Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รองปลัด สธ.เผยบริจาคนมแม่ควรทำผ่านระบบ ธนาคารน้ำนม ที่มีระบบการฆ่าเชื้อ ช่วยให้มีความปลอดภัย แนะแม่หลังคลอดให้ลูกกินนมตนเองดีที่สุด

วันที่ 9 ต.ค.2561 จากกรณีกระแสดรามาโครงการ “นมจากเต้าเราให้ฟรี” แบ่งปันให้เด็กๆ ยากไร้ที่ไม่มีน้ำนม ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจจะไม่ปลอดภัย

ล่าสุด พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เป็นความตั้งใจดี แต่การแจกจ่ายกันเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ถูกต้อง เพราะนมแม่จากการบริจาคมีความจำเป็นสำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือทารกน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ หรือเด็กป่วยโดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับลำไส้

ภาพประกอบจากเพจ Iiuu Thammarat

นมแม่ที่บริจาคจะต้องผ่านกรรมวิธีตรวจและฆ่าเชื้อโรคแล้วอย่างมีมาตรฐาน ต้องมีระบบธนาคารน้ำนมที่เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์ และมีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบทางการแพทย์อื่นๆ

สำหรับคุณแม่ที่จะบริจาคนมจำเป็นต้องได้รับการซักประวัติ และการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการว่า ไม่มีการติดเชื้อ ไม่ใช้ยา และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพน้ำนมที่บริจาค และนมที่ได้รับบริจาคจะต้องถูกตรวจสอบจากธนาคารน้ำนม มีการตรวจคัดกรองเชื้อโรคต่างๆ

ทั้งนี้ ธนาคารน้ำนม จะกำจัดเชื้อโรคในน้ำนม ทั้งแบคทีเรียและไวรัส ส่วนสารอาหารในน้ำนมบริจาคจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ทำให้เด็กยังได้รับประโยชน์จากคุณค่าสารอาหารแต่ในส่วนของภูมิคุ้มกันมักสลายไปพอสมควร ถ้าเทียบกับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากนมแม่ของตัวเองโดยตรงโดยไม่ผ่านกระบวนการ ดังนั้น จึงไม่สนับสนุนการบริจาคนมให้กันเองโดยไม่มีการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อ เพราะอาจมีผลต่อสุขภาพของเด็กทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

พญ.อัมพร กล่าวว่า เด็กควรได้รับนมจากแม่ตนเองดีที่สุดเนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์สูงสุด ซึ่งประกอบไปด้วยคุณค่าจากน้ำนมแม่ที่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต พัฒนาสมอง จอประสาทตา ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และคุณค่าจากกระบวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเด็กที่ปกติจะสนับสนุนให้กินนมแม่ของตนเองอย่างน้อยหกเดือนเพื่อช่วยสร้างภูมิต้านทานต่อต้าน เชื้อโรค และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจลดภาวะเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้, หอบหืด และหูอักเสบ เป็นต้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า