Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

(ภาพประกอบ)

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขีดเส้น 60 วัน ให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ทบทวนการยกเลิกใช้สารเคมีพาราควอต ในวันที่ 1 มกราคม 2563

วันที่ 25 เม.ย. นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยมติที่ประชุมกรณีคณะกรรมการวัตถุอันตรายไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินในการยกเลิกสารเคมี “พาราควอต” โดยมีข้อเสนอแนะ ต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ให้ทำการยกเลิกสารเคมีพาราควอต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 และเร่งพัฒนาวิธีทดแทน พร้อมให้เร่งดำเนินการถ่ายทอดความรู้ถึงความอันตรายของพาราควอตู่ประชาชนโดยเร็ว

โดยผู้ตรวจการฯ มีมติยืนยัน ข้อเสนอแนะเดิมและกำหนดเวลา 60 วัน ให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายไปดำเนินการพิจารณาทบทวนการยกเลิกให้เป็นผลสำเร็จภายในเวลาที่กำหนด และหากคณะกรรมการวัตถุอันตรายไม่ดำเนินการ จะต้องชี้แจงเหตุผลให้เพียงพอ

หลังจากนี้ ทางผู้ตรวจการฯ จะเสนอเรื่องต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้นำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ส่วนเหตุผลที่ผู้ตรวจการฯ ยังคงยึดมติให้ยกเลิกนั้น เนื่องจากกว่า 50 ประเทศ มีการยกเลิกสารเคมีพาราควอต รวมถึงประเทศมาเลเซียที่กำลังจะมีประกาศยกเลิกเช่นกัน และมีผลแน่ชัดว่า “พาราควอต” ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยที่ไม่มีป้ายแสดงเตือนถึงความอันตราย

ข้อถกเถียงเรื่องพิษ พาราควอต 

สำนักบีบีซีไทย รายงานว่าสำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ระบุว่า พาราควอตมีพิษสูง แค่การกินเพียงจิบเดียวก็ถึงแก่ชีวิตได้ โดยไม่มียาถอนพิษ เมื่อปี 2009 องค์การอนามัยโลกจัดให้พาราควอตเป็นสารเคมีอันตรายปานกลาง แต่มีข้อสังเกตในรายงานว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวหากถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายและเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากรับประทาน หรือสัมผัสกับผิวหนังในบริเวณกว้าง

ด้านศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รายงานสถิติผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษพาราควอต ช่วงปี 2553-2559 ว่ามีจำนวน 4,223 ราย มีผู้เสียชีวิตคิดเป็น 46.18% สาเหตุหลักเกิดจากการนำไปใช้ฆ่าตัวตาย 56.60% สถิติที่น่าในใจอีกอย่างหนึ่งคือ มีผู้เสียชีวิตด้วยพาราควอตจากการประกอบอาชีพ 8.19% คิดเป็นจำนวน 171 ราย

สำหรับพาราควอต เป็นชื่อของสารเคมีกำจัดวัชพืช หรือยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรนิยมใช้ในพืชไร่ เป็นยาเผาไหม้ออกฤทธิ์เร็ว ทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวและตายได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง โดยไม่มีฤทธิ์ทำลายระบบรากของพืชประธาน ใช้ในไร่อ้อย มันสำปะหลัง และสวนยางพารา

ปี 2560 ไทยนำเข้าสารพาราควอต 44,501 ตัน มูลค่า 3,816 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงเป็นอันดับหนึ่งของวัตถุอันตรายที่นำเข้ามาในไทย ตามด้วยสารไกลโฟเซต ที่ไทยนำเข้า 59,852 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,283 ล้านบาท

อ่านจริงหรือไม่ พาราควอตไม่ผิดกฏหมาย แต่อันตรายถึงชีวิต

ขอบคุณภาพประกอบจาก :  ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติและสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า