SHARE

คัดลอกแล้ว

“ทำงานหนักมาทั้งสัปดาห์ หยุด 2 วันสั้นไปไหม?” 

ว่ามนุษยชาติจะได้วันลางาน หรือวันหยุด 2 วัน/สัปดาห์ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้เวลามากกว่า 100 ปีเพื่อเปลี่ยนผ่านค่านิยมที่มองว่าแรงงานคือ ‘เครื่องจักรเศรษฐกิจ’ มาเป็นผู้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโลกที่มีเลือดเนื้อเชื้อไข และทุกอย่างเริ่มต้นที่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

[แรงงานในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม]

ระบบนายจ้าง-ลูกจ้างเริ่มใช้อย่างเป็นทางการที่อังกฤษ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18-19 ซึ่งเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือช่วงเวลา ‘รุ่งอรุณของระบบทุนนิยมที่หนุนหลังด้วยเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม’

ในช่วงนั้น แรงงานเด็กตั้งแต่ 8 ขวบครึ่งไปจนถึงผู้ใหญ่ ถูกเกณฑ์เข้ามาสู่ระบบสายพาน และต้องทำอย่างราวๆ สัปดาห์ละ 6 วัน เฉลี่ย 80-100 ชั่วโมง/สัปดาห์  แต่นั่นยังไม่ใช่จุดที่เลวร้ายที่สุด เพราะในบางฤดูกาลที่ความต้องสินค้ามากขึ้น แรงงานอาจต้องทำงานมากกว่านั้นอีก และนี่ยังไม่รวมถึงปัญหาการกดขี่ และการทารุณกรรม

ย้อนกลับมาที่เรื่องเวลา ถ้ายังไม่เห็นภาพว่าแรงงานในยุคปฏิบัติอุตสาหกรรมทำงานหนักขนาดไหน ให้ลองเทียบกับปัจจุบันที่กฎหมายทำงานชาติต่างๆ จะให้ทำไม่เกิน 40-48 ชั่วโมง/สัปดาห์ หากมากสุดคือทำ 48 ชั่วโมง/5 วัน ได้หยุดเสาร์-อาทิตย์ จะตกวันละประมาณ 9.5 ชั่วโมง 

แต่แรงงานในยุคนั้นทำงาน 80-100 ชั่วโมง ระยะทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ ช่วงเวลาที่ทำมากสุดคือ 100 ชั่วโมง เท่ากับทำวันละ 16 ชั่วโมง/วัน มากกว่าปัจจุบันถึง 1 เท่าเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่เวลาทำงานที่แสนโหด แต่แรงงานในยุคนั้นยังมีวันหยุดแค่ 2 เทศกาล ส่วนเรื่องของสิทธิลาโดยได้รับค่าแรงตามกฎหมาย (paid leave) ยิ่งไม่ต้องพูดถึง 

[การต่อสู้เพื่อวันหยุดประจำสัปดาห์ในสหรัฐฯ]

หลังเห็นภาพวิถีแรงงานในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่อังกฤษไปแล้ว ชวนมาดูขบวนการการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้วันหยุดฝั่งสหรัฐฯ กันบ้าง

เมื่อก่อนสหรัฐฯ ก็เป็นประเทศเกษตรกรรม จึงไม่สามารถบอกเวลาทำงานที่ชัดเจนได้ แต่พอสังคมเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ชาวอเมริกันก็ทำงานประมาณ 70 ชั่วโมง 6 วันสัปดาห์ 

เช่นเดียวหลายๆ สังคมที่หากอยู่กับสิ่งใดเป็นเวลานาน จนกลายเป็นความเคยชินก็จะมองไม่เห็นปัญหา ในช่วงแรกๆ แรงงานสหรัฐฯ ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของวันหยุด แต่จะมีการชุมนุมของกรรมกรและชาวนาบ้าง เพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยปัญหาค่าจ้างและการว่างงาน โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ 

ตอนนั้น ราชการชั้นสูงและผู้มีอำนาจมองการประท้วงหยุดงานของคนงานเป็นเพียงการสมคบคิด กลุ่มผู้นำมองการรวมตัวของแรงงานเหมือนเป็นการรวมตัวกลุ่มคนที่ก่อความวุ่นวาย ไม่ได้มองที่จุดประสงค์ ทุกครั้งที่นัดหยุดงาน แรงงานจึงต้องเตรียมใจอาจถูกฟ้องคดีหรือโดนปรับ 

จนกระทั่งในปี 1886 กระบวนการต่อสู้เพื่อแรงงานในสหรัฐฯ เกิดจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ หลังสหภาพแรงงานและองค์กรของแรงงานอื่นๆ รวมกว่า 300,000 คน นัดหยุดงานทั่วประเทศ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 1886 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในเมืองชิคาโก ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรม และนำมาสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกว่า “Haymarket Affair”

