Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เผย สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อมีสูตรเดียว กกต.ชุดที่แล้วเป็นผู้เสนอกรธ.เอง 

วันที่ 3 เม.ย. นายประพันธ์ นัยโกวิท อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และอดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (อดีตกรธ.) กล่าวภายหลังเข้าหารือกับกกต. ตามคำเชิญกรณีวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ว่า วันนี้มาบอกถึงที่มาที่ไปให้ กกต.ทราบ

เมื่อถามว่า ถ้าพรรคการเมืองที่ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สามารถได้รับจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อได้หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นเรื่องที่ทาง กกต. ต้องเป็นผู้คิด คนที่มีอำนาจในการคิดอยู่ที่ กกต. เพราะว่า ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในมาตรา 128 วรรคสุดท้าย บอกอยู่แล้ววิธีการดำเนินการต่างๆ ที่เป็นไปตามมาตรานี้ให้เป็นไปตาม กกต. วิธีการคิดต้องให้ กกต.พิจารณา คือ กกต.เป็นผู้รับผิดชอบ

“ในหลักคิดของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มุ่งจะให้ทุกคะแนนที่ประชาชนลงให้มีความหมายไม่ทิ้งเสียเปล่า ทุกคะแนนที่ประชาชนมาออกเสียงต้องสะท้อนสิ่งที่ประชาชนต้องการ วิธีการคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตารางการคิดไม่ใช่เพิ่งมาคิดตอนนี้ ในส่วนของกรรมการร่างฯ มีตารางการคิดเสนอมาตั้งแต่ในชั้นของคณะกรรมการเลือกตั้งชุดที่แล้ว เสนอมาที่กรรมาการร่างรัฐธรรมนูญ มีการพิจารณาและเสนอไปที่คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ก็ได้นำมีการนำตารางคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อมาพิจารณา ตารางมีอยู่ที่รัฐสภาไม่ได้เป็นความลับ”

นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า กรธ.มีการพิจารณาทั้งหมดทั้งในกรณีมีโอเวอร์แฮงค์และไม่มีโอเวอร์แฮงค์ รวมทั้งพิจารณาไปถึงว่า ถ้าประกาศให้มี ส.ส. 95 % เพื่อให้เปิดประชุมรัฐสภาได้ การคิดคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อจะคิดอย่างไรตาม มาตรา 128 และมาตรา 129 พ.ร.ป. ส.ส.

เมื่อถามว่า กรธ. มองทุกคะแนนเสียงต้องไม่ทิ้งน้ำหมายรวมถึงพรรคเล็กได้คะแนนน้อยกว่าจำนวนพึงมีใช่หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า จำนวนพึงมีคือวิธีการคิดเหมือนเป็นสูตรการคิด ส่วนจะเป็นจำนวนคนเท่าไหร่ในตารางที่มีการพิจารณาในคณะกรรมาธิการฯ มีหมดแล้วขอให้เอาตารางที่สภามาดูแล้วกัน

(อุดม รัฐอมฤต)

ขณะที่ นายอุดม รัฐอมฤต ให้สัมภาษณ์ รายการเจาะลึกทั่วไทยในช่วงเช้าวันนี้ (3 เม.ย. 62) ว่า “มีทั้งคนที่คิดว่าไม่ควรจะเอาพรรคที่ค่าเฉลี่ยไม่ถึงมาคำนวณด้วยในส่วนนี้ แต่ผมเรียนว่าตอนที่เรามีการตั้งโจทย์ในการยกร่างเราเอาทุกพรรคมาหาค่าเฉลี่ย” “ทำให้มีพรรคที่ได้ 3 หมื่นกว่าคะแนนก็มี ส.ส.ด้วย”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อกระจ่างสูตรปาร์ตี้ลิสต์! กกต. นัด 2อดีตกรธ. ถกวิธีคำนวณวันนี้

เปิดวิธีคิด 2 สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ทำไมได้ผลลัพธ์ต่างกัน?

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า