Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดประวัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 7 คน กับงานใหญ่ “เลือกตั้ง 62” ในสองสัปดาห์ข้างหน้า

วันที่ 15 ส.ค. 61 มีพระราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง รวม 5 คน ประกอบด้วย

1 นายอิทธิพร บุญประคอง เป็นประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
2 นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ เป็นกรรมการการเลือกตั้ง
3 นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย เป็นกรรมการการเลือกตั้ง
4 นายฉัตรชัย จันทร์พรายศรี เป็นกรรมการการเลือกตั้ง
5 นายปกรณ์ มหรรณพ เป็นกรรมการการเลือกตั้ง

และวันที่ 5 ธ.ค. 61 มีพระราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง กรรมการการเลือกตั้งเพิ่มเติม 2 คน คือ

6 นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ เป็นกรรมการการเลือกตั้ง

7 นายฐิติเชษฐ์ นุชนารถ เป็นกรรมการการเลือกตั้ง

สำหรับของประวัติ 7 กกต.

นายอิทธิพร บุญประคอง เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2499  จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ ปี 2522  นิติศาสตร์มหาบัณฑิต Tulane สหรัฐอเมริกา ปี 2527
รับราชการในกระทรวงการต่างประเทศมาตลอด เคยดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย  รองตัวแทนของประเทศไทยในคดีตีความคำพิพากษาศาลยุธิธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยปราสาทพระวิหาร ปี 2553 เอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ในปี 2555  เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และผู้แทนพิเศษของรัฐบาลไทยในการรณรงค์หาเสียงสนับสนุนเข้ารับการเลือกตั้งของไทย ในตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ปี 2559

นายสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 4 ม.ค.2501 จบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์บัณฑิต (จุลชีววิทยา) มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ปี 2523 จบการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาเอกหรือ Past Doctoral Degree ในสาขาเทคโนโลยียีนในเรื่องการจัดการยีสต์ (Gene Technology on Yeast) จากสถาบันเทคโนโลยีคุมาโมโต ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2537 ประวัติการทำงาน เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด อาทิ  เป็นศาสตราจารย์ระดับ 10 ประจำสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2552 – ปัจจุบัน

นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย เกิดเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2495 จบการศึกษาคณะรัฐศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ปี 2518 จบปริญญาโทจากคณะการเมืองเปรียบเทียบและการจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยโอไฮโอ ปี 2522 ประวัติการทำงาน เป็นผู้ว่าราชการหลายจังหวัด คือ สระบุรี, ปราจีนบุรี, เพชรบูรณ์, ระยอง และลำปาง เป็นสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ตั้งแต่ปี 2558-2560 และกรรมการองค์กรการตลาดกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ปี 2559-2560 เป็นข้าราชการพลเรือน ในกระทรวงมหาดไทย

นายฉัตรชัย จันทร์พรายศรี เกิดวันที่ 28 มิถุนายน 2496 จบการศึกษาจากนิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2519 จบการศึกษาเนติบัณฑิตไทย รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปี 2519 มีประสบการณ์การทำงานเป็นอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2551- ก.ย.2554 เป็น ผู้พิพากษาศาลฎีกา ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2554-ก.ย.2556 เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ตั้งแต่เดือน ต.ค.2556-ก.ย.2558 และเป็น ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2558-ก.ย. 2560 และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

นายปกรณ์ มหรรณพ เกิดเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2498 จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จบการศึกษาในระดับปริญญาโทคณะรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า มีประสบการณ์การทำงานเป็นรองประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 9 ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2555-มี.ค. 2556 รองประธานศาลอุทธรณ์ ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2556- ก.ย. 2556 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ เกิดวันที่ 19 กันยายน 2501 จบนิติศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาศาสตรบันฑิต (วิศวกรรมโยธา) จากเซ็นทรัล นิวอิงแลนด์ คอนเลจ ออฟ เทคโนโลยี ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีฟลอริดา สหรัฐอเมริกา รับราชการเติบโตมาจากสายงานชลประทาน ตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการ เมื่อเดือนกันยายน ปี 2561 ดำรงตำแหน่ง อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาถ เกิดวันที่ 25 ตุลาคม 2501 จบปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี 2524 จบปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2547 และปริญญาเอก นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี ปี 2557 เป็นทนายความ ที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (นุรักษ์ มาประณีต) เดือนกันยายน ปี 2549 – เดือนมิถุนายน 2551 และที่ปรึกษาประธานศาลรัฐธรรมนูญ (นุรักษ์ มาประณีต) ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557

 

ทั้งนี้ กระบวนการสรรหา กกต.ชุดใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่กำหนดให้มี กกต. 7 คนจากเดิม 5คน ได้เริ่มต้นจากการรับสมัครบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็น กกต. ช่วงวันที่ 19 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน ปี 2560

วันที่ 22 ก.พ. 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะได้รับเลือกเป็น กกต. ซึ่งครั้งนั้นมีรายชื่อเสนอเข้าที่ประชุม สนช.รวม 7 คน ผลที่ออกมาคือ มีส่วนคะแนนที่ไม่เห็นชอบมากกว่าคะแนนเห็นชอบทั้ง 7 คน ทำให้ต้องเริ่มกระบวนการสรรหา กกต.ใหม่อีกครั้ง โดยเปิดรับสมัครรอบใหม่ ช่วงวันที่ 26 มีนาคม – 9 เมษายน 2561

จากนั้น สนช.ได้ประชุม และเข้าคูหาอีกครั้ง ในวันที่ 12 ก.ค. 2561 โดยมี 2 รายชื่อใน 5 รายชื่อ ที่อยู่ในคณะกกต. ที่เคยตกเก้าอี้ยกแผงในครั้งแรก และผลการประชุมครั้งนั้น สนช. ผ่าน ว่าที่ กกต. 5 คน ไม่ผ่าน  2 คน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

โปรดเกล้าฯ 5 กกต. ชุดใหม่ “อิทธิพร” เป็นประธาน

ครบ 7 คนแล้ว! มติสนช. เคาะเลือก “เลิศวิโรจน์-ฐิติเชฏฐ์” เป็นว่าที่กกต.

สนช. ลงมติเห็นชอบ “ว่าที่กกต.” เพียง 5 คน ไม่เลือก “พีระศักดิ์-สมชาย”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า