Haymarket Affair เป็นเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐเปิดฉากยิงใส่ผู้ประท้วงในวันที่ 3 ของการประท้วงจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีการใช้ระเบิดที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 12 คน  

[รัฐบาลเริ่มเห็นความสำคัญของเวลาทำงาน]

การสละชีวิตของแรงงานในเหตุการณ์ Haymarket Affair ทำให้ประชาชนยิ่งพูดถึงเรื่องสิทธิในการได้วันหยุดและเวลาทำงานที่สมดุลกับชีวิตมากขึ้น จนในที่สุดรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ออกมาสำรวจการทำงานของแรงงานอย่างจริงจัง และพบข้อมูลว่าสายผลิตต้องทำงานสูง 100 ชั่วโมง/สัปดาห์ แต่ยังไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน จนบริษัทเอกชนโดยเฉพาะพวกสายผลิตเริ่มใช้เวลาทำงาน 8 ชั่วโมง/วันนำร่องไปก่อน

และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โลกก็เริ่มมีแนวคิดให้ความสำคัญกับแรงงานมากขึ้น จนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) ออกอนุสัญญาชั่วโมงการทำงานกำหนดเวลาทำงานมาตรฐานสูงสุดที่ 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ และ 8 ชั่วโมง/วัน เป็นบรรทัดฐานสากล

[วันลาหยุดปัจจุบัน]

ทุกวันนี้ ประเทศต่างๆ กำหนดจำนวนวันลาขั้นต่ำแตกต่างกันออกไป  กลุ่มประเทศที่เป็นแถวหน้าในเรื่องนี้คือประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส (25 วัน) สวีเดน (25 วัน) เยอรมนี (20 วัน) ออสเตรเลีย (20 วัน) ไปจนถึงฟินแลนด์ (20 วัน)

ประเทศอื่นใกล้ๆ กับไทย ก็มีวันลาขั้นต่ำต่างกันไป เช่น เกาหลีใต้ (15 วัน) เวียดนาม (12 วัน) ญี่ปุ่น (10 วัน) สิงคโปร์ (7 วัน) และที่น้อยที่สุดในอาเซียน คือ ฟิลิปปินส์ (5 วัน)

ส่วนไทยมีวันลาขั้นต่ำตามกฎหมายอยู่ที่ 6 วัน เกือบรั้งท้ายในอาเซียน (แต่ไทยได้อันดับ 7 ประเทศที่มีวันหยุดราชการมากที่สุดในโลกจากการจัดอันดับของเว็บไซต์ Office Holidays)

การปรับเปลี่ยนเวลาทำงานแต่ละยุคสมัยเพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ของมนุษย์ กระบวนการต่อสู้เพื่อวันหยุดเป็นกระจกสะท้อนภาพสิทธิมนุษยชนในช่วงเวลานั้นๆ 

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม คนถูกมองเป็นเครื่องจักร ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ต่อมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในอนาคต บทบาทของคนอาจจะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ

ที่น่าคิดต่อไปคือ รูปแบบวันทำงานในศตวรรษที่ 21 นี้จะเป็นอย่างไร ทั้งจากปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี แนวคิดของคนยุคใหม่ และตัวแปรที่คาดไม่คิดอย่างโควิด-19 ที่มาล้างภาพการทำงานแบบเดิมๆ ให้มีความยืดหยุ่นเรื่องสถานที่ทำงานมากขึ้น และเรื่องเวลามากขึ้น 

มิติใหม่ของการทำงานอาจจะลดเหลือแค่ 4 วัน/สัปดาห์อย่างที่หลายๆ ประเทศทดลองกันไปบ้างแล้ว หรืออาจกลับมาแก้ปัญหาเดิมๆ อย่างการสั่งงานเกินเหตุ การทำงานไร้ค่าล่วงเวลา วัฒนธรรมการทำงานที่เป็นพิษ หรือการเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นธรรม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทางไหน ก็น่าจะทำให้แรงงานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้

ดูคลิปประวัติศาสตร์วันลาเต็มๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=UYgJKnHnkd8&list=PLGNrke-J6zF2tlKhJUtNsmS4c2G31AEGD&index=7  

อ้างอิงจาก

https://www.history.com/topics/19th-century/labor
https://www.cnbc.com/2017/05/03/how-the-8-hour-workday-changed-how-americans-work.html
https://www.pbs.org/livelyhood/workday/weekend/8hourday.html
https://www.bbc.co.uk/bitesize/guides/zkxrxyc/revision/2
https://www.striking-women.org/module/workplace-issues-past-and-present/paid-leave#History%20of%20the%20struggle%20for%20paid%20leave
https://tuc150.tuc.org.uk/stories/campaigning-for-paid-holiday-for-everyone/
https://www.historyextra.com/period/20th-century/holiday-revolution-were-all-going-on-a-summer-holiday/ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า