Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาพัฒน์เผยโควิดพ่นพิษกระทบแรงงานไทยว่างงานกว่า 2 ล้านคนสูงสุดในรอบ 11 ปี ขณะที่หนี้ครัวเรือนพุ่งดีพีอยู่ที่ 80.1% สูงสุดในรอบ 4 ปี

วันที่ 17 ส.ค.2563 นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาส 2/63 ว่า มีผู้ว่างงาน 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากช่วงปกติ และเป็นอัตราสูงสุดตั้งแต่ไตรมาส 2/ 52 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผลจากสถานที่ทำงานปิดกิจการในช่วงสถานการณ์โควิด-19 หรือหมดสัญญาจ้างทั้งนี้ ส่งผลให้จำนวนผู้ว่างงานสะสมในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านกว่าคน เป็นผู้ว่างงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมประมาณ 400,000 คน ส่วนที่เหลืออีกราว 1.7 ล้านคน แม้จะว่างงานแต่ยังมีสถานะของการจ้างงานอยู่ เพียงแต่ไม่ได้รับเงินจากนายจ้างเนื่องจากธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ต้องหยุดกิจการหรือปิดตัวชั่วคราว ซึ่งเมื่อสถานการณ์กลับมาคลี่คลายได้ปกติแล้ว ในกลุ่มนี้ก็จะมีสถานะการจ้างงานกลับเข้ามาตามเดิม

ขณะที่การจ้างงานปรับตัวลดลงโดยผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน ลดลง -1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลดลงทั้งผู้มีงานทำในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยสาขาที่มีการจ้างงานลดลงมาก ได้แก่ สาขาก่อสร้าง, สาขาการผลิต, สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ขณะที่สาขาขายส่ง/ขายปลีก ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากยังสามารถเปิดกิจการได้ในบางส่วนอย่างไรก็ตาม เชื่อว่าตัวเลขการว่างงานในปีนี้คงจะไม่ได้สูงถึง 7-8 ล้านคนอย่างที่หลายฝ่ายกังวล เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวได้แล้วบางส่วน การป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิดของประเทศไทยก็ทำได้ดีกว่าหลายประเทศ แต่ยังเป็นห่วงแรงงานในกลุ่มอาชีพอิสระอีก 16 ล้านคน เนื่องจากกลุ่มนี้มีความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วโอกาสเสี่ยงของผู้ว่างงานในอาชีพอิสระก็จะลดลง

เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/63 ว่ามีมูลค่า 13.48 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% เทียบกับช่วงเดียวกัของปีก่อน แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาส 4/62 อยู่ที่ระดับ 5.1% โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ 80.1% สูงสุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2/59ทั้งนี้ มองว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือต่อจีดีพีไตรมาส 2 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามระดับการหดตัวของเศรษฐกิจที่จะรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งต้องเฝ้าระวังและติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจ ปัญหาภัยแล้ง และความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดจากไวรัสโควิด ทำให้ภาคครัวเรือนเผชิญกับปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางการเงินที่ต่อเนื่องมาจากโครงสร้างทางการเงินของครัวเรือนที่เปราะบาง

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า