Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“อภิสิทธิ์” พูดครั้งแรกหลังลาออกจาก ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ฟันธง รัฐธรรมนูญปี 2560 ทำให้การเมืองไทยถอยหลัง แฉเลือกตั้ง 62 มีการใช้เงินรุนแรงไม่แพ้ปี 2548 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเสวนาหัวข้อ “การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 : เดินหน้า หรือ ถอยหลัง” เนื่องในโอกาสที่ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 60 ปี ในวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายอุดม รัฐอมฤต อดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต, นายเจษฎ์ โทณวณิก อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกริ่นว่า ออกนอกสนามแล้วนะครับ จริงๆ ตั้งแต่ออกจากสนามมาก็ไม่ให้ความเห็นเรื่องอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเลย จนกระทั่งอาจารย์สมคิดมาสร้างความเดือดร้อนให้กับผมในวันนี้ โทรศัพท์มาหาผมบอกว่าขอให้มาในงานวันนี้ ซึ่งสิ่งแรกที่ผมรู้สึกก็คือตกใจว่า อาจารย์สมคิดอายุ 60 แล้ว เนื่องจากผมกับอาจารย์สุรพล เข้ามารับราชการที่ธรรมศาสตร์พร้อมกับอาจารย์สมคิด แต่ได้ทำความเข้าใจกันแล้ว อาจารย์สุรพลบอก สมคิดเขาแก่กว่าคนอื่น ผมยังห่างอยู่หลายปีนะครับ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การเมืองจะเดินหน้าหรือถอยหลัง ต้องใช้เกณฑ์ที่ว่าประชาชนมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหนในการกำหนดทิศทางของประเทศ การใช้อำนาจเป็นการใช้ที่ตรวจสอบได้และเพื่อประโยชน์สูงสุดหรือไม่ ถ้าสองสิ่งนี้เกิดขึ้น เชื่อว่า ความมั่นคงที่แท้จริง ความมั่นคงที่ยั่งยืนจะตามมา สังคมจะมีความสงบสุขเพราะมีกติกา ซึ่งทำให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของประเทศ มีส่วนร่วม และเมื่อมีการใช้อำนาจในทางใดก็เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่หรือส่วนรวม ถ้ามองในมุมนี้ ก็ต้องฟันธงว่า รัฐธรรมนูญปี 60 ทำให้การเมืองถอยหลัง

ผู้ที่อยู่ในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญปี 60 ไม่เคยได้พูดให้ชัดๆ ว่าวางเป้าหมายเพื่อจะเปลี่ยนโครงสร้างต่างๆ เพื่ออะไร อย่างไร นอกจากมี 2 คำที่ถูกหยิบออกมา คือ 1. การปฏิรูป โดยเป็นครั้งแรกที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปเยอะมาก แต่ตนเห็นต่างว่า การมีบทบัญญัติมากมายไม่ได้ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปอย่างที่คนคาดหวังเลย กลายเป็นการเขียนเมื่อรวมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไปเพิ่มความเข้มแข็งให้กับรัฐราชการ และจะเป็นข้อจำกัดในการบริหารประเทศในยุคที่จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น ในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ตนฟังเรื่องการปฏิรูปมาตั้งแต่ปี 57 แต่ไม่ได้ยินวิสัยทัศน์ของการปฏิรูปเลยว่าจะปฏิรูปไปในทางไหน ง่ายๆ คือเรื่องการศึกษาและตำรวจ ที่ไม่เห็นการปฏิรูปที่ชัดเจนเลย

2. ปราบโกง เพราะสิ่งที่ประชาชนเอือมระอากับการเมืองคือปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น แต่ในที่สุดบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 60 อะไรที่บอกว่าเป็นการปราบโกงมากกว่าฉบับก่อนๆ ตนมองว่าหาได้ยาก ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 60 ต่างจากรัฐธรรมนูญปี 40 และรัฐธรรมนูญปี 50 คือ รัฐธรรมนูญปี 60 คล้ายกับรัฐธรรมนูญปี 21 (พ.ศ.2521) คือต้องการวางเส้นทางการเมือง มีวัตถุประสงค์ บางเรื่องถอยหลังไปกว่ารัฐธรรมนูญปี 21 เช่น วุฒิสภามาประชุมได้ทุกเรื่องเพื่อที่จะอุ้มรัฐบาลไป ดังนั้นเมื่อที่มาที่ไปเป็นอย่างนี้ จะคาดหวังได้ยากที่จะทำให้เป็นไปตามเป้าหมายคือ ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ และ อำนาจถูกใช้ในลักษณะธรรมาภิบาล

“ถามว่า ถ้าไม่มีสมาชิกวุฒิสภา 250 คนเข้ามาลงคะแนนเลือกนายกฯได้ด้วย ท่านคิดไหมครับว่ารัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจะประกอบไปด้วย 19 พรรค 20 พรรคแบบนี้ ไม่เป็นอย่างนั้นหรอกครับ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะอิทธิพลการมีสมาชิกวุฒิสภา 250 คนที่ถูกแต่งตั้งมา และลงคะแนนไปในทางเดียวกันหมดเพื่อเลือกบุคคลคนเดียว ท่านจะดีไม่ดีชอบไม่ชอบเถียงกันได้ แต่เถียงไม่ได้ว่ากติกาไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้มันมาสู่จุดนี้ จริงๆ ส.ส.พรรครัฐบาลก็ให้สัมภาษณ์ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญออกมาอย่างนี้เขาถึงไปอยู่พรรคนี้”

นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นความขัดแย้งทางการเมืองยังมีสูง ตนไม่ได้เห็นด้วยแต่พอยอมรับได้ถ้าการเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ปูทางไปสู่ประชาธิปไตย สร้างบรรทัดฐานที่ดีในแง่ของการใช้อำนาจ ความหมายคือ ถ้าคุณยังมาไม่ถึงกับเป็นประชาธิปไตย 100 เปอร์เซ็นต์แต่คุณพาบ้านเมืองเดินไปข้างหน้าด้วยการใช้อำนาจแบบเป็นธรรม ยังพอมองเห็นโอกาสว่าบ้านเมืองเดินไปข้าง แต่วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งคืออะไร เช่น การแบ่งเขตเลือกตั้ง บางเขตแบ่งไม่ได้ถ้าไม่มี ม.44

อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า เลือกตั้ง62 การใช้เงินน่าจะรุนแรงไม่แพ้ 2548 ซื้อเสียงโจ่งแจ้ง ทำแบบละเอียด ถี่ ถ้าไม่รู้กันด้วยในหมู่คนที่ต้องดูแลให้ถูกต้อง คงไม่เกิดมากมายขนาดนี้ รวมไปจนถึงการใช้อำนาจรัฐ ทรัพยากรรัฐเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง ส.ส.ในสภาทุกคนยืนยันตรงนี้ได้ นอกจากกติกาแล้ว พฤติกรรมยังไม่ถูกต้องในวิธีการหลายวิธี

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญปี 60 ยังถูกออกมาแบบมาให้แก้ไขได้ยากกว่ารัฐธรรมนูญที่เคยมีมา การจะแก้ไขต้องได้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ได้แก้ไข เลือกตั้งครั้งหน้าก็จะกลับมาเป็นอย่างนี้อีก ถ้าผู้ที่ได้อำนาจไม่ใช้อำนาจตามธรรมาภิบาล สังคมจะยอมรับได้แค่ไหน ถ้ายอมรับไม่ได้แล้วรัฐธรรมนูญแก้ไม่ได้ ก็ต้องบอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายต้องเริ่มต้นกันใหม่อีก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า