Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

 

พิธีพระราขทานปริญญาบัตร นอกจากเป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังถือว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบัณฑิตใหม่ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยพระองค์ทรงพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2493 และพระราชทานปริญญาบัตรให้บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยสุดท้ายในปี พ.ศ. 2542

ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง เคยมีผู้คำนวณว่า หากเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญา 470,000 ครั้ง

จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการเสด็จฯ แต่มีพระราชกระแสตอบว่า “เสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ที่ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปีๆ เปรียบกันไม่ได้เลย” นอกจากนี้ยังรับสั่งว่า “จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง”

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรเกิดครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิต) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จนต่อมาเมื่อพระชนมายุมากขึ้นประกอบกับทรงพระประชวร จึงต้องยุติพระราชกิจลง โดยพระองค์เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองให้บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2542 และในวโรกาสนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาทันตแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

ถวายปริญญาทันตแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ถวายปริญญาทันตแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

 

พระองค์เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ครั้งแรก วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2509 จนถึงครั้งสุดท้ายในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542  โดยบัณฑิตคนสุดท้ายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และถือเป็นบัณฑิตคนสุดท้ายของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ นายเอกอนันต์ ยาโน  รหัส 3715222 คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตระดับปริญญาตรี

 

เอกอนันต์ ยาโน

นายเอกอนันต์ ยาโน บัณฑิตคนสุดท้ายของประเทศไทยที่รับปริญญาจากในหลวง

 

และในวันที่พระองค์ได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งสุดท้ายนั้น พระองค์ได้พระราชทานพระราชโอวาทความตอนหนึ่งว่า “คนเราถึงจะมีความรู้ความคิดสักเพียงใด ถ้าไม่ลงมือทำ ก็มีแต่พาตัวให้ฟุ้งเฟื่องไปต่างๆ โดยปราศจากประโยชน์และความสำเร็จ เมื่อลงมือทำ ประโยชน์และความสำเร็จจึงจะมีเกิดขึ้น”

 

 

ซึ่งตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ทรงครองราชย์ พระองค์ทรงพิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่า การปฏิบัติ ลงมือกระทำด้วยความพากเพียรและมุ่งมั่น จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด โดยมีพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงตรากตรำเพื่อพสกนิกรชาวไทย ที่เหล่าปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมนำมาเป็นแบบอย่าง เพื่อดำเนินตามรอยเท้าของพ่อไปตราบนานเท่านาน

 

เปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2508

 

 

 

ขอขอบคุณ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า