Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ก่อนประชุม ครม.วันนี้ นายกฯ เรียกประชุมคณะครม.เศรษฐกิจ ถกผลกระทบที่สหรัฐฯ ระงับสิทธิ์ GSP ก่อนมีมติร่วมกันว่าไทยยังสามารถส่งสินค้าไปขายที่สหรัฐอเมริกาได้ แต่จะต้องรับภาระด้านภาษี 1,500-1,800 ล้านบาท 

วันที่ 29 ต.ค.2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) เพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบหลังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสั่งระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าไทย 753 รายการ โดยมีผู้ร่วมประชุม เช่น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวก่อนเข้าประชุมว่า กรณีที่สหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรทางการค้า(จีเอสพี) แต่ไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องกังวล ส่วนปัญหาการแบน 3 สารเคมีอันตราย ยืนยันว่าทำเพื่อให้ประชาชนมีสุขอนามัยที่ดีปราศจากสารพิษ และไม่ให้มีสารพิษปนเปื้อนอยู่ในชีวิตประจำวัน ขออย่านำเรื่องดังกล่าวเชื่อมโยงกับกรณีที่สหรัฐระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปกับไทย ต้องแยกเป็นคนละเรื่องกัน

ส่วนกรณีกลุ่มเกษตรกรไปยื่นศาลปกครองให้ระงับการแบน 3 สารพิษ นายอนุทิน กล่าวว่า ทุกคนมีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ โดยนำข้อเท็จจริงมาแสดง และยืนยันว่าการแบน 3 สารพิษจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.เนื่องจากคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติไปแล้ว ไม่สามารถยืดหรือผ่อนปรนอีก 6 เดือนได้ ไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะผิดพลาดไปหมด อีกทั้งคณะกรรมการฯดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะกิจ ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการทุกอย่าง

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์

ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ มีความเห็นตรงกันว่าไทยยังสามารถส่งสินค้าไปขายที่สหรัฐอเมริกาได้ เพียงแต่เมื่อถูกตัดGSP จะทำให้มีภาระด้านภาษี ประมาณ 1,500 – 1,800 ล้านบาท โดยผลจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนปีหน้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษ ทั้งนี้ยังมีช่องทางที่จะให้สหรัฐฯทบทวนได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประสานไปยังทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันและทูตแรงงาน เพื่อหารือกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา USTR ซึ่งคงจะมีคำตอบกลับมาว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรในเร็วๆ นี้ โดยในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ วันนี้ได้มอบหมายให้ 3 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและกระทรวงพาณิชย์ หาลู่ทางยื่นให้สหรัฐฯ ทบทวนเรื่องนี้

สำหรับทางออกในระยะยาว กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการเตรียมการล่วงหน้ามาก่อนแล้ว ภายใต้กลไกคณะกรรมการร่วมกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชน(กรอ.) ทั้งสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทยและสมาคมผู้ส่งสินค้าออกทางเรือ ได้มีการเตรียมการสำหรับบุกตลาดต่างๆ ทั่วโลกเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก ซึ่งได้ข้อสรุปไปก่อนหน้านี้แล้วว่าเราจะร่วมกับภาคเอกชนในการเร่งรัดการส่งออกบุกตลาดใน 10 กลุ่มตลาดใหญ่ ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ เอเชียใต้ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งตุรกี เยอรมนี อังกฤษ และอีกหลายตลาดในสหภาพยุโรป สำหรับประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก เช่น อินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา จะลงลึกไปถึงรายรัฐ เพราะมีศักยภาพและความต้องการสินค้าที่แตกต่างกัน

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไทยจะต้องพยายามเจรจาให้สหรัฐอเมริกาเกิดความเข้าใจว่า บางเรื่องเราทำได้หรือไม่ได้ เช่น การเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าว ตั้งสหภาพแรงงานในประเทศไทย ก็เป็นหน้าที่กระทรวงแรงงาน จะเป็นผู้ไปชี้แจงทำความเข้าใจ ว่าเราอยู่ในสถานะที่ทำได้หรือไม่ได้อย่างไร หรือเรื่องอื่นๆ ก็เป็นหน้าที่ของแต่ละกระทรวงที่จะทำความเข้าใจ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า