SHARE

คัดลอกแล้ว

การเสวนาเรื่องวัคซีนโควิด-19 หัวข้อ “ผ่าวัคซีน COVID-19 ฟังชัดๆ กับ 3 สถาบัน” โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วม เมื่อ 11 พ.ค. 2564 ผ่านทางเฟซบุ๊ก รามาแชนแนล Rama Channelเป็นการรวบรวมคำถามจากสังคมที่มีความกังวล สงสัย เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

สำหรับผู้เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ประกอบด้วย

  1. ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. รศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดต่อแห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. ศ.นพ.พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ สาขาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สรุปเป็นคำถามดังนี้

  1. การฉีดวัคซีนโควิดในไทยมีคนเสียชีวิตไหม

ตอบ : ไม่มีคนเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน แต่ทุกวันมีคนเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เทียบเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 ของประชากรประเทศ ดังนั้นควรกลัวโรคมากกว่ากลัววัคซีน

 

  1. ผลข้างเคียงที่เกิดจากการฉีด เป็นอย่างไร

ตอบ : ผลข้างเคียงที่เป็นแผลบริเวณที่ฉีดพบประมาณ 1 ในแสนคน ส่วนผลข้างเคียง ปวด แสบ บวม แดง บริเวณที่ฉีดมีรายงานไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์

 

  1. ฉีดวัคซีน แล้วมีไข้ หมายถึงวัคซีนเริ่มทำงานจริงไหม

ตอบ : จริง และหากไข้สูง หมายความว่าภูมิคุ้มกันจะยิ่งเยอะ แสดงถึงปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองกับวัคซีน โดยเฉพาะคนที่อายุน้อย จะมีไข้เยอะ และอาการเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ยืนยันว่าปลอดภัย โดยจะมีอาการประมาณ 1-2 วันแล้วจะหายเป็นปกติ

 

  1. ฉีด กับ ไม่ฉีด ต่างกันอย่างไร

ตอบ : ต่างกันมาก เพราะเมื่อฉีดวัคซีนแล้วโอกาสที่จะติดเชื้อจะลดลงทันทีครึ่งหนึ่ง และเมื่อฉีดครบ 2 โดส ภูมิคุ้มกันร่างกายจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่งแล้วจะยิ่งดี

 

  1. การฉีดวัคซีน มีข่าวมากมายเรื่องผลข้างเคียง ควรรอก่อนไหม

ตอบ : วิกฤตนี้ต้องแก้ปัญหาด้วยวัคซีน จะเห็นจากที่ทั่วโลกพยายามหาวัคซีน และทั่วโลกฉีดไปแล้ว 1,300 ล้านโดส จากเป้าหมาย 10,000 ล้านโดส สำหรับไทยมีเป้าหมาย 100 ล้านโดส

 

  1. โอกาสในการเกิดผลข้างเคียงกรณีลิ่มเลือดอุดตันหลังการฉีดเกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน

ตอบ : โอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ในคนไทยมีโอกาสเกิดน้อยกว่าคนตะวันตก อาจมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมของคนไทย สำหรับข่าวที่เราได้ยินจากฝั่งอังกฤษหรือยุโรป เป็นการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ ซึ่งนอกจากลิ่มเลือดอุดตันแล้วยังมีภาวะเกล็ดเลือด และโอกาสเกิดมีน้อยมาก คือ 1 ในแสนถึง 1 ในล้าน ซึ่งเกิดจาการตอบสนองของร่างกายต่อภูมิคุ้มกันที่ไปกระตุ้นเกล็ดเลือด เป็นอาการที่รักษาได้ แต่หากติดเชื้อโควิด-19 โอกาสเกิดเข้าหาลิ่มเลือดอุดตันมีสูงมากกว่าจากการฉีด และในไทยยังไม่พบภาวะลิ่มเลือกอุดตันจากการฉีด

 

  1. อาการชาครึ่งซีก หลักการฉีดเกิดจากอะไร

ตอบ : เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากความไม่พร้อมของร่างกาย อ่อนเพลีย กลัว จึงเกิดอาการเหมือนชาครึ่งตัว อ่อนแรง อาการจะเป็นประมาณ 1-2 วัน จะหายเป็นปกติ บางคนอาจใช้เวลาประมาณ 1สัปดาห์ แต่ไม่มีใครพิการ เสียชีวิต หรือเป็นอันตรายถาวร หรือ เรื้อรัง

