได้ถึงแม้เจ้าตัวจะเคยเขียนแสดงเจตจำนงไว้ก็ตาม

ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้มุมมองของคุณหมอ Keizer ที่มีต่อความตายเปลี่ยนไป “ความรู้สึกกลัวตายมีสองแบบ หนึ่งคือกลัวว่าจะเจ็บปวดหรือกลัวว่าจะน่าเกลียดตอนตาย และสองคือกลัวว่าจะไม่ได้อยู่ในที่ที่เคยอยู่อีกต่อไป สำหรับผม ผมว่าตอนนี้ความกลัวแบบแรกดีขึ้นมากแล้วเพราะการตายเป็นอะไรที่จัดการได้ ส่วนแบบที่สองออกจะเป็นเชิงปรัชญา แต่ผมไม่ได้เคร่งศาสนาและไม่คิดว่าจะมีชีวิตหลังความตายครับ”

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า