SHARE

คัดลอกแล้ว

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หนึ่งใน Topic ที่สังคมไทย และสังคมโลกคุยกันมากคือ ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ไม่ว่าจะเป็นผ่านช่องทางออนไลน์ หรือทางการเรียกร้องเดินขบวนต่างๆ

พูดในสังคมไทยเอง เราก็จะเห็นว่ากลุ่มคนหลากหลายทางเพศเริ่มออกมา come-out เริ่มแสดงตัวตนและเป็นตัวเอง รวมถึงได้รับการยอมรับมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ ‘การยอมรับ’ ที่ว่านี้มันยอมรับกันในระดับไหน ความเท่าเทียมทางเพศระหว่าง LGBTQ+ และกลุ่ม straight มันไปไกลถึงในระดับองค์กรและการทำงานหรือยัง

[สัดส่วนการโดนเลือกปฏิบัติของ LGBTQ+ ในไทย] 

ข้อมูลจาก World Bank เมื่อปี 2018 มีการทำแบบสำรวจประชากรชาวไทย 3,502 คนแบ่งเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ 2,302 คน และ straight 1,200 คน พบว่ายังมีการเลือกปฏิบัติทั้งในด้านของการทำงาน ไปจนถึงการเข้าถึงบริการของรัฐ และการศึกษา โดยกลุ่ม Trangender เป็นอันดับต้นๆ ที่โดนเลือกปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาคือ Lesbian  และ Gay Male

เจาะเข้ามาอีกนิด เราจะพบข้อมูลว่า

– 77% ของ Transgender ถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงานเพราะเป็น LGBTQ+ ตามลงมาด้วย Lesbian 62% และ Gay Male 49%  และยังมีข้อมูลน่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น

– 40% ของ Transgender มักจะเจอประสบการณ์โดนล้อเลียน

– และ 24.5% ของกลุ่มหลากหลายทางเพศถูกสถานการณ์บังคับให้ปิดบังตัวตน

​​ข้อมูลนี้สอดคล้องกับรายงานขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ที่บอกไว้ว่ากลุ่ม Transgender เผชิญกับปัญหาการเหยียดเพศมากที่สุด เพราะตามกฎหมายไม่สามารถเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก ‘นาย’ เป็น ‘นางสาว’ ได้ ประกอบกับค่านิยมของสังคมก่อนหน้านี้ ทำให้โอกาสในการเข้าถึงโอกาสการทำงานในระดับสูงของ Trangender ยังเป็นภาพที่ไม่ค่อยเห็นมากนัก 

และจากรายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับประเด็นของการที่ชาว LGBT ในเมืองไทยที่ถูกเหยียดเพศในสถานที่ทำงานยังบอกว่า “ผู้สมัครงานที่เป็นบุคคลข้ามเพศมักจะถูกให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาโดยแบบทดสอบนี้ไม่ได้ใช้กับผู้สมัครคนอื่นๆ ในองค์กรเอกชน สาวประเภทสองและทอมบ่อยครั้งจะถูกถามคำถามเกี่ยวกับความชอบ ทางเพศของเจ้าตัวระหว่างการสัมภาษณ์งานและถูกปฏิเสธงานในที่สุด”

ที่เราพูดถึงมานี้ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธเข้าทำงาน การโดนจำกัดโอกาสที่จะไต่เต้าไปในตำแหน่งที่สูงตามความสามารถ การถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเพศสภาพ ทั้งหมดเรียกว่า ‘การเลือกปฏิบัติ’ แล้วการเลือกปฏิบัติในลักษณะนี้ มันส่งผลเสียอย่างไรกับองค์กรบ้าง

[ความสำคัญของ Workforce Diversity]

มันมีคำนึงที่ได้รับคำนิยมขึ้นมาในช่วงครึ่งทศวรรษนี้ นั่นก็คือ ‘Workforce Diversity’ หรือความหลากหลายในองค์กร บริษัทชั้นนำหลายๆ แห่งทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับความหลากหลายของพนักงานในองค์กรมากขึ้น เพราะเชื่อว่าการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างบุคลากรที่มาจาก backgroung ที่แตกต่างกันจะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างมหาศาล

ตามรายงานของ McKinsey พบว่า Workforce Diversity มีส่วนช่วยลดต้นทุนแฝงและเพิ่มกำไรให้กับบริษัทจริง จากการสำรวจในสหรัฐฯ พบว่าองค์กรที่มีบุคลากรหลากหลายทั้งทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ทำกำไรได้มากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศถึง 35% ซึ่ง performance ส่วนหนึ่งมาจากการไม่ต้องปิดบังตัวตน หลบซ่อน และมีอิสระในการคิดการแสดงออก

จากการสำรวจโดยสถาบันวิลเลียมส์ พบว่าบริษัทที่มีนโยบายและบรรยากาศสนับสนุนให้ LGBTQ สามารถ come out ความเป็นตัวเองช่วยลดความเครียด และยกระดับสุขภาพจิตของพนักงาน รวมถึงส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและหัวหน้าเป็นไปในทิศทางที่ดี ซึ่งทั้งหมดก็สะท้อนกลับมาในรูปแบบของชิ้นงานและผลกำไร 

ยิ่งกว่านั้นการศึกษาโดย Out Now Consulting, LGBT 2020 – LGBT Diversity Show Me the Business Case ยังพบด้วยว่า การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะการปฏิเสธเข้าทำงาน ทำให้องค์กรต่างๆ สูญเสียแรงงานขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ และถ้าบริษัทต่างๆ หันมาใช่นโยบาย Workforce Diversity จะช่วยกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้มากขึ้น 9 พันล้านดอลลาร์ต่อปี หรือประมาณ 3.1 แสนล้านบาทเลยทีเดียว 

สำหรับตัวอย่างบริษัทระดับยักษ์ใหญ่ที่สนับสนุนความเท่าเทียม LGBTQ เช่น IKEA, Microsoft, AstraZeneca แล้วยังมีบริษัทอีกมากมายที่หลายคนน่าจะคุ้นหูกัน คือ Apple Visa Adobe Coca-Cola ที่มีนโยบายสนับสนุน LGBTQ ในองค์กรเช่นกัน

บริษัทเหล่านี้เป็นภาพตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการเป็นองค์กรที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ และประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กัน

อ้างอิงจาก

https://www.ipsos.com/sites/default/files/ct/news/documents/2021-06/LGBT%20Pride%202021%20Global%20Survey%20Report_3.pdf

https://documents1.worldbank.org/curated/en/269041521819512465/pdf/124554-WP-PUBLIC-LGBTI-Report2018-full-report-English-23March.pdf

https://www.usaid.gov/sites/default/files/documents/1861/Being_LGBT_in_Asia_Thailand_Country_Report_Thai_Language.pdf

https://www.peoplescout.com/insights/workplace-diversity-lgbtq-employees/

https://edis.ifas.ufl.edu/pdf/HR/HR02200.pdf

https://ripplematch.com/insights/companies-with-impactful-initiatives-to-support-their-lgbtq-employees-ce4be06a/

https://www.mckinsey.com/~/media/McKinsey/Featured%20Insights/Diversity%20and%20Inclusion/How%20the%20LGBTQ%20plus%20community%20fares%20in%20the%20workplace/How-the-LGBTQ-community-fares-in-the-workplace-v4.pdf

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า