 

  1. ฉีดวัคซีน ยี่ห้อไหน ดีกว่ากัน

ตอบ : ไม่ว่ายี่ห้อไหนก็ไม่ต่างกัน

วัคซีนแต่ละตัวมีการทดลองในช่วงเวลา และสถานที่ต่างกัน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันตรงๆ ได้ แต่ทุกยี่ห้อมีประสิทธิภาพในภาพรวมไม่ต่างกันมาก อย่าง 2 ตัวที่ไทยมีตอนนี้คือ แอสตราเซเนกา กับ ซิโนแวค แทบไม่ต่างกัน การเปรียบเทียบควรเป็นการเทียบว่าฉีดให้ประชาชน 20 เปอร์เซ็นต์ 40 เปอร์เซ็นต์ หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ จะลดการแพร่ระบาดได้ต่างกันในแต่ละพื้นที่อย่างไร

ยกตัวอย่าง อิสรารเอล ฉีดไฟเซอร์ สหรัฐอเมริกา ใช้ไฟเซอร์ โมเดอร์นา อังกฤษ แอสตราเซเนกา จะเห็นว่าเมื่อฉีดแล้ว ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ จำนวนผู้ป่วยลดลงการเสียชีวิตลดลง และมีงานตีพิมพ์จากสกอตแลนด์ ที่ใช้วัคซีนสองยี่ห้อ คือ ไฟเซอร์ กับ แอสตราเซเนกา อย่างละครึ่งฉีดให้กับประชากรคนละเข็มแบบปูพรม หลังจากวัดประสิทธิภาพออกมา พบว่าไม่ว่าจะฉีดวัคซีนยี่ห้ออะไร ก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันเท่ากันมากถึงประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์

 

  1. หลังฉีดแล้ว มีผลข้างเคียง ทำอย่างไร

ตอบ : ข้อกำหนดในการฉีดวัคซีน จะต้องมีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ ที่เชี่ยวชาญในด้านการแก้ปัญหาในเรื่องของการแพ้ ณ จุดที่รับวัคซีนจากนั้นจะมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเพื่อดูแลต่อ หลังการฉีดมีการเก็บข้อมูลเรียลไทม์ว่าฉีดวัคซีนล็อตไหน และในช่วง 30 นาทีแรกจะให้มีการสังเกตอาการโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อดูอาการแพ้

 

  1. ไวรัสกลายพันธุ์ วัคซีนยังป้องกันได้ไหม

ตอบ : ได้

สายพันธุ์อังกฤษ ที่กำลังระบาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการป้องกันของวัคซีน

สายพันธุ์แอฟริกา สายพันธุ์บราซิล อาจมีผลบ้าง แต่ประสิทธิภาพที่ลดลง ก็ยังถือว่าเพียงพอ

สายพันธุ์อินเดีย ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่จะยืนยันเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกัน บอกได้แต่เพียงแพร่เร็ว แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลง

 

  1. อายุต่างกัน ผลข้างเคียงต่างกันไหม

ตอบ : ต่างกัน วัยหนุ่มสาว ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เมื่อรับวัคซีนแล้ว อาการที่แสดงถึงการที่ร่างกายกำลังสร้างภูมิคุ้มกัน คือ เป็นไข้ อาจจะสูงกว่า เป็นตัวสะท้อนว่าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี ส่วน ผู้สูงอายุ กับผู้มีโรคประจำตัวไม่ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง แต่หากติดโรคจะมีอาการรุนแรงกว่า

 

  1. วัคซีนต่างยี่ห้อ ผลข้างเคียงต่างกัน ไหม

ตอบ : ต่างกัน

แอสตราเซเนกา มีการศึกษาคนที่อายุน้อยจนถึงอายุมาก จะพบว่าอายุน้อยที่ฉีดแอสตรา อาการข้างเคียงจะเยอะกว่าผู้สูงอายุ แต่เป็นอาการทั่วไ คล้ายๆ ไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในเด็ก และผู้หญิง

