Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะกรรมการอาหารและยา เตือนผู้ที่กัญชา ให้ไปแจ้งครอบครองที่ อย. ก่อนจะหมดเขตวันที่ 21 พ.ค.นี้ ย้ำผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องรีบหากัญชาและมาแจ้งครอบครองในช่วงนี้

วันที่ 9 พ.คซ2562 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยถึงการแจ้งนิรโทษกรรมครอบครองกัญชา โดยระบุว่า ขณะนี้มีผู้แจ้งครอบครองแล้วกว่า 8,500 คน ซึ่งจำนวนผู้มาแจ้งจะเป็นตัวเลขพื้นฐาน ที่ใช้ในการเตรียมระบบและเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ เพื่อเตรียมยาไว้สำหรับคนกลุ่มนี้ ดังนั้นการมาแจ้งครอบครองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยจะหมดเขตแจ้งครอบครองกัญชาทางการแพทย์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2562 แต่เนื่องจากวันที่ 19 พฤษภาคม ตรงกับวันหยุดราชการ จึงให้มาแจ้งการครอบครองได้ในวันทำการถัดไป ซึ่งจะตรงกับวันที่ 21 พฤษภาคม 2562

ผู้ที่ครอบครองกัญชามาก่อนให้ดำเนินการดังนี้

1.ขอให้ไปพบแพทย์ที่ให้การรักษาและออกใบรับรองการเจ็บป่วยหรือโรคที่เป็น โดยขอให้แพทย์ลงชื่อในใบรับรองแพทย์และระบุเลขที่ใบประกอบวิชาชีพหรือเลขที่ใบรับรองหรือใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ

2.จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ แจ้งได้ที่ อย. ส่วนต่างจังหวัดแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยขอให้เตรียมบัตรประชาชน เอกสารแจ้งการมีกัญชา เอกสารรับรองอาการเจ็บป่วยจากแพทย์ และนำกัญชาที่ใช้ในการรักษาไปด้วย หากมีปริมาณมาก สามารถใช้รูปถ่ายได้ โดยถ่ายรูปกัญชาที่มีในครอบครองให้ครบถ้วน ชัดเจน และระบุที่อยู่พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้เพื่อเจ้าหน้าที่จะนัดหมายทำการตรวจสอบต่อไป

3. ก่อนเดินทางไปแจ้งการครอบครอง หากกลุ่มผู้ป่วยมีจำนวนมาก สามารถติดต่อหรือโทรศัพท์ประสานกับ อย. หรือ สสจ. เพื่อแจ้งชื่อ นามสกุล กำหนดวัน เวลานัดที่จะเดินทางไปแจ้งการครอบครองได้ สามารถกรอกแบบการแจ้งครอบครองเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว และนำยากัญชาหรือน้ำมันสกัดกัญชาที่ใช้ในการรักษาโรคพร้อมเอกสารต่างๆ ไปแจ้งครอบครองตามที่ได้มีการนัดหมายไว้

ทั้งนี้ ทางสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ประสานมาที่ อย.นำเครือข่ายเกษตรกรและครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาแจ้งการครอบครองฯ เป็นกรณีพิเศษ ในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2562 นี้ ที่ อย. จำนวน 300 ราย ด้วย ซึ่ง อย. ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแล้ว

เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการระบุถึงอาการหรือโรคที่สามารถใช้ประโยชน์จากสารสกัดกัญชาในการรักษา โดยมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนชัดเจน และบางโรค เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ปลอกประสาทอักเสบ ควรมีข้อมูลศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงความปลอดภัยและประสิทธิผล รวมทั้ง บางโรคยังขาดข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ เช่น โรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ดังนั้น การนำสารสกัดกัญชามาใช้รักษาโรค จึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ และผู้ที่ยังไม่เคยใช้สารสกัดกัญชารักษาโรคไม่จำเป็นต้องรีบหาผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อมาแจ้งขอครอบครองในช่วงนี้ โดยสถานการณ์ขณะนี้หลายหน่วยงานกำลังอยู่ในระหว่างเร่งศึกษาวิจัยเพื่อผลิต สารสกัดกัญชาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักการแพทย์ มีการอบรมแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา การใช้สารสกัดกัญชาภายใต้ การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีระบบการเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างรอบคอบรัดกุมจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยามากขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า