Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บ้านสมเด็จโพลล์เผย คนกรุงร้อยละ 77.5 เป็นหนี้จากเรื่องบ้าน และร้อยละ 53.4 ผิดนัดผ่อนชำระ ตั้งเดือน ม.ค.-ก.ย.มีบริโภคร้องเรื่องการเงินการธนาคารกว่า 300 ราย เป็นหนี้บัตรเครดิตมากสุด พร้อมจี้รัฐเข้มงวดบังคับใช้ พ.ร.บ. ทวงหนี้โดยเคร่งครัด

วันที่ 10 ต.ค. 2561 นิตยสารฉลาดซื้อร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แถลงข่าว ‘เผยผลทดสอบ หนี้ครัวเรือนคนกรุง’ ผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหนี้สินครัวเรือน จากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,171 กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 24-28 สิงหาคม 2561

ผศ.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ ต้องการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องหนี้สินครัวเรือน ซึ่งจากข้อมูลพบว่า 77.5% ของกลุ่มตัวอย่าง มีหนี้สิน โดย 37.6% เป็นหนี้เกี่ยวกับการกู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ รองลงมา 28.2% เป็นการกู้ซื้อรถยนต์ อันดับสาม 18.8% เป็นการกู้ยืมเงินจากหนี้นอกระบบ และ 17% เป็นการกู้ยืมสินเชื่อส่วนบุคคล

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นหนี้ก่อ ปี 2561 ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันการซื้อบ้าน ที่พักอาศัย เป็นเหตุผลหรือความจำอันดับแรกที่ทำให้คนกรุงต้องเป็นหนี้ สำหรับแหล่งเงินกู้อันดับหนึ่ง หรือ 36.4% คือ ธนาคารพาณิชย์ รองลงมา 16.7% คือ บริษัทไฟแนนซ์/ลิสซิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบหนี้ คือ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ อย่างไรก็ตาม 15.3% ยังต้องใช้บริการของคนปล่อยกู้ (หนี้นอกระบบ)

นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงตัวเลขหนี้สินหรือการกู้ยืมเงิน พบว่า 40% เป็นหนี้น้อยกว่า 100,000 บาท รองลงมา 30% เป็นหนี้ในช่วง 1-5 แสนบาท และอันดับสาม 17.4% เป็นหนี้ในช่วง 5 แสน – 1 ล้านบาท สำหรับสภาพคล่องในการชำระหนี้ พบว่า 53.4% เคยผิดนัดผ่อนชำระ และ 34.4% ไม่เคยผิดนัดผ่อนชำระ

ส่วนเรื่องความรู้เกี่ยวกับเรื่องหนี้ คนกรุงส่วนใหญ่ 67.5% ทราบข้อมูลเรื่องอัตราดอกเบี้ยของการกู้ยืมเงิน ขณะที่ 52.3% ทราบว่า มีกฎหมายเรื่องทวงถามหนี้ และ 46.3% ที่เคยถูกทวงถามหนี้ โดย 33.5% ถูกทวงถามหนี้ในลักษณะของจดหมาย รองลงมา 19.6% เป็นการพูดจาไม่สุภาพ และ 15.4% คิดดอกเบี้ยแพงเกินจริง ตามลำดับ

ผศ.สิงห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มีกลุ่มตัวอย่าง 22.8% ที่เคยถูกดำเนินคดีฟ้องศาล หรือยึดทรัพย์ และเมื่อสอบถามถึงมาตรการที่ทางรัฐดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้ พบว่า ประมาณ 40% ทราบว่า มีแหล่งสินเชื่อที่เป็นมาตรการใหม่ เช่น คลินิกแก้หนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง (สินเชื่อพิโก) และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับของ ธปท. (นาโนไฟแนนซ์)

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ และ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า การช่วยเหลือของภาครัฐ เช่น สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง (สินเชื่อพิโก) และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับของ ธปท. (นาโนไฟแนนซ์) นั้น มีการคิดดอกเบี้ยที่สูงถึง 36% ต่อปี ซึ่งไม่ได้เป็นการช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างแท้จริง รัฐควรกำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด 15% ต่อปี หากจะช่วยคนที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ที่แท้จริง

ด้าน นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มพบ. กล่าวว่า ข้อมูลจาก มพบ. และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2561 มีการร้องเรียนเรื่องการเงินการธนาคาร รวม 392 ราย เป็นปัญหาเรื่องหนี้ 349 ราย ซึ่งแบ่งเป็น ปัญหาหนี้จากบัตรเครดิต 160 ราย, หนี้จากการเช่าซื้อ 105 ราย, หนี้จากสินเชื่อ 80 ราย และ หนี้นอกระบบ 4 ราย นอกจากนี้ มีผู้บริโภคจำนวนมากถึง 152 ราย ที่ถูกดำเนินคดี และ 11 รายถูกทวงหนี้ผิดกฎหมาย

นางนฤมล กล่าวต่อว่า จากการสอบถามลูกหนี้ได้รับทราบว่า บางรายไม่ทราบว่ามีกฎหมาย พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ ส่วนบางรายที่ทราบและไปแจ้งความ ตำรวจก็ไม่รับแจ้งความ ทั้งที่เป็นหน้าที่ หรือบางกรณี ลูกหนี้จะถูกคิดค่าติดตามทวงถามหนี้ที่สูงมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเสนอให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการ ดังนี้ 1. เสนอให้เร่งพิจารณาการออกหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ 2. ให้คณะกรรมการจัดให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เรื่อง พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ 3. ขอให้คณะกรรมการ มีหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอธิบดีกรมการปกครอง สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของตนถือปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.ทวงถามหนี้โดยเคร่งครัด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า