ส่วน ซิโนแวค ตรงข้ามกัน คือ ผลข้างเคียงแทบไม่มีในทุกอายุ มีอาการชาแขนเพียงคนเดียวชั่วคราว

กล่าวคือ ซิโนแวค เป็นวัคซีน เชื้อตาย ผลข้างเคียงจะน้อย มีจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันเต็มที่เมื่อฉีดเข็มที่ 2 ส่วน แอสตราเซเนกา เป็นวัคซีนเชื้อเป็น ที่ไม่สามารถแตกตัวได้ ทำให้อาจเกิดผลข้างเคียง ปวด ไข้ ได้มากกว่า แต่จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันตั้งแต่เข็มแรก

 

  1. ฉีด 2 โดส คนละยี่ห้อได้ไหม

ตอบ : ฉีดได้ แต่ไม่แนะนำ

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการเปลี่ยนยี่ห้อไม่ได้ทำให้เกิดผลเสีย แต่ไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าการฉีดจะส่งผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้มากแค่ไหน ตอนนี้แนะนำให้ใช้ยี่ห้อเดียวกันก่อน หากไม่มีอาการแพ้จากยี่ห้อแรกที่ฉีดรุนแรง

 

  1. คนที่เคยป่วย หายแล้ว ฉีดวัคซีนไหม

ตอบ : ต้องฉีด เพราะ คนที่ติดเชื้อแล้วเปรียบเหมือนได้รับวัคซีน 1 โดส เมื่อฉีดวัคซีนอีก 1 โดส แล้วหลังจากนั้น 3 – 6 เดือน ภูมิต้านทานในร่างกายจะสูง แต่หากเป็นกรณีที่ติดมาตั้งแต่ปีที่แล้วในช่วงระบาดรอบแรก แนะนำว่าให้ฉีด 2 โดส เพราะภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง

 

  1. โอกาสที่จะเกิดคลัสเตอร์ใหม่ วัคซีนจะป้องกันได้หรือไม่

ตอบ : การฉีดในพื้นที่ที่มีการระบาดหนัก เพื่อให้คนเกิดภูมิคุ้มกัน จะช่วยควบคุมการระบาดได้ การระบาดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่ ดังนั้นหากไม่ต้องการให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ในพื้นที่เราควรจะต้องรีบฉีดวัคซีน

 

  1. หมอพร้อมแค่ไหนในการฉีดวัคซีน

ตอบ : ตอนนี้มีการเตรียมความพร้อมทุกในโรงพยาบาลสำหรับการฉีดวัคซีนไว้แล้ว ขอให้ประชาชนมา และมีวัคซีนมา พร้อมฉีดได้เลยทันที

 

  1. ทำไมถึงให้คนสูงอายุฉีดซิโนแวค

ตอบ : เดิมทีในการศึกษาไม่ได้มีข้อห้าม แต่การที่มีการกำหนดอายุไม่เกิน 60 ปี และการศึกษาในระยะที่ 3 มีกลุ่มคนที่อายุเกิน 60 ปี น้อย แต่ก็มีผลการศึกษาว่า การฉีดในคนสองกลุ่มประสิทธิภาพและอาการข้างเคียงไม่ต่างกัน

 

  1. ใครบ้างที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน

ตอบ : มี 3 กรณี คือ กำลังป่วยควรรอให้หาย มีโรคประจำตัวแล้วยังอาการหนักควบคุมไม่ได้ต้องให้แพทย์ผู้รักษาประเมินก่อน และหญิงตั้งครรภ์ช่วง 12 สัปดาห์แรก เพราะมีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ (แต่หากฉีดแล้วมารู้ว่าตั้งครรภ์ ให้เลื่อนการฉีดโดสที่ 2 หลังอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์) อย่างไรก็ตามแพทย์มีความเห็นว่าหญิงตั้งครรภ์ จำเป็นต้องฉีด เพราะหากติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป

 

  1. เราจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติตอนไหน

ตอบ : ต้องฉีดวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดส ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด ถ้าฉีดวันละ 3 แสนโดส อาจจะต้องใช้เวลา 10 เดือน ซึ่งหากทำได้เร็วกว่านั้นอาจจะต้องเร่งฉีดวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด จะกลับมาสู่สภาพปกติเร็ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า