Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดศูนย์รับซื้อน้ำนมดิบ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมมหาสารคาม จำกัด เพื่อส่งเสริมและพัฒนาด้านปศุสัตว์ให้ครบวงจร ตามแนวคิด “มหาสารคามโมเดล” 

ที่ศูนย์รับซื้อน้ำนมดิบ สหกรณ์โคนมมหาสารคามจำกัด ต.หนองสิม อ.บรบือ จ.มหาสารคาม นายนิวัฒน์ สุธีมีชัยกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมและพัฒนาด้านปศุสัตว์ โคเนื้อโคนมแบบครบวงจร ภายใต้นโยบายการตลาดนำการผลิต “มหาสารคามโมเดล” โดยมี นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม, เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ, ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม, หัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงโคนม จังหวัดมหาสารคาม ร่วมต้อนรับ

นายบรรพต ภูลายยาว ประธานกรรมการ ในนามสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม มหาสารคาม จำกัด กล่าวว่า สหกรณ์แห่งนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์ เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2538 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 96 ราย มีสินทรัพย์ 37,707,183.58 บาท มีการรวบรวมน้ำนมดิบเป็นธุรกิจหลัก คือธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจสินเชื่อตามลำดับ

ในปีงบประมาณ พ.ศ 2560 สหกรณ์ได้รับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ตามแผนบูรณาการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ โครงการพัฒนาอาหารเกษตรปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารสัตว์ ธนาคารโคนมทดแทน ได้รับสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องผสมอาหาร tmr รถแทรกเตอร์ เครื่องสับบดอาหารสายพานลำเลียง เครื่องตัดหญ้าแบบ Double Top วัสดุก่อสร้างโรงเรือนโคนมทดแทน 5 โรง ซึ่งในปี 2560 ได้เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่สหกรณ์ด้วย

และด้วยความตระหนักถึงความต้องการของสมาชิกประกอบกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีวิสัยทัศน์จะพัฒนาด้านการอุตสาหกรรมโคนมไทยทั้งระบบ แก้ปัญหาด้านต้นทุนการผลิตและการตลาดของการเลี้ยงโคนมสหกรณ์ จึงพยายามพัฒนาการผลิตน้ำนมให้มีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต ยกระดับให้ได้มาตรฐานตามที่คณะกรรมการอาหารและยากำหนด รวมทั้งเป็นตามประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน ให้สามารถแข่งขันการพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบในระดับสากลได้

ทั้งนี้สหกรณ์ได้ดำเนินการกู้ยืมเงินจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขากันทรวิชัย จำนวน 10 ล้านบาท สำหรับบริการสมาชิกในเขต อ.บรบือ และอำเภอใกล้เคียง มีสมาชิกมาใช้บริการ สามารถรับซื้อน้ำนมดิบ โดยเฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 8 ตันต่อวัน อนาคตสหกรณ์จะรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเข้าเป็นสมาชิก และคาดว่าจะสามารถรวบรวมน้ำมัน น้ำนมดิบ ได้เพิ่มขึ้น

นายนิวัฒน์ สุธีมีชัยกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การขับเคลื่อน การตลาดนำการผลิต หรือ “มหาสารคามโมเดล” ที่เกิดจากแนวคิดในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร โดยการรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีอำนาจต่อรองราคา มีการลดต้นทุนการผลิตเพิ่มคุณภาพสินค้า มีการจัดหาตลาดและช่องทางการจำหน่าย การรวมกลุ่ม การซื้อขายซึ่งกันและกัน ภายใต้สโลแกน “โคนมมหาสารคาม ต้องกินมันมหาสารคาม เพื่อคนมหาสารคามจะได้กินนมโคมหาสารคาม” เป็นการส่งเสริมและพัฒนาด้านปศุสัตว์ให้ครบวงจร ซึ่งต้องพัฒนาตั้งแต่ผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นต้นน้ำ ควบคู่กับงานปศุสัตว์ไปพร้อมกัน ซึ่งถือเป็นความคิดที่ดี โดยการใช้ตลาดนำการผลิต จึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนให้ก้าวไปด้วยกันเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาล

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า