Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนเปิดผลสำรวจด้านมืดในโลกออนไลน์ ดูหมิ่น เหยียดหยาม สร้างความเกลียดชังใน YouTube 78.5% Facebook 37.6% ส่งผลกระทบต่อจิตใจเยาวชน 42% ขณะที่ สสส. ผนึก 5 องค์กร ต่อต้าน Fake News ก่อนสังคมแตกแยก

วันที่ 11 ก.ค.2562 วานนี้ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบัน ChangeFusion ศูนย์นโยบายดิจิทัลแห่งอาเซียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิฟรีดริช เนามัน Friedrich Naumann Foundation for Freedom และ Center for Humanitarian Dialogue (CHD) จัดเวทีเสวนานักคิดดิจิทัล (Digital Thinkers Forum) หัวข้อ “แพลทฟอร์มสื่อดิจิทัลกับการรับมือข่าวลวง ความเกลียดชังและด้านมืดในโลกออนไลน์” เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อน และร่วมสร้างกลไกเฝ้าระวังข่าวลวงโดยภาคประชาชน สืบเนื่องจากงาน “International Conference on Fake News” ที่ได้มีการลงนามร่วมประกาศปฏิญญารวมพลังขับเคลื่อนต่อต้านข่าวลวงข่าวปลอม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา

สสส. ร่วมขับเคลื่อนและร่วมสร้างกลไกการรับมือและต้านข่าวลวงโดยมุ่งเน้นการพัฒนา “คน” ทุกวัยสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ตื่นรู้ มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ มีวิจารณญาณในการเลือกสรร ตรวจสอบ กลั่นกรองแหล่งที่มา และร่วมกันเฝ้าระวังข่าวลวงผ่าน 4 กลไกหลัก คือ
1) ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรู้ และมีทักษะเท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถใช้สื่อเป็นเครื่องมือดูแลตนเองและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีสุขภาวะที่ดี
2) การสนับสนุนให้เกิดกลไกตรวจสอบและเฝ้าระวังข่าวลวงโดยภาคประชาชน
3) การพัฒนาองค์ความรู้งานวิจัยเชิงลึกอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาข่าวลวงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของสังคมไทย
4) สื่อสารสร้างความตระหนักแก่สังคมถึงปัญหาข่าวลวงที่พลเมืองในสังคมต้องร่วมกันเป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวัง และสื่อสารด้วยความรับผิดชอบ

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ

น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน เปิดเผยสถิติการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังในสื่อสังคมออนไลน์พบว่า ระดับความรุนแรงจากการยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังต่อประชาชนโดยการกล่าวหา พูดดูหมิ่น เหยียดหยาม ทำให้ขบขัน ผ่าน YouTube 78.5% เว็บบอร์ด 53% Facebook 37.6% และส่งผลกระทบต่อเยาวชนสูงถึง 42%

การจัดการกับการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง คือ
1) รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์นั้นๆ เพื่อส่งสัญญาณไปยังผู้โพสต์ว่าข้อมูลนั้นไม่เป็นที่ต้อนรับในสังคม
2) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา โดยการสนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ เป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ สร้างเครื่องมือที่ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางอัตลักษณ์และวัฒนธรรม

ทั้งนี้ ภายในงานมีผู้แทนภาคีเครือข่าย นักวิชาการ นักวิชาชีพ ในประเทศไทย เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “บทบาทผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ในการรับมือข่าวลวง บทเรียนจากสากลสู่สังคมไทย” และ หัวข้อ “สังคมควรใช้เทคโนโลยีสู้กับข่าวลวง ความเกลียดชัง และด้านมืดยุคดิจิทัลอย่างไร